Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57022
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระพงษ์ บุญโญภาส-
dc.contributor.authorชนิดาพร ภู่เรือน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-02-15T09:08:47Z-
dc.date.available2018-02-15T09:08:47Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57022-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2551en_US
dc.description.abstractอาชญากรรมเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นและคงอยู่ในสังคม ขณะที่สังคมพยายามควบคุมอาชญากรรม ที่เกิดขึ้น อาชญากรรมก็มีการพัฒนาตัวเองตลอดเวลา และนอกจากรูปแบบในการ ก่ออาชญากรรมที่เปลี่ยนไป วัตถุประสงค์ในการประกอบอาชญากรรมก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย จากเดิมที่เป็น การประกอบอาชญากรรม เพื่อล้างแค้นหรือเพื่อการดำรงอยู่ของชีวิต กลายมาเป็นการก่ออาชญากรรม เพื่อผลประโยชน์ตอบแทนที่เป็นตัวเงิน หรือทรัพย์สินที่มีมูลค่ามหาศาล ปัจจุบันพบว่าการฟอกเงินถือเป็นปัญหาอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่สร้างความเสียหายในวงกว้าง แม้ว่าพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินจะเป็นกฎหมายที่เข้ามามีบทบาทในการเสริมสร้างมาตรการในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดและทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด โดยมีการนำมาตรการดำเนินการกับทรัพย์สินทางแพ่งมาใช้บังคับและได้ขยายหลักเกณฑ์การดำเนินการกับทรัพย์สินให้มีขอบเขตกว้างขึ้น กล่าวคือ สามารถยึดและอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ได้ทั้งหมด โดยไม่คำนึงว่าทรัพย์สินดังกล่าวจะมีการโอน รับโอน จำหน่าย ซุกซ่อน ปกปิด เปลี่ยนสภาพไปหลายครั้งแล้ว หรือตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลอื่นแล้วก็ตาม ซึ่งเป็นข้อจำกัดในกฎหมายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นประมวลกฎหมายอาญาหรือพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดแล้วก็ตาม แต่เนื่องจากการดำเนินการกับทรัพย์สินทางแพ่งดังกล่าวนับว่าเป็นมาตรการใหม่ยังไม่เคยถูกใช้มาก่อน ดังนั้นการบังคับใช้มาตรการดำเนินการกับทรัพย์สินทางแพ่งตามกฎหมายฉบับนี้พบว่ายังมี ปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้ ทั้งในแง่ของข้อกฎหมายและในการปฏิบัติตามกฎหมาย อันเกิดมาจากการที่กฎหมายที่บังคับใช้อยู่ยังมีช่องว่าง ทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายยังขาดแนวทาง ที่ชัดเจนในการถือปฏิบัติ ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงประเด็นปัญหาในการดำเนินการให้ทรัพย์สิน ตกเป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่น่าสนใจไม่ว่าจะเป็นกรณี ทรัพย์สินสูญหายหรือไม่อาจติดตามกลับคืนมาได้และภายหลังศาลได้มีคำสั่งให้ทรัพย์นั้นตกเป็นของแผ่นดิน หรือกรณีประเทศไทยได้รับคำร้องขอจากต่างประเทศ เพื่อให้ดำเนินการกับทรัพย์สินที่ตั้งอยู่ภายในประเทศ หรือแม้แต่มีการนำทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำความผิดมาชำระเป็นค่าเบี้ยประกันตามสัญญาประกันชีวิตหรือจ่ายเป็นค่าจ้างทนายความก็ตาม ขณะเดียวกันได้เสนอแนวทางในการบังคับคดีเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งศาล อันจะทำให้การดำเนินคดีฟอกเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันแก่ประชาชนว่า การบังคับใช้กฎหมายฟอกเงินจะเป็นไปโดย ความบริสุทธิ์ ยุติธรรมและกระทบสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ที่รัฐธรรมนูญรับรองน้อยที่สุด สมดังเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินen_US
dc.description.abstractalternativeCrime is a behavior occurs and remains in society. While the society is trying to control, it evolves. Its pattern changes, as well as its objectives, from revenge or existence to large amount of benefit. Money Laundering is viewed as economic crime that cause a vast area of damages. Although the Anti-Money Laundering Act (AMLA) has strengthen the measures to prosecute offender and forfeit their proceeds of crime by adopting for a civil forfeiture procedure and, over time, expand its definition of asset (to be forfeited) regardless of how many times it was transferred, sold, hidden, or disguised, including when the right over the asset is transferred to a bona fide third party-which is a restriction in other laws such as the penal code or the Act on Measures for the Suppression of Offenders in an Offense Relating to Narcotics RE. 2534. Because civil forfeiture procedure is a pioneer, it faces problems and hardship in application in both legislature and procedure aspects, which occurs from the gaps in present laws and the competent officials enforcing the law also lack of guidance or best practices. This thesis points out the interesting obstacles in forfeiture procedure under the AMLA in certain area such as when the asset ordered forfeited but lost or unrecoverable or when Thailand received a request to proceed with asset in the Kingdom or when there is a need to spend the seized asset for life policy premium or lawyer fee. This thesis also suggests the execution in accordance with the judgment to enhance efficiency in procedure of money laundering case, to ensure justice and minimal damage to human rights under the Constitution the serve the will of the AMLA.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.486-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการฟอกเงิน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.subjectการยึดทรัพย์-
dc.subjectการริบทรัพย์-
dc.subjectทรัพย์สิน-
dc.subjectMoney laundering -- Law and legislation-
dc.subjectForfeiture-
dc.subjectProperty-
dc.titleปัญหาการดำเนินการให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542en_US
dc.title.alternativeThe obstacles of asset confiscation under anti-money laundering act b.e.1999en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorvboonyobhas@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.486-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chanidaporn_ph_front.pdf943.08 kBAdobe PDFView/Open
chanidaporn_ph_ch1.pdf912.52 kBAdobe PDFView/Open
chanidaporn_ph_ch2.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open
chanidaporn_ph_ch3.pdf9.79 MBAdobe PDFView/Open
chanidaporn_ph_ch4.pdf4.85 MBAdobe PDFView/Open
chanidaporn_ph_ch5.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
chanidaporn_ph_back.pdf798.38 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.