Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58120
Title: การพัฒนารูปแบบสภาพแวดล้อมเชิงสร้างสรรค์ออนไลน์ตามแนวคิดหุ้นส่วนภาคเอกชนที่เสริมสร้างพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมของครูปฐมวัย
Other Titles: DEVELOPMENT OF ONLINE INNOVATIVE CLIMATE MODEL BASED ON PRIVATE PARTNERSHIP TO ENHANCE INNOVATIVE BEHAVIOR OF KINDERGARTEN TEACHERS
Authors: พรรณพิลาศ เกิดวิชัย
Advisors: ธีรวดี ถังคบุตร
ใจทิพย์ ณ สงขลา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Theeravadee.T@Chula.ac.th,theeravadee@gmail.com
Jaitip.N@Chula.ac.th,jaitipn@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบสภาพแวดล้อมเชิงสร้างสรรค์ออนไลน์ตามแนวคิดหุ้นส่วนภาคเอกชนที่เสริมสร้างพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมของครูปฐมวัย เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความคิดเห็นของครูปฐมวัยจำนวน 398 คน และผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 9 คน เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมเชิงสร้างสรรค์ออนไลน์ แนวคิดหุ้นส่วนภาคเอกชนและพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมของครูปฐมวัย ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบฯ ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลของการใช้รูปแบบฯ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ และขั้นตอนที่ 4 นำเสนอรูปแบบฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เว็บไซต์และคู่มือแนวทางปฏิบัติตามรูปแบบฯ แบบประเมินพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรม แบบประเมินผลงานนวัตกรรมระดับปฐมวัย แบบบันทึกการทบทวนหลังปฏิบัติกิจกรรม (After Action Review: AAR) แบบบันทึกพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาผลของการใช้รูปแบบฯ ได้แก่ ครูปฐมวัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของรูปแบบฯ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) ทรัพยากร 2) เทคโนโลยี 3) สภาพแวดล้อมเชิงสร้างสรรค์ และ 4) ความเป็นเจ้าของผลงาน 2. ขั้นตอนของการรูปแบบฯ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม 2) ขั้นกำหนดเป้าหมาย 3) ขั้นสร้างสรรค์ผลงาน 4) ขั้นนำเสนอผลงาน และ 5) ขั้นประเมินผลและเผยแพร่ 3. กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมหลังการทดลอง สูงกว่าก่อน การทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิเคราะห์คะแนนประเมินผลงานนวัตกรรมของกลุ่มตัวอย่างพบว่า คะแนนเฉลี่ยรวมของผลงานที่กลุ่มตัวอย่างพัฒนาขึ้น อยู่ในระดับดี
Other Abstract: The purpose of this research were to develop the online innovative climate model based on private partnership to enhance innovative behavior of kindergarten teachers. The research and development (R&D) process was divided into four phases: 1) study the opinions of 398 kindergarten teachers and 9 school administrators towards online innovative climate, the role of private partnership and the innovative behavior of kindergarten teachers; 2) develop the model; 3) examine the effect of the model for six weeks and 4) propose the model. The instruments used in this research consisted of a website, an innovative behavior measurement, a product evaluation form, an after action review form, a behavior observation form and questionnaire and individual interview form. The sample used to examine the effect of the model were 10 kindergarten teachers under the Office of Basic Education Commission (OBEC). The data were analyzed by frequency distributions, percentage, mean, standard deviation, t-test dependent and t-test independent. The research findings indicated that: 1. The four components of the model were: 1) resource; 2) technology; 3) innovative climate and 4) authorship. 2. The five steps of the model were: 1) preparing activities; 2) setting directions; 3) creating product; 4) presenting product and 5) evaluating and publishing. 3. The samples’ innovative behavior posttest scores were significantly higher than the pretest scores at .05 level. The instructional innovations developed by the samples were evaluated at a good level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58120
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.47
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.47
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584473927.pdf10.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.