Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5719
Title: กระบวนการแสวงหาข้อมูลข่าวสารในการดูแลเด็กออทิสติก
Other Titles: Information-seeking process on autistic children care taking
Authors: ปิยะนารถ จันทราโชติวิทย์
Advisors: ปาริชาต สถาปิตานนท์ สโรบล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Parichart.S@Chula.ac.th
Subjects: ผู้ปกครองเด็กออทิสติก
เด็กออทิสติก
การสื่อสารทางการแพทย์
การแสวงหาสารสนเทศ
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษากระบวนการแสวงหาข้อมูลข่าวสารในการดูแลเด็กออทิสติกของผู้ปกครองเด็กออทิสติก จากการใช้ทฤษฎีการลดความไม่แน่นอนและทฤษฎีการจัดการความไม่แน่นอนเป็นกรอบในการวิเคราะห์กระบวนการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2543 ถึงกุมภาพันธ์ 2544 โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ปกครองเด็กออทิสติกจำนวน 20 คน ด้วยคำถามปลายเปิด เลือกกลุ่มตัวอย่างจากความสมัครใจและใช้วิธี Snowball technique ผู้ปกครองเด็กออทิสกติกที่ผู้วิจัยสัมภาษณ์มีอายุระหว่าง 26 ถึง 52 ปี ระดับการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาถึงปริญญาเอก เป็นชาย 2 คนและหญิง 18 คน ส่วนใหญ่เป็นมารดาของเด็กที่มีอาชีพแม่บ้าน ดูแลเด็กออทิสติกที่มีอายุระหว่าง 2 ถึง 18 ปี ผลการวิจัยพบว่า ความผิดปกติของเด็กเป็นสาเหตุหลักในการแสวงหาข้อมูลข่าวสารของผู้ปกครองโดยกระบวนการแสวงหาข้อมูลของผู้ปกครองเด็กออทิสติกสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะตามระยะของความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น คือ ระยะก่อนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นออทิสติก ระยะที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นออทิสติก แต่ยังไม่ยอมรับว่าลูกเป็นออทิสติก และระยะที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นออทิสติก และยอมรับว่าลูกเป็นออทิสติกโดยในแต่ละระยะมีวัตถุประสงค์ แหล่งข้อมูล ช่องทาง และเนื้อหาของข้อมูลข่าวสารที่แตกต่างกันไป ผู้ปกครองแสวงหาข้อมูลด้วยการรอรับ ใฝ่หา และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่มีประสบการณ์ในการดูแลเด็กออทิสติก และแหล่งข้อมูลอื่นๆ ด้วยการเข้ากลุ่ม นอกจากนี้ผู้ปกครองเด็กออทิสติกยังมีการหลีกเลี่ยงข้อมูลข่าวสารซึ่งก่อให้เกิดความสับสน เครียด และนำไปสู่การเพิ่มความไม่แน่นอนให้มากขึ้น ปัญหาสำคัญที่ผู้ปกครองพบในการแสวงหาข้อมูลข่าวสารคือปัญหาการสื่อสารระหว่างบุคคลโดยเฉพาะกับบุคลากรทางการแพทย์ทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา และยังมีความลำบากในการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร เนื่องจากข้อมูลข่าวสารด้านออทิสติกยังมีการกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
Other Abstract: Reveals an information seeking process used by the parents of autistic children. The researcher uses uncertainty reduction theory and theory of uncertainty management as the framework of analysis. Twenty parents of autistic children, who was interviewed in-depth during December 2000 to February 2001, participate the research through snowball sampling technique. The result indicates that parents' information seeking process starts when they realize their children's abnormal behaviour. Three stages of parents' information seeking process includes confusing, rejecting, and accepting stages. Each information seeking stage involves diferrent parents' goals, information sources, communication channels, and autism related messages. Most parents search for information through passive, active, and interactive strategies from self-help groups as well as other sources of information. Many parents use information avoiding strategy when the information increases their uncertainty on their children's condition. More often than not, these parents face communication problems with health care personnels who are not sensitive to parents' needs. Furthermore, the parents point out that autism information access is limited to people in big cities only.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5719
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.283
ISBN: 9741305877
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.283
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PiyanartJun.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.