Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57214
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กาญจนา แก้วเทพ | - |
dc.contributor.author | ภัททิรา วิริยะสกุลธรณ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-02-22T07:38:35Z | - |
dc.date.available | 2018-02-22T07:38:35Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57214 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) กระบวนการสื่อสารของคาราวานกิจกรรมและสื่อพิธีกรรมที่ชาวไท-ยวน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ใช้ในการแก้ปัญหาแม่น้ำเน่าเสียในปี พ.ศ. 2549 (2)บทบาทของสื่อพิธีกรรมในฐานะที่เป็นสื่อในการแก้ปัญหาแม่น้ำป่าสักเน่าเสียของชาวไท-ยวน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ในปี พ.ศ. 2549 (3)ผลที่เกิดขึ้นและความยั่งยืนของการรักษาสิ่งแวดล้อมที่เป็นผลมาจากสื่อพิธีกรรมในปี พ.ศ. 2549 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการศึกษาจากเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการสื่อสารที่ปรากฏในคาราวานกิจกรรมและสื่อพิธีกรรมเป็นการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม ซึ่งมี 3 ระดับ ได้แก่ การมีส่วนร่วมในฐานะผู้รับสาร/ใช้สาร การมีส่วนร่วมในฐานะผู้ส่งสาร/ผู้ผลิต/ผู้ร่วมผลิต/ผู้ร่วมแสดง การมีส่วนร่วมในฐานะผู้วางแผนและกำหนดนโยบาย คุณลักษณะที่สำคัญของรูปแบบการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วยการสื่อสารแบบสองทาง การสื่อสารแบบแนวระนาบ การไหลของข่าวสารสองจังหวะ และการสลับบทบาทหน้าที่ผู้สื่อสาร และพบว่ามีการใช้เครือข่ายการสื่อสารในการประสานกลุ่มในชุมชนและองค์กรภายนอกชุมชนเพื่อมาทำกิจกรรมร่วมกัน และเมื่อนำองค์ประกอบการสื่อสารไปวิเคราะห์คาราวานกิจกรรมพบว่ามีการสืบทอดองค์ประกอบการสื่อสารครบทั้ง 4 องค์ประกอบได้แก่ S M C R 2. บทบาทหน้าที่ของสื่อพิธีกรรมสืบชะตาแม่น้ำในระดับปัจเจกได้แก่ หน้าที่ในการเสริมสร้าง/สืบทอดอัตลักษณ์ศักดิ์ศรี หน้าที่ในการสร้างความอบอุ่น/ความมั่นคงทางจิตใจ หน้าที่ให้แนวทางในการดำเนินชีวิต หน้าที่การอบรมบ่มเพาะ หน้าที่สร้างความตระหนักในคุณค่าของสิ่งแวดล้อม หน้าที่เพื่อก่อให้เกิดกิจกรรม บทบาทหน้าที่ในระดับชุมชนได้แก่ หน้าที่ระดมพลังชุมชน หน้าที่ในการสร้างภราดรภาพ/เอกภาพ/ความสามัคคีเป็นปึกแผ่น หน้าที่ในการเป็นยาสมานแผลชุมชน หน้าที่การแสดงความรู้สึกร่วมกัน หน้าที่เป็นคลังเก็บความรู้ หน้าที่สร้างการมีส่วนร่วม หน้าที่ในการผสานแนวคิด หน้าที่ในการขยายข้อจำกัดของสื่อ และบทบาทหน้าที่ในระดับสังคมได้แก่ หน้าที่ในการสร้างเครือข่ายภายในและภายนอกชุมชน 3. การวัดผลที่เกิดขึ้นทั้งในระดับปัจเจกและระดับชุมชนพบว่า ในระดับปัจเจกเกิดความตระหนักและมีจิตสำนึกเห็นคุณค่าของแม่น้ำ เกิดการนำไปขยายผลต่อ ส่วนในระดับชุมชนพบว่า ส่วนใหญ่เห็นว่าชุมชนเกิดการมีส่วนร่วมในการเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์แม่น้ำ เกิดการปรับเปลี่ยนทางด้านพฤติกรรม เกิดการเรียกร้องให้จัดพิธี สืบชะตาแม่น้ำ เกิดความร่วมมือระหว่างกลุ่มในชุมชน ชุมชนเกิดความร่วมมือในการแก้ปัญหา และบางส่วนเห็นว่าชุมชนไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง สำหรับผลสืบเนื่องได้แก่ ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสัมพันธภาพในชุมชน ด้านสภาพแวดล้อมในชุมชน และผลการวิจัยพบว่า ยังไม่ยืนยันได้ว่าสื่อพิธีกรรมสืบชะตาแม่น้ำจะมีความยั่งยืน | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this reseach were to study: (1) Communication process in series of activities and ritual, (2) roles of ritual as a medium, and (3) sustainable consequences resulted from ritual, use to recondition Pasak river by Tai-Yuan people in Sao-Hai district, Saraburi province in 2006. Qualitatively, In-depth interviews, participant observation and documentary analysis were used. The finding showed that: 1. Communication process in the series of activities and ritual were participant communication. Three levels of participant were found: being reciever/user, sender/producer/co-producer/performance and policy maker/planner. Key characteristics of the partcipant communication were two-ways, horizontal, two-step flow and role shifting. In Addition, communication networking was used to develop activities among members in the community and with external groups. In terms of communication elements, sender (S), message (M), channel (C) and reciever (R) all involved in the series of activities. 2. Ritual as a medium had three roles. First, at the individual level, the ritual helped enhance self identity, strengthen psychological stability, guide ways of life, activate values, build enveronmental awareness, and generate social activities. Second, the ritual at the community unity, solve conflict, create shared feelings, become knowledge source, generate participation, integrate ideas, and complement other media. Last the ritual played a role in building both in-group and out-group networking, at the society level. 3.Consequences awared at both individual and community levels. For the individual level, people were realized and awared of the value of river. At the community level, most of the people participated and proposed solution to reserve the river, changed their behavior, requested for more rituals, co-operated between groups in the community to solve problems. Elaborately, sustainable consequences were related to various aspects, including cultural, economy, community relationship, physical environmental ones. However, the findings did not confirm that such ritual would last long in the future. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.313 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การสื่อสาร -- แง่สังคม | en_US |
dc.subject | สังคมประกิต | en_US |
dc.subject | การสื่อสารกับวัฒนธรรม | en_US |
dc.subject | การอนุรักษ์ลำน้ำ | en_US |
dc.subject | Communication -- Social aspects | en_US |
dc.subject | Socialization | en_US |
dc.subject | Communication and culture | en_US |
dc.subject | Stream conservation | en_US |
dc.title | บทบาทสื่อพิธีกรรมในการอนุรักษ์แม่น้ำป่าสักของชาวไท-ยวน อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี | en_US |
dc.title.alternative | The role of ritual por pasak river conservation by THI-YUAN at sao-hai district, saraburi province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตรพัฒนาการ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Kanjana.Ka@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.313 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pattira_vi_front.pdf | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pattira_vi_ch1.pdf | 1.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pattira_vi_ch2.pdf | 7.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pattira_vi_ch3.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pattira_vi_ch4.pdf | 7.74 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pattira_vi_ch5.pdf | 8.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pattira_vi_ch6.pdf | 7.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pattira_vi_ch7.pdf | 2.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pattira_vi_ch8.pdf | 3.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pattira_vi_ch9.pdf | 4.62 MB | Adobe PDF | View/Open | |
pattira_vi_back.pdf | 1.52 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.