Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5802
Title: | ฐานะประพันธกรในภาพยนตร์ของ อิงก์มาร์ เบิร์กแมน |
Other Titles: | The authorship in Ingmar Bergman's films |
Authors: | ก้อง พาหุรักษ์ |
Advisors: | อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Ubonrat.S@chula.ac.th |
Subjects: | นักประพันธ์ -- สวีเดน เบิร์กแมน, อิงก์มาร์ |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความเป็นประพันธกรของ อิงก์มาร์ เบิร์กแมน (1918-ปัจจุบัน) ผู้กำกับชาวสวีเดนที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงในวงการภาพยนตร์สากล โดยวิเคราะห์จากผลงานภาพยนตร์ ประวัติชีวิต และ บริบททางสังคม วัฒนธรรม และการเมืองของประเทศสวีเดน ในการวิจัยได้คัดเลือก ภาพยนตร์จำนวน 10 เรื่องจากผลงานทั้งหมด 37 เรื่องในยุคทศวรรษ 1950-60 และทศวรรษ 1960-80 มาศึกษาวิเคราะห์ตามแนวทฤษฎีสุนทรียศาสตร์และการเล่าเรื่อง ผลการวิจัยพบว่าสามารถแบ่งผลงาน สร้างสรรค์ ของเบิร์กแมนในแนวใหม่ได้เป็นลักษณะ "สามฤดู" ได้แก่ 1) ชีวิตมีความหวัง 2) ความหวังดับสูญ 3) การกลับคืนของความหวัง ซึ่งจะช่วยให้อธิบายพัฒนาการทางอารมณ์ มุมมอง และความคิของเบิร์กแมน ได้มากขึ้น ในแง่ศิลปะภาพยนตร์นั้นเบิร์กแมนใช้วิธีการเล่าเรื่องอย่างเรียบง่าย ตรงไปตรงมา และการเสนอ อารมณ์แบบดรามาส่วนใหญ่ถูกจัดวางไว้ในบุคลิกของตัวละครสำคัญของเรื่อง ส่วนด้านการเล่าเรื่องด้วย ภาพ (visual narrative) ใช้วิธีการเคลื่อนไหวกล้องอย่างจำกัดและไม่ตัดภาพพร่ำเพรื่อ เพื่อสร้างลักษณะ การสื่อสารแบบสมจริงคล้ายการถ่ายทำสารคดี เนื้อหาหลักในภาพยนตร์ของเบิร์กแมน ประกอบด้วย ประเด็นใหญ่ ๆ 4 ประเด็นได้แก่ 1) วิพากษ์ศาสนา การวิจารณ์ศาสนาคริสต์ในแง่ลบ 2) แสวงหาผู้อื่น ความพยายามของมนุษย์ในการอยู่ร่วมกัน 3) กู้คืนการสื่อสาร การแก้ไขความเข้าใจผิดและความขัดแย้ง ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน และ 4) พัฒนาการทางอารมณ์และความคิด มุมมองชีวิตที่เปลี่ยนไปตามวุฒิภาวะ ในวัยต่างๆ ของเบิร์กแมนดังเช่นวัฏจักรแห่งฤดูกาล ตั้งแต่การมีความหวัง การสิ้นหวัง และการกลับมามี ความหวังอีกครั้ง นอกจากนี้ ผลการศึกษาวิจัยยังพบว่าบุคคลที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการสร้างสรรค์งาน ของเบิร์กแมนได้แก่อีริค เบิร์กแมน บิดาผู้ถ่ายทอดแนวคิดทางศาสนาที่เข้มงวด กลุ่มศิลปินทั้งนักเขียน ผู้กำกับละครเวที และผู้กำกับภาพยนตร์ กุล่มนักคิดสายอัตถิภาวนิยม ในส่วนของบริบททางสังคม และ การเมืองของสวีเดนพบว่าเบิร์กแมนได้รับอทธิพลทางอ้อม ยกเว้นในเรื่องความเป็นกลางทางการเมือง ของประเทศที่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด |
Other Abstract: | The objectives of this research are; to study the authorship of Ingmar Bergman (1918-present), the famous Swedish director, through his films and biography, and to study the influence of Swedish socio-cultural contexts on his works. The research selected 10 out of 37 Bergman's films for the purpose of this study. These are selected from 1950s "the gloomy optimistic period" and 1960-80 "the tragedy period". Aesthetic theory and narrative analysis are used to analyze these films. The research found that Bergman's films should be classified into 3 periods, from hopeful period, hopeless period, to hope-regain period. These classifications are able to exemplify Bergman's emotional development, point of view and idealism in more detailed. From a reading of Bergman's films his artistic skills are his straightforward narrative and dramatic characterization of the main characters. His distinctive visual narrative presented series of visual images produced by limited camera movement and long to very long shot, known as the Bergman's signature. The result of Bergman's cinematographic mise-en-scene is a realistic narrative, at times close to being a documentary film. The narrative of Bergman's films focused mainly on 4 areas; 1) criticizing the Lutheranism, 2) seeking for others, 3) regaining communication, and 4) development of ideals as seasons (from hopeful spring, hopeless summer, to hope-regain winter) The study also found that Bergman's creative works showed that he was under the influences of his father, Eric Bergman, certain Swedish writers and artists, theatre and cinema directors, and Existential intellectuals. It seems that Swedish socio-cultural contexts have little bearing on Bergman's films except for the neutral political standpoint which displayed clearly in one of his film. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5802 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.732 |
ISBN: | 9741741154 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2005.732 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.