Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57875
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความว้าเหว่ อารมณ์ซึมเศร้า การเห็นคุณค่าในตนเอง การควบคุมตนเอง ความไม่มั่นคงทางอารมณ์ กับการใช้อินเทอร์เน็ตปริมาณมากเกินไป
Other Titles: Relations among loneliness, depreessive mood, self-esteem, self-control, neuroticism, and internet excessive use
Authors: จริยา ปานเกษม
รวิสรา ลิ้ม
ลันชกร ศรีประเสริฐวงศ์
Advisors: กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ
สมบุญ จารุเกษมทวี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: Kullaya.D@Chula.ac.th
Somboon.J@Chula.ac.th,somboon.kla@gmail.com
Subjects: ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต -- แง่จิตวิทยา
ผู้ติดอินเทอร์เน็ต -- แง่จิตวิทยา
อินเทอร์เน็ตกับวัยรุ่น -- แง่จิตวิทยา
อินเทอร์เน็ต -- แง่จิตวิทยา
Internet users -- Psychological aspects
Internet addicts -- Psychological aspects
Internet and teenagers -- Psychological aspects
Internet -- Psychological aspects
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความว้าเหว่ อารมณ์ซึมเศร้า การเห็นคุณค่าในตนเอง การควบคุมตนเอง ความไม่มั่นคงทางอารมณ์ กับการใช้อินเทอร์เน็ตปริมาณมากเกินไป โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี จำนวน 151 คน โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ มาตรวัดการใช้อินเทอร์เน็ตปริมาณมากเกินไป มาตรวัดความว้าเหว่ มาตรวัดอารมณ์ซึมเศร้า มาตรวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง มาตรวัดการควบคุมตนเอง และมาตรวัดความไม่มั่นคงทางอารมณ์ ผลการวิจัยสนับสนุนสมมติฐานที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้อินเทอร์เน็ตมาเกินไป กล่าวคือ ความว้าเหว่มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับการใช้อินเทอร์เน็ตปริมาณมากเกินไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .32, p < .01, หนึ่งหาง) อารมณ์ซึมเศร้ามีสหสัมพันธ์ทางบวกกับการใช้อินเทอร์เน็ตปริมาณมากเกินไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .32, p < .01, หนึ่งหาง)การเห็นคุณค่าในตนเองมีสหสัมพันธ์ทางลบกับการใช้อินเทอร์เน็ตปริมาณมากเกินไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.30, p < .01, หนึ่งหาง) การควบคุมตนเองมีสหสัมพันธ์ทางลบกับการใช้อินเทอร์เน็ตปริมาณมากเกินไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.44, p < .01, หนึ่งหาง) ความไม่มั่นคงทางอารมณ์มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับการใช้อินเทอร์เน็ตปริมาณมากเกินไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .29, p < .01, หนึ่งหาง) ในส่วนของสมมติฐานที่เกี่ยวกับข้องกับการที่ความว้าเหว่ อารมณ์ซึมเศร้า การเห็นคุณค่าในตนเอง การควบคุมตนเอง และความไม่มั่นคงทางอารมณ์ร่วมกันทำนายการใช้อินเทอร์เน็ตปริมาณมากเกินไปนั้น พบว่า ได้รับการสนับสนุนในบางส่วน กล่าวคือ ตัวแปรอิสระทั้งหมดร่วมกันทำนายการใช้อินเทอร์เน็ตปริมาณมากเกินไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้ร้อยละ 24 (R2= .24, p < .001) แต่มีเฉพาะการควบคุมตนเองเท่านั้นที่มีนัยสำคัญทางสถิติในการทำนาย (β = -.34, p < .001)
Other Abstract: The purpose of this research study was to examine the relationships among loneliness, depressive mood, self-esteem, self-control, neuroticism, and internet excessive use. Data were collected from 151 undergraduate students from Chulalongkorn University. Participants responded to a set of questionaires measuring internet excessive use, loneliness, depressive mood, self-control, and neuroticism As hypothesized, singnifiacant associations were found between internet excessive use and the variables examined. Internet excessive use was significantly and positively correlated with loneliness (r = .32, p < .01, one-tailed), narcissim (r = .29, p < .01, one-tailed), and depressive mood (r = .32, p < .01, one-tailed). Signifiacant negative correlations were found between internet excessive use and self-esteem (r = -.30, p < .01, one-tailed) as well as self-control (r = -.44, p < .01, one-tailed).In terms of how these variables predicted internet excessive use, the hypothesis was partitially supported. When examined together, loneliness, depressive mood, self-esteem, self-control and neuroticism singnifiacantly predicted internet excessive use and accounted for 24 of its variance (R2= .24, p < .001). However, only the standardized regression coefficient of self-control (β = -.34, p < .001) was significant.
Description: โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2016
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57875
Type: Senior Project
Appears in Collections:Psy - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jariya_pa.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.