Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57887
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชูพงศ์ ปัญจมะวัต-
dc.contributor.authorสุธินี เหล่าไทย-
dc.contributor.authorนวลฉวี สุริยันต์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา-
dc.date.accessioned2018-03-21T08:55:37Z-
dc.date.available2018-03-21T08:55:37Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57887-
dc.descriptionโครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2016en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้จัดทาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊ก กับภาวะซึมเศร้าและปัญหาสุขภาพจิตของนิสิตระดับปริญญาตรี โดยกลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบบทวิภาค จำนวน 393 คน แบ่งเป็นเพศชาย 187 คน และเพศหญิง 206 คน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊ก ที่กลุ่มผู้วิจัยพัฒนาขึ้น แบบประเมินภาวะซึมเศร้า เรียบเรียงและแปลเป็นภาษาไทยโดย มาโนช หล่อตระกูล (2544) และแบบคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต ฉบับภาษาไทย (GHQ-28) พัฒนาขึ้นมาโดย ธนา นิลชัยโกวิทย์ และคณะ (2545) วิเคราะห์ข้อมูลโดยนำคะแนนรวมจากแบบสารวจพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊กมาหาค่าความสัมพันธ์ (Correlation Analysis) ระหว่างตัวแปรสุขภาพจิตและภาวะซึมเศร้าด้วยการใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product-moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊กไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิตระดับปริญญาตรี (r = .095, n.s.) 2. พฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊กมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับปัญหาสุขภาพจิต ของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนิสิตระดับปริญญาตรี (r = .104, p < .05)en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to investigate Facebook usage behavior, mental health problem and depression including their correlations among undergraduate students at Chulalongkorn University with a sample of 393 people, 187 males and 206 females. This study was a quantitative research. The tools used in the procedure were the Facebook usage behavior survey developed by researchers, Thai Depression Inventory translated and composed by Manote Lotrakul (2544) and General Health Questionnaire: GHQ-28 (Thai version) developed by Thana Ninchaikowit (2545). Data analysis used total scores from The Facebook usage behavior survey to perform Correlation Analysis between mental health variable and depression based on Pearson Product-moment Correlation Coefficient. The results were as follows: 1. There is a partial association between Facebook usage behavior and depression of the sample (r = .095, n.s.) 2. There is a positive association between Facebook usage behavior and mental health problem of the sample (r = .104, p < .05)en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเครือข่ายสังคมออนไลน์ -- แง่จิตวิทยาen_US
dc.subjectนักศึกษา -- แง่จิตวิทยาen_US
dc.subjectโรคซึมเศร้าen_US
dc.subjectOnline social networks -- Psychological aspectsen_US
dc.subjectCollege students -- Psychological aspectsen_US
dc.subjectDepression, Mentalen_US
dc.titleความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊กกับภาวะซึมเศร้าและปัญหาสุขภาพจิต ในนิสิตระดับปริญญาตรีen_US
dc.title.alternativeAssociations among facebook usage behavior, depression and mental health problem among undergraduate studentsen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisorchupong.p@chula.ac.th-
Appears in Collections:Psy - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sutinee Laothai.pdf959.42 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.