Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58077
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุรเดช โชติอุดมพันธ์ | - |
dc.contributor.author | นันทวัลย์ สุนทรภาระสถิตย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-04-11T01:31:03Z | - |
dc.date.available | 2018-04-11T01:31:03Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58077 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาการนำเสนอภาพแทนความตายในเรื่องสั้นไทยร่วมสมัยระหว่าง พ.ศ. 2547 – 2556 โดยใช้กรอบแนวคิดสังคมเสี่ยงภัยและการขบคิดทบทวนการเป็นสมัยใหม่ เพื่อวิเคราะห์การนำเสนอภาพแทนความตายและความหมายของความตายที่ปรากฏในเรื่องสั้นซึ่งสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงและเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในสังคมไทยร่วมสมัย ผลการวิจัยสรุปได้ว่าการนำเสนอภาพแทนความตายในเรื่องสั้นได้แสดงให้เห็นถึงภาพของสังคมไทยในช่วงปี พ.ศ. 2547 – 2556 ที่กำลังปรากฏลักษณะของสังคมสมัยใหม่ช่วงปลายและเกิดความเสี่ยงที่เป็นผลมาจาก ความเจริญก้าวหน้าและวิถีชีวิตสมัยใหม่ นักเขียนได้แสดงการขบคิดทบทวนต่อสภาวะดังกล่าวและนำเสนอผ่านภาพแทน การตายที่ปรากฏในเรื่องสั้นซึ่งจะสัมพันธ์กับ 3 ประเด็น คือ ทุนนิยมกับสังคมเมือง ความตายกับอหังการของมนุษย์เหนือธรรมชาติ และความตายกับการเมือง การนำเสนอภาพแทนความตายในเรื่องสั้นในมิติของทุนนิยมและสังคมเมืองได้แสดงให้เห็นว่าโลกาภิวัตน์มีบทบาทสำคัญต่อสังคมบริโภค และการกลายเป็นปัจเจกบุคคลเป็นกระบวนสำคัญในการขบคิดทบทวนการดำรงอยู่ในสังคมทุนนิยมและบริโภคนิยม ปัจเจกบุคคลโดยเฉพาะผู้ชายในฐานะผู้นำครอบครัวเริ่มตระหนักถึงการดำรงชีวิตตามอุดมการณ์ชีวิตแบบทุนนิยมที่ไม่ได้นำพาชีวิตไปสู่ความผาสุก แต่กลับกักขังให้ขาดอิสรภาพ ในส่วนของสังคมเมืองการนำเสนอภาพแทนความตายในเรื่องสั้นถูกผลิตซ้ำเพื่อขับเน้นให้เห็นความเสี่ยงอันเกิดจากวิถีชีวิตสมัยใหม่ที่ผู้คนห่างเหินกัน การเกิด ครอบครัวเดี่ยวที่เอื้อให้เกิดความรุนแรงภายในครอบครัว ความอยู่ดีกินดีที่แฝงเร้นด้วยภัยด้านสุขภาวะ ภาพแทนความตายจำนวนมากที่ถูกผลิตซ้ำนี้นำไปสู่การตระหนักถึงการไร้ความหมายของชีวิต อหังการของมนุษย์เหนือธรรมชาติถูกทดสอบด้วยหายนะอย่างรุนแรง ดังกรณีความตายจากสึนามิในปี 2547 หายนะดังกล่าวได้พิสูจน์แล้วว่าการที่มนุษย์รุกล้ำธรรมชาติด้วยวิทยาการที่เจริญก้าวหน้าจะนำพาหายนะอย่างใหญ่หลวงมาสู่มนุษย์ นักเขียนได้แสดงให้เห็นถึงการขบคิดทบทวนต่อความรู้ วิทยาการ ระบบเหตุผล ตลอดจนศาสนาที่เป็นหนึ่งในระบบจำแนกแยกแยะมนุษย์ให้แตกต่างกัน เพื่อแสดงให้เห็นว่ามนุษย์ได้มุ่งพัฒนาตนเองให้ห่างไกลจากธรรมชาติและไม่ได้ ทำความเข้าใจธรรมชาติอย่างแท้จริง การนำเสนอภาพแทนการตายจากเรื่องสั้นสึนามิทำให้ตระหนักรู้ว่ามนุษย์คือส่วนหนึ่งของธรรมชาติและมีแต่มนุษย์ผู้เข้มแข็งเท่านั้นที่จะพาตนเองและเพื่อนมนุษย์ผ่านพ้นวิกฤตไปได้ ในมิติของการเมืองพบว่า การเมืองที่ปรากฏในเรื่องสั้นร่วมสมัยไม่ได้จำกัดเฉพาะการเมืองระดับมหภาค แต่เป็นการเมืองระดับย่อยที่ปัจเจกบุคคลมีบทบาทมากขึ้น ความตายที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ความรุนแรงในเหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคม 2553 หรือปัญหาสิทธิมนุษยชน เหล่านี้ล้วนแสดงถึงความล้มเหลวของรัฐในการคุ้มครองและให้ความปลอดภัยแก่ประชาชน อันนำไปสู่การขบคิดทบทวนต่อบทบาทของรัฐและความท้าทายต่อรัฐสมัยใหม่ | - |
dc.description.abstractalternative | This thesis aims to study the representation of death in contemporary Thai short stories, 2004 - 2013 in relation to the concepts of risk society and reflexive modernization in order to analyze the representation and meaning of death in the short stories relating to social changes and significant events in contemporary Thai society. The study shows that the representation of death in the short stories reflects the conditions of Thai society from 2004 to 2013, with its transformation into late modernity and encounter of various forms of risk resulting from advancement and modern lifestyle. Writers reflect on these social conditions through their representation of death, relating to three dimensions: capitalism and urbanism, death and man’s pride; and death and politics. In respect of capitalism and urbanism, the representation of death reveals that globalization has great impact on consumer society and individualization becomes the important process that instigates us to reflect on our life conditioned by capitalism and consumerism. The individual, especially a man who is the head of a family, realizes that pursuance of capitalist ideology cannot lead him to the happiness of life but confines and diminishes his freedom. In the urban aspect, the representation of death is reproduced to emphasize risks resulting from the estrangement of modern lifestyle, violence in nuclear family and health problems despite the accumulation of wealth. The representation of death that has been reproduced brings about the awareness of life meaninglessness. Man’s pride of conquering nature is tested by severe catastrophes, such as casualties in Tsunami that hit Thailand in 2004. This catastrophe proves that human encroachment on nature using knowledge and technology leads to disastrous failure. The writers show that knowledge, technology, rationality and religion drive apart human beings. This reflection aims to reveal they are driven far away from nature and do not really understand nature. The representation of death in the short stories about Tsunami makes human beings realize that they are only a part of nature and only the strongest can save themselves and their fellow humans through crises. Pertaining to politics, the study finds that the contemporary short stories do not deal only with macro-politics but also with sub-politics, where the individual plays a more significant role. Death in key political events, whether violence in Thailand's three Southern provinces, the 2010 Thai political turmoil, or human rights problems, are the manifestations of failure of the state to provide her subjects protection and safety, leading to the reflection on the problematic roles and challenges of modern state. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.753 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | การนำเสนอภาพแทนความตายในเรื่องสั้นไทยร่วมสมัยระหว่าง พ.ศ. 2547 - 2556 | - |
dc.title.alternative | REPRESENTING DEATH IN CONTEMPORARY THAI SHORT STORIES, 2004 - 2013 | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Suradech.C@Chula.ac.th,Suradech.C@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.753 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5480511222.pdf | 4.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.