Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57021
Title: การพัฒนาวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดเรซินที่มีฤทธิ์ต้านจุลชีพ
Other Titles: Development of antimicrobial resin pit and fissure sealant
Authors: เอกมน มหาโภคา
Advisors: สุชิต พูลทอง
รัตนา รุจิรวนิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Suchit.P@Chula.ac.th
Ratana.R@Chula.ac.th
Subjects: เรซินทางทันตกรรม
ไคโตแซน
Dental resins
Chitosan
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดเรซินผสมสารต้านจุลชีพในปริมาณเหมาะสมที่ทำให้วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดเรซินมีประสิทธิภาพในการต้านจุลชีพที่ก่อให้เกิดโรคฟันผุและทดสอบคุณสมบัติของวัสดุทางกายภาพและทางชีวภาพตามมาตรฐานสากลวิธีการทดลองไคโตซานวีสเกอร์ถูกสังเคราะห์จากเปลือกกุ้งด้วยกระบวนการกำจัดแร่ธาตุและโปรตีนเพื่อให้ได้สารไคติน จากนั้นผ่านกระบวนการไฮโดรไลซิสเพื่อสร้างวีสเกอร์และทำปฏิกิริยาเพื่อดึงหมู่อะเซทิลออกจากโครงสร้างไคตินเพื่อเปลี่ยนให้เป็นสารไคโตซานตามลำดับวีสเกอร์ที่ได้จะถูกนำไปตรวจสอบค่าดีกรีออฟดีอะเซทิเลชันและโครงสร้างทางเคมีด้วยวิธีฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรเมตรี ตรวจสอบขนาด รูปร่างและการกระจายตัวด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนชนิดส่องผ่าน วีสเกอร์ถูกนำไปทำให้แห้งด้วยกระบวนการฟรีซดรายเพื่อผสมลงในวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันชนิดเรซินในปริมาณร้อยละ 2.5, 2, 1.5 และ 1 โดยน้ำหนัก ทำการทดสอบเปรียบเทียบกับวัสดุควบคุมไม่เสริมไคโตซานวีสเกอร์วัสดุกลุ่มเปรียบเทียบ (ซีลแอนด์โพรเทกท์™; DENTSPLY,USA, เดลตัน® DENTSPLY,USA และทีช์ทเมท™เอฟ-วัน; KURARAY,JAPAN) การทดสอบฤทธิ์ต้านจุลชีพกระทำโดยการสัมผัสและการวัดอัตราการลดลงของเชื้อ 2 สายพันธุ์คือสเตร็ปโตคอคคัส มิวแทนส์ (UA159) และแลคโตบาซิลลัส คาเซอิ(IFO3533) วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันเสริมไคโตซานวีสเกอร์น้อยที่สุดที่สามารถยับยั้งเชื้อจะนำมาทดสอบทางกายภาพเรื่องความลึกของการแข็งตัว การดูดซับน้ำและละลายตัวตามมาตรฐานสากล ความแข็งผิววิกเกอร์ส อัตราการเปลี่ยนแปลงพันธะคู่ ความหนืดและระดับการรั่วซึมตามขอบ ตามลำดับ วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันเสริมไคโตซานวีสเกอร์จะถูกทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ไฟโบรบลาสท์ชนิด L929ด้วยการวัดอัตราการอยู่รอดภายหลังการสัมผัสวัสดุทั้งทางตรงและทางอ้อมผลการทดลอง ไคโตซานวีสเกอร์มีค่าดีกรีออฟดีอะเซทิเลชันเท่ากับ 73.58 และแสดงหมู่ฟังก์ชันของไคโตซานทั้งนี้วีสเกอร์มีความยาวและกว้างโดยเฉลี่ยระดับนาโนเมตรและมีการกระจายตัวที่ดี ไคโตซานวีสเกอร์ร้อยละ 2 โดยน้ำหนักในเรซินเป็นปริมาณน้อยที่สุดที่มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียทั้ง 2 สายพันธุ์ทั้งจากการสัมผัสและการวัดอัตราลดลงของเชื้อ วัสดุมีค่าความลึกของการแข็งตัว การดูดซับน้ำและละลายตัวเท่ากับ5.80 มิลลิเมตร, 48.25 และ 7.59 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์มิลลิเลตรตามลำดับผ่านเกณฑ์มาตรฐานสากล การทดสอบความแข็งผิวและความหนืดพบว่ามีค่า 14.95VHNและ 1228 เซนติพอยส์มากกว่าวัสดุกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ อัตราการเปลี่ยนแปลงพันธะคู่มีค่าร้อยละ 57.5 และระดับการรั่วซึมตามขอบไม่แตกต่างของจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์จากการสัมผัสวัสดุทั้งทางตรงและทางอ้อมไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทั้งสองสรุปวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันเรซินเสริมไคโตซานวีสเกอร์ได้ถูกพัฒนาโดยพบว่า ปริมาณร้อยละ 2 โดยน้ำหนักเป็นปริมาณน้อยที่สุดที่ทำให้เกิดฤทธิ์ต้านจุลชีพโดยไม่ทำให้สมบัติทางกายภาพตามมาตรฐานสากลอัตราการเปลี่ยนแปลงพันธะคู่และระดับการรั่วซึมตามขอบแตกต่างจากวัสดุควบคุมรวมทั้งไม่พบความเป็นพิษต่อเซลล์ทำให้วัสดุเคลือบหลุมร่องฟันเสริมไคโตซานวีสเกอร์เป็นวัสดุที่มีฤทธิ์ต้านจุลชีพ มีสมบัติทางกายภาพที่ดีและมีความปลอดภัย
Other Abstract: Objective:The aim of this study was to synthesize and characterize the as-prepared chitosan nano-whiskersincluding whiskers-incorporate resin sealant. Novel resin sealant was investigated the antimicrobial property, physical property and cytotoxicity. Materials&Methods:A novel nano-whiskers chitosan was developed from the shrimp shells which were decalcified and deproteinized to obtain chitin flakes. The flakes were hydrolyzed to form whiskers which were latterly deacetylated using alkali reagent for chitosan. Infrared Spectrometry (IR) and Electron microscope were used for determining chemical and physical property, respectively. After lyophilization, dry whiskers were incorporated into light-activated resin sealant at 2.5, 2, 1.5, 1 and 0%(control) by weight. The disc specimens were prepared for each experimental sealant (Seal&Protect™,DENTSPLY,USA, Delton®,DENTSPLY,USA and Teethmate™F-1;KURARAY,JAPAN) for comparison. The Agar diffusion and Bacteria reduction rate (BRR) technique for antimicrobial activity were used on Streptococcus mutans (UA159) and Lactobacillus casei (IFO3533) The specimens were tested for physical properties (depth of cure, water sorption and solubility, Vickers hardness, double bond conversion, viscosity and marginal leakage). Moreover, the whiskers-sealants were tested for cytotoxicity with L929.Result: The IR spectrum had 73.58% in deacetylated degree and exhibited chitosan chemical structure. TEM images depicted distributed fibrous structure so as incorporated in resin sealant. For antimicrobial test, 2% chitosan in sealant has clearly demonstrated zone of inhibition and greater in BRR in both microbes. It passed the standard test with 5.80 mm. in cure depth, 48.25 and 7.59 µg/mm3 in water sorption and solubility. The conversion degree and marginal leakage had no different compare with control group although its hardness and viscosity were 14.95 VHN and 1228 cP had statistically difference. The whiskers-sealant was not toxic to fibrobalst cell culture. Conclusion:The novel chitosan nano-whiskers were developed. Incorporation of at least 2% whiskers in resin sealant had an antibacterial effect and achieved physical properies requirement. Besides, chitosan incorporated in resin sealant is presumedly good material and safe to be used.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57021
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2113
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.2113
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ekamon Mahapoka.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.