Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5695
Title: ผลของปริมาณการรีดเย็น และอุณหภูมิการอบอ่อนต่อสมบัติเชิงกลของเหล็กกล้าความแข็งแรงสูงธาตุผสมต่ำ
Other Titles: Effects of cold reduction and annealing temperature on mechanical properties of the high-strength low-alloy steel
Authors: อังคาร พงษ์ไพบูลย์
Advisors: ประสงค์ ศรีเจริญชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Prasonk.S@chula.ac.th, fmtpsc@eng.chula.ac.th
Subjects: อุตสาหกรรมเหล็กกล้า
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาผลของปริมาณการรีดเย็น และอุณหภูมิอบอ่อนต่อสมบัติเชิงกล และโครงสร้างจุลภาคในเหล็กกล้าความแข็งแรงสูงธาตุผสมต่ำ โดยอบชิ้นงานให้ร้อนขึ้นอีกที่อุณหภูมิ 1,150 ํC แล้วรีดหยาบที่อุณหภูมินี้ จากนั้นปล่อยให้เย็นตัวลง แล้วรีดสุดท้ายที่อุณหภูมิ 860 ํC และม้วนเก็บที่อุณหภูมิ 550 ํC และ 630 ํC จากนั้นนำชิ้นงานมารีดเย็น และอบอ่อน นำชิ้นงานมาทดสอบสมบัติเชิงกลของชิ้นงานด้วยเครื่องทดสอบแรงดึง และตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบแสง ผลการทดลองพบว่า ชิ้นงานที่ม้วนเก็บที่อุณหภูมิ 550 ํC มีความสามารถในการขึ้นรูปหลังการอบอ่อนสูงกว่าชิ้นงานที่ม้วนเก็บที่อุณหภูมิ 630 ํC เป็นผลจากการม้วนเก็บที่อุณหภูมิ 550 ํC ไม่เกิดการตกตะกอนของอนุภาคในขณะม้วนเก็บช่วยเพิ่มความสามารถในการขึ้นรูป ส่วนการม้วนเก็บที่อุณหภูมิ 630 ํC มีการตกตะกอนของอนุภาคในขณะม้วนเก็บทำให้ความสามารถในการขึ้นรูปลดลง ชิ้นงานที่ม้วนเก็บที่อุณหภูมิ 550 ํC มีโครงสร้างเพิร์ลไลท์ขนาดเล็ก และมีการกระจายตัวมากกว่า ชิ้นงานที่ม้วนเก็บที่อุณหภูมิ 630 ํC มีผลทำให้ชิ้นงานที่ม้วนเก็บที่อุณหภูมิ 550 ํC มีปริมาณการตกผลึกใหม่ต่ำกว่าชิ้นงานที่ม้วนเก็บที่อุณหภูมิ 630 ํC ส่งผลให้ชิ้นงานที่ม้วนเก็บที่อุณหภูมิ 550 ํC มีจุดครากสูง และเปอร์เซ็นต์การยืดตัวต่ำกว่าชิ้นงานที่ม้วนเก็บที่อุณหภูมิ 630 ํC เมื่ออบอ่อนที่อุณหภูมิ 620 ํC ถึง 640 ํC ส่วนการเพิ่มอุณหภูมิอบอ่อนในช่วงอุณหภูมิ 660 ํC ถึง 680 ํC พบว่าไม่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของจุดครากของชิ้นงานที่ม้วนเก็บที่อุณหภูมิ 550 ํC นอกจากนี้การเพิ่มปริมาณการรีดเย็นในช่วง 50% ถึง 70% และอุณหภูมิอบอ่อนในช่วง 620 ํC ถึง 680 ํC ช่วยเพิ่มความสามารถในการขึ้นรูป
Other Abstract: This study investigates effects of %cold reduction and annealing temperature on mechanical properties and microstructure of high-strength low-alloy steel. Specimens were reheated at temperature of 1,150 ํC, roughing rolled at the same temperature, finishing rolled at 860 ํC and coiled between temperatures of 550 ํC and 630 ํC. Mechanical properties were examined by tensile test and microstructure was investigated by optical microscope. Results show that specimens coiled at 550 ํC have better formability than those coiled at 630 ํC. This effect might be due to precipitation of particles during coiling temperature of 630 ํC while precipitation did not take place at coiling temperature of 550 ํC. Pearlite structure in specimens coiled at 550 ํC has smaller sizes and more distribution than those coiled at 630 ํC, as a result, specimens coiled at 550 ํC have lower % recrystallization than those coiled at 630 ํC. This effect causes specimens coiled at 550 ํC have higher yield strength and lower %elongation than those coiled at 630 ํC at annealing temperature of 620 ํC and 640 ํC while increase of annealing temperature between 660 ํC and 680 ํC have no effect on yield strength in specimens coiled at 550 ํC. Furthermore increase of %cold reduction from 50% to 70% and increase of annealing temperature from 620 ํC to 680 ํC results in better formability.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโลหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5695
ISBN: 9741303734
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Angkan.pdf14.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.