Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57225
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุกัญญา สุจฉายา-
dc.contributor.authorพรรณราย ชาญหิรัญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-02-23T05:01:33Z-
dc.date.available2018-02-23T05:01:33Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57225-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะและบทบาทของจระเข้ในนิทานไทย ผู้วิจัยรวบรวมนิทานไทยที่ปรากกฎบทบาทของตัวละครจระเข้ทั้งสำนวนลายลักษณ์และสำนวนมุขปาฐะได้ทั้งสิ้น 107 เรื่อง ซึ่งปรากฏตัวละครจระเข้ทั้งสิ้น 152 ตัว ผลการศึกษาพบว่าตัวละครจระเข้ปรากฏในนิทานไทย 9 ประเภท ได้แก่ ตำนานปรัมปรา นิทานศาสนา นิทานคติ นิทานมหัศจรรย์ นิทานชีวิต นิทานประจำถิ่น นิทานอธิบายเหตุ นิทานสัตว์ และมุขตลกและเรื่องโม้ ตัวละครจระเข้ที่ปรากฏในนิทานไทยแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ตัวละครจระเข้ที่มีลักษณะตามธรรมชาติ และตัวละครจระเข้ที่มีลักษณะเหนือธรรมชาติ ตัวละครจระเข้ที่มีลักษณะตามธรรมชาติจะมีลักษณะทางกายภาพเหมือนจระเข้ในธรรมชาติ และมักมีลักษณะนิสัยที่ร้าย ส่วนตัวละครจระเข้ทีมีลักษณะเหนือธรรมชาติจะมีลักษณะทางกายภาพแตกต่างไปจากจระเข้ในธรรมชาติ 3 ประการ คือ รูปร่างหน้าตา กำเนิด และอำนาจวิเศษ ตัวละครจระเข้มีลักษณะเหนือธรรมชาติมักมีลักษณะนิสัยที่ดี ตัวละครจระเข้ในนิทานไทยแบ่งตามบทบาทในเรื่องได้ทั้งสิ้น 4 ประเภท คือ ตัวเอก ตัวปฏิปักษ์ ผู้ช่วย และตัวประกอบ ตัวละครจระเข้ทั้ง 4 ประเภทแสดงบทบาทในการเป็นผู้ทำลาย ผู้คุ้มครอง ผู้ช่วยเหลือตัวเอก ผู้เป็นพาหนะ ผู้สืบทอดประเพณี และผู้อบรมสั่งสอน ผู้วิจัยพบว่าตัวละครจระเข้ในนิทานไทยมักมีบทบาทเป็นผู้ทำลายและผู้คุ้มครองมากที่สุด ซึ่งเป็นบทบาทที่ตรงข้ามกันแต่มีสาเหตุมาจากความหวาดกลัวจระเข้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้นิทานไทยยังทำให้จระเข้กลายเป็นสัญลักษณ์อย่างน้อย 2 ประการ คือ เป็นสัญลักษณ์ของสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่หวงสมบัติและตระหนี่ในทานen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims to study the characteristic and the role of crocodile in Thai tales. The researcher collected 107 stories from oral and literary versions, which are 152 crocodiles. It is found that the crocodile characters appear in 9 forms of Thai tales which are myth, religious tale, fable, fairy tale, novella, legend, explanatory tale, animal tale, and Jest. The crocodile characters are either natural crocodiles or supernatural ones. The natural crocodiles have all external appearances like the ordinary ones and are always bad characters. On the other hand, the supernatural crocodiles have external appearances, births and magic powers that are different from those of the ordinary crocodiles. The supernatural crocodiles in Thai tales are always good characters. The crocodile character in Thai tales must be categorized in one of the four groups which are a protagonist, an antagonist, a helper, and a supporting character. Crocodile characters have 6 roles that are a destroyer, a protector, a protagonist helper, a carrier, a traditional bearer, and an instructor. It is found that the crocodile characters always be a destroyer and a protector, that are opposite roles but cause from a crocodile's fear too. Thai tales make at least 2 symbols of crocodile that are a symbol of the sacred animal and a symbol of the stingy person who never give charity.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.995-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectจระเข้en_US
dc.subjectสัตว์ในวรรณคดีen_US
dc.subjectนิทานไทยen_US
dc.subjectCrocodileen_US
dc.subjectAnimals in literatureen_US
dc.subjectTales, Thaien_US
dc.titleบทบาทของจระเข้ในนิทานไทยen_US
dc.title.alternativeThe role of crocodile in Thai talesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineภาษาไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSukanya.Suj@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.995-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phannarai_ch_front.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
phannarai_ch_ch1.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open
phannarai_ch_ch2.pdf4.45 MBAdobe PDFView/Open
phannarai_ch_ch3.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open
phannarai_ch_ch4.pdf2.66 MBAdobe PDFView/Open
phannarai_ch_ch5.pdf451.5 kBAdobe PDFView/Open
phannarai_ch_back.pdf15.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.