Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58119
Title: | กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ |
Other Titles: | ELEMENTARY SCHOOL MANAGEMENT STRATEGIES ACCORDING TO THE CONCEPT OF ENHANCING STUDENTS' CREATIVE PROBLEM SOLVING ABILITY |
Authors: | นิพิฐพร โกมลกิติศักดิ์ |
Advisors: | นันทรัตน์ เจริญกุล พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Nuntarat.C@Chula.ac.th,Nuntarat.C@chula.ac.th Pruet.S@Chula.ac.th |
Subjects: | โรงเรียน -- การบริหาร การสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา School management and organization Creative ability Problem solving |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (3) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และ (4) พัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ใช้การวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยวิธีการศึกษาเอกสาร วิเคราะห์และสังเคราะห์กรอบแนวคิด จากนั้นเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ยกร่างกลยุทธ์ และจัดประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) กลุ่มตัวอย่างได้แก่โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 397 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนใน 4 หัวข้อ คือ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ นอกจากนี้ยังใช้แบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของกลยุทธ์ร่วมด้วย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การคำนวณค่าดัชนี PNIModified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่ามีจุดแข็งคือ การจัดการเรียนการสอน ส่วนจุดอ่อนคือ การพัฒนาหลักสูตร การวัดและประเมินผล การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ ปัจจัยภายนอกที่เป็นโอกาส ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจ ส่วนภาวะคุกคาม ได้แก่ นโยบายของรัฐบาล สภาพสังคม และสภาพเทคโนโลยี ซึ่งกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มี 4 กลยุทธ์หลัก 11 กลยุทธ์รอง โดยที่กลยุทธ์หลักที่ 1 คือ ปฺฏิรูปการวัดและประเมินผลความสามารถของนักเรียนในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ กลยุทธ์หลักที่ 2 ปรับปรุงหลักสูตรโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ กลยุทธ์หลักที่ 3 คือ ส่งเสริมการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และกลยุทธ์หลักที่ 4 คือ ยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนด้านความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ |
Other Abstract: | The research had 4 objectives:1) to investigate the conceptual framework of elementary school management strategies according to the concept of enhancing students' creative problem solving; 2) to explore the current and desirable status of elementary school management; 3) to examine the strengths, weaknesses, threats, and opportunities of secondary school management; and 4) to develop elementary school management strategies according to the concept of enhancing students' creative problem solving. A mixed method research was applied including a documentary analysis; an analysis and synthesis of concept; collecting data from the sample; drafting strategies; and conducting a focus group discussion. The sample comprised a total of 397 elementary schools under the Office of the Basic Education Commission. The research instruments comprised a concept evaluation form; a questionnaire on the current and desirable statuses; a questionnaire on the opinions about school management in 4 aspects of 1) curriculum development, 2) instructional management, 3) measurement and evaluation, and 4) development of learning material/media and sources; and an evaluation form for the propriety and feasibility of the strategies. The research employed statistical analysis of frequency, percentage, mean, standard deviation, PNImodified indices and content analysis. The findings revealed as follows. The strengths was instructional management. Weaknesses were curriculum development, measurement and evaluation as well as development of material/media and sources. Opportunities included external factors on economic situation. Threats covered government policies, social situation and technological situation. The elementary school management strategies comprised 4 main strategies and 11 sub-strategies: main strategy 1: reforming measurement and evaluation of students' creative problem solving ability; main strategy 2: improving school curriculum to enhance students' creative problem solving ability; main strategy 3: promoting the use of learning material/media and sources to enhance students' creative problem solving ability; main strategy 4: leveraging the quality of instructional management on students' creative problem solving ability. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58119 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1001 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1001 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5584465927.pdf | 11.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.