Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58125
Title: การปรับเทียบพารามิเตอร์สำหรับการออกแบบแลนไร้สายให้ครอบคลุมภายในอาคาร
Other Titles: Parameter calibration for designing wireless LAN for indoor coverage area
Authors: พัชญา บรรจงดวง
Advisors: เชาวน์ดิศ อัศวกุล
ภัทรชาติ โกมลกิติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chaodit.A@Chula.ac.th,chaodit.b@gmail.com,chaodit.a@chula.ac.th
patrachatkml@au.edu
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อหาค่าพารามิเตอร์จากแบบจำลองการสูญเสียสัญญาณภายในอาคารโดยพิจารณาการลดทอนสัญญาณในผนัง ค่าพารามิเตอร์ที่สนใจรวมถึงค่าการสูญเสียสัญญาณที่ระยะมาตรฐาน 1 เมตรจากตัวส่ง, ค่าเลขชี้กำลังการสูญเสีย และค่าการลดทอนที่เกิดจากผนัง กรณีศึกษาที่เลือกพิจารณาในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ใช้สถานการณ์จริงของการติดตั้งแลนไร้สายภายในอาคารที่ความถี่ 2.4 และ 5.3 GHz โดยอาศัยข้อมูลการวัดค่ากำลังสัญญาณรับจากเครื่องส่งสัญญาณมาวิเคราะห์หาความถดถอยเชิงเส้นเพื่อปรับเทียบกับแบบจำลองและเปรียบเทียบใน 2 กรณี ได้แก่ กรณีแบบจำลองที่พิจารณาและที่ไม่พิจารณาการลดทอนสัญญาณจากผนังที่กั้นระหว่างเครื่องส่งและรับสัญญาณ ผลการทดสอบพบว่าในกรณีแรกให้ค่าเลขชี้กำลังการสูญเสียในช่วง 1.8–2.0 ซึ่งใกล้เคียงกับค่าที่ควรจะเป็นมากกว่าในกรณีหลังซึ่งอยู่ช่วง 2.7–4.5 ทั้งนี้เมื่อเทียบกับค่าเลขชี้กำลังการสูญเสีย 2.0 ในการแพร่กระจายคลื่นโดยไม่มีสิ่งกีดขวาง สุดท้าย ค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ของแบบจำลองได้ถูกนำมาใช้ในการทดลองออกแบบจำนวนขั้นต่ำ และจุดติดตั้งจุดเข้าถึงไร้สายภายในอาคารวิศวฯ 100 ปี ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิธีการออกแบบได้เลือกใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งได้ใช้งานอยู่แล้วโดยสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเพื่อออกแบบแลนไร้สายต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ผลการทดสอบพบว่าหากไม่พิจารณาอย่างเหมาะสมสำหรับค่าพารามิเตอร์แบบจำลองการสูญเสียสัญญาณภายในอาคาร ได้แก่ การสูญเสียกำลังสัญญาณในผนัง แล้วจะส่งผลให้ค่าการออกแบบการติดตั้งจุดเข้าถึงไร้สายในอาคารมีความผิดพลาดอย่างมาก ผลการทดลองต่าง ๆ ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงช่วยยืนยันความจำเป็นที่ต้องมีการพิจารณาผังอาคารภายในโดยพิจารณาผนังต่างๆ เพื่อความถูกต้องในการคำนวณแบบการติดตั้งโครงข่ายแลนไร้สายภายในอาคารต่อไปในอนาคต
Other Abstract: This research is aimed at finding the parameter values for the indoor signal propagation loss model considering the signal power degradation through walls. The parameters include the signal power loss at 1 meter distance from the transmitter, the loss exponent value and the wall penetration loss. The study cases in this thesis are based on the actual indoor wireless LAN installation scenarios at 2.4 and 5.3 GHz. Measurements of received signal power from the signal transmitter have been conducted and the linear regression analysis has been used for the model calibration with 2 comparative cases that does or does not consider the wall penetration loss. The test results suggest that, in the former case, the loss exponent value is ranged from 1.8-2.0, which is more reasonable than the obtainable range from 2.7-4.5 for the latter case. This is notably in comparison with the loss exponent of 2.0 for the free-space signal propagation without obstacles. Finally, these parameter values of the model have been used in the experimental design to find the minimum number and installation locations of the wireless access points for the 100th Engineering building of Chulalongkorn University. The design method has utilized the off-the-shelf software already employed at the university’s office of information technology in designing the university’s wireless LANs. The test results suggest that, if one does not consider properly the indoor signal loss model parameters i.e. the wall penetration loss, then the final design of indoor wireless access point installation can become much erroneous. Therefore, the experimental results in this thesis confirm the need of the indoor floor plan with walls being properly considered for the accuracy of indoor wireless LAN design practices in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58125
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.950
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.950
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670299821.pdf2.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.