Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56943
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชยันติ ไกรกาญจน์-
dc.contributor.advisorจุฬา สุขมานพ-
dc.contributor.authorจงรักษ์ เมธาวรกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-02-06T04:29:36Z-
dc.date.available2018-02-06T04:29:36Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56943-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Freight Forwarder) มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศของไทยเพราะเป็นธุรกิจที่ทำการเชื่อมโยงธุรกิจในภาคการค้าและภาคการขนส่งทั้งหลายเข้าไว้ด้วยกัน เนื่องจากผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศสามารถให้บริการในหลากหลายรูปแบบ จึงทำให้ผู้จัดการขนส่งระหว่างประเทศมีสถานภาพตามกฎหมายที่แตกต่างกัน โดยอาจมีสถานภาพเป็นทั้งตัวแทนของผู้ส่งหรือผู้รับตราส่ง หรือ ผู้ขนส่งทางบกภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ขนส่งทางทะเลภายใต้พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องภายใต้พระราชบัญญัติการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ พ.ศ. 2548 และพัฒนาสู่ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ การพิจารณาสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศตามกฎหมายไทย จำต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงในแต่ละธุรกรรมที่ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าให้บริการประกอบกับเอกสารที่ออกให้แก่ผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกับการพิจารณาสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดตามกฎหมายของผู้รับจัดการขนส่งสินระหว่างประเทศในประเทศสหรัฐอเมริกา ขณะที่ประเทศอังกฤษ โดยสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศอังกฤษ (British International Freight Association (BIFA) ได้จัดทำเงื่อนไขมาตรฐานทางการค้า (Standard Trading Conditions 2004) เพื่อกำหนด สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด ของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง ส่วนประเทศฝรั่งเศสมีการจำแนกประเภทผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศออกเป็น 2 ประเภท คือ Transitaire de transport อันมีสิทธิ หน้าที่ความรับผิดในฐานะตัวแทน และ Commissionnaire de Transport อันมีสิทธิ หน้าที่ความรับผิดในฐานะผู้ขนส่ง จากการศึกษาวิจัยผู้วิจัยเห็นควรให้จัดทำเงื่อนไขมาตรฐานทางการค้าฉบับใหม่ เพื่อกำหนดสิทธิ หน้าที่ความรับผิดของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศต่อการให้บริการในสภานภาพต่างๆ รวมถึงการรับรองสถานภาพของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 เพื่อให้ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศสามารถปฏิบัติพิธีการศุลกากรได้อย่างถูกต้อง ทั้งผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่ให้บริการในสถานภาพผู้ขนส่งทางทะเล (N-VOCC) ภายใต้พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ควรได้รับสิทธิในการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 เช่นเดียวกับผู้ขนส่งทางทะเล (VOCC) ที่ปฏิบัติการขนส่งด้วยตนเอง นอกจากนี้ภาครัฐควรออกกฎหมายในการกำกับดูแลธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพอันจะสามารถสร้างมาตรฐานการให้บริการของผู้ประกอบการที่เป็นสากลซึ่งจะส่งผลดีแก่ทั้งผู้ประกอบการผู้บริโภคและภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeFreight forwarding business plays a crucial role in economic and international trade development of Thailand because it links businesses in trading and transportation sectors together, Since freight forwarders can offer a variety of services, they can have different legal statures. For example, they may be agent for the shipper or the consignee, or thdy can be land carrier under the Thai Civil and Commercial Code, see carrier under the Carriage of Goods by Sea Act B.E. 2534, Multimodal Transport Operator under the Multimodal Transport Act B.E. 2548 or may evolve into logistics provider. The determination of rights, duties and responsibilities of freight forwarders under the Thai laws depends on the particulars of each transaction they make as well as the documents they issued to the users. The approach is similar to the determination of legal rights, duties and responsibilities of freight forwarders in the United states of America. In the United Kingdom, the British International Freight Association (BIFA) has set up the Standard Trading Conditions 2004 to determine the rights, duties and responsibilities of freight forwarders to related parties whereas in France, freight forwarders are categorized into two types, namely 'Transitaire de transport', which has the rights, duties and responsibilities as agent, and 'Commissionnaire de Transport', which has the rights, duties and responsibilities as a carrier. As a result of the research, it is suggested that a new set of standard trading conditions be created to determine the rights, duties and responsibilities of freight forwarders in servicing with different statuses and that the status of freight forwarders be certified according to the Customs Act B.E. 2469 so that they would be able to follow the customs procedures correctly. In addition, freight forwarders with Non Vessel Operator Common Carrier (NVOCC) status under the Carriage of Goods by Sea Act B.E. 2534 should be given the right to pay 0% Value Added Tax like Vessel Operator Common Carrier (VOCC) who actually handles transportation by themselves. Finally, the government should enact laws to effectively regulate freight forwarding business. This will create an international standard for service providers and thus benefit operators, consumers and the country’s overall economy.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.2024-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการขนส่งสินค้า -- ไทยen_US
dc.subjectบริการจัดส่งสินค้าen_US
dc.subjectการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.subjectผู้ประกอบการขนส่งทางทะเล -- ไทยen_US
dc.subjectผู้ประกอบการขนส่งทางทะเล -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.subjectCommercial products -- Transportation -- Thailanden_US
dc.subjectDelivery of goodsen_US
dc.subjectMultimodal transport -- Law and legislationen_US
dc.subjectOcean freight forwarders -- Thailanden_US
dc.subjectOcean freight forwarders -- Law and legislationen_US
dc.titleบทบาทและสถานภาพของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศตามกฎหมายไทยen_US
dc.title.alternativeRoles and legal status of freight forwarders under Thai Lawsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChayanti.G@chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.2024-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jongruk_me_front.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
jongruk_me_ch1.pdf600.17 kBAdobe PDFView/Open
jongruk_me_ch2.pdf4.89 MBAdobe PDFView/Open
jongruk_me_ch3.pdf4 MBAdobe PDFView/Open
jongruk_me_ch4.pdf13.56 MBAdobe PDFView/Open
jongruk_me_ch5.pdf3.75 MBAdobe PDFView/Open
jongruk_me_back.pdf3.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.