Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58074
Title: | สมมติสัจจะในพุทธปรัชญา |
Other Titles: | Conventional Truth in Buddhist Philosophy |
Authors: | ฐานิสรา ประธานราษฎร์นิกร |
Advisors: | สุวรรณา สถาอานันท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Suwanna.Sat@Chula.ac.th,Suwanna.Sat@chula.ac.th |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์หลัก ๒ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับสมมติสัจจะและปรมัตถสัจจะ ตามแนวคิดของสำนักอภิธรรม และสำนักมัธยมกะในพุทธศาสนามหายาน (๒) เพื่อวิเคราะห์ว่าเราควรจะเข้าใจสมมติสัจจะอย่างไร จึงจะสามารถใช้สมมติสัจจะเป็นเครื่องมือนำไปสู่การเข้าใจปรมัตถสัจจะได้ ทฤษฎีความจริงสองอย่างของสำนักอภิธรรม มีรากฐานมาจากแนวคิดที่ว่า สิ่งต่าง ๆ ที่เราพบเห็นในประสบการณ์ประกอบขึ้นด้วยองค์ประกอบย่อย ๆ ในระดับมูลฐานที่เรียกว่า “ธรรม” สำนักอภิธรรมถือว่า “ธรรม” แต่ละอย่างมีสวภาวะที่คงที่ และเป็นสิ่งที่เป็นจริงโดยปรมัตถ์ ส่วนสิ่งซึ่งประกอบขึ้นด้วย “ธรรม” เป็นเพียงสิ่งปรุงแต่งทางมโนทัศน์ จึงเป็นจริงโดยสมมติเท่านั้น นาคารชุนผู้ก่อตั้งสำนักมัธยมกะในพุทธศาสนามหายาน คัดค้านแนวคิดเรื่องสวภาวะของสำนักอภิธรรม และได้ชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นโดยอิงอาศัยสิ่งอื่นจะต้องเป็นศูนยตา แนวคิดนี้ของนาคารชุนได้ทำให้นักวิชาการในปัจจุบันบางท่าน เช่น เจย์ แอล การ์ฟิลด์ ตีความว่า สมมติสัจจะเป็นสัจจะอย่างเดียวที่มีอยู่ การตีความเช่นนี้ทำให้สมมติสัจจะมีความสัมพัทธ์แบบสุดขั้วกับความเห็นของชาวโลก ซึ่งทำให้บทบาทเชิงบรรทัดฐานของความจริงหมดไป และก่อให้เกิด “ปัญหาที่น่าเศร้า” ตามมา ซึ่งส่งผลให้สมมติสัจจะไม่สามารถเป็นเครื่องมือนำไปสู่การเข้าใจปรมัตถสัจจะได้ นักวิชาการทางพุทธศาสนาได้พยายามแก้ปัญหาที่น่าเศร้านี้แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้หมดสิ้น ผู้วิจัยเสนอว่าเราสามารถยืนยันความเป็นจริงของสมมติสัจจะได้ โดยเสนอบทวิเคราะห์พุทธพจน์ที่แสดงให้เห็นว่า พระพุทธองค์ทรงยืนยันบทบาทเชิงบรรทัดฐานของข้อความที่เป็นจริงซึ่งแยกต่างหากจากข้อความที่เป็นประโยชน์ และพระพุทธองค์ทรงใช้ภาษาที่ชาวโลกใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นจริงโดยสมมติ ในการเทศนาสั่งสอนให้เขาเหล่านั้นเกิดการรู้แจ้งปรมัตถสัจจะได้ |
Other Abstract: | The objective of this study is twofold: (1) to study the concept of conventional and ultimate truths in the Abhidhārma and the Mādhyamaka schools of Buddhism. (2) To analyze how should one understand conventional truth so that it can be the means to the understanding of the ultimate truth. The two–truth theory in the Abhidhārma is based on the idea that the things we encounter in our day-to-day experience can be analyze into impartite entities called “Dhārmas.” The Abhidhārmikas hold that while the Dhārmas, characterized by their intrinsic natures (svabhāva), are ultimately real; the partite entities are merely conceptual constructions, and therefore, are conventionally real. Nagārjuna of the Mādhyamaka School opposed the Abhidhārmikas’s conception about svabhāva. He argued that anything dependently originated must be devoid of svabhāva, and thus be empty. This leads to an interpretation by J. L. Garfield that conventional truth is the only truth there is. Garfield’s interpretation entails extreme relativism of conventional truth, followed by the removal of the role of normativity from the notion of truth, and hence “dismal slough.” Under such circumstances, conventional truth cannot play its role as the means to the understanding of ultimate truth. Attempts to overcome the abovementioned problems have been made by many Buddhist scholars. I propose that we confirm the efficacy of conventional truth by offering an analysis of sayings of the Buddha which confirm the normative role of truth in his distinction between statements which are true and statements which are useful. Moreover, I offer an analysis of several stories in which the Buddha uses ordinary language which is considered true by convention in order to lead many people to the realization of ultimate truth in Buddhism. In this way, the efficacy of conventional truth in Buddhism can be basically confirmed. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ปรัชญา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58074 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.567 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.567 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5480505522.pdf | 2.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.