Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58140
Title: พัฒนาการของพื้นที่ย่านตลาดน้ำบางพลี
Other Titles: DEVELOPMENT OF BANG PLI FLOATING MARKET AREA
Authors: จิรเดช วงศ์วิสิฐศักดิ์
Advisors: ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Khaisri.P@Chula.ac.th,Khaisri.P@Chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพัฒนาการของพื้นที่ย่านตลาดน้ำบางพลี ทั้งในด้านการเปลี่ยนแปลงในเชิง สัณฐานพื้นที่ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และเศรษฐกิจ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงเงื่อนไขของการคงอยู่ของการเป็นพื้นที่ย่านทางสังคมที่มีชีวิตชีวาในปัจจุบัน โดยงานวิจัยนี้ใช้ทฤษฎีสัณฐานศูนย์กลางเมือง (theory of spatial centrality) (Hillier,1999) ในการอธิบายถึงพัฒนาการของพื้นที่ย่านตลาดน้ำบางพลีในอดีต และพัฒนาการในเวลาต่อมา รวมไปถึงแนวคิดเรื่องพื้นที่ทางสังคมที่มีชีวิต ที่ใช้อธิบายถึงลักษณะของการเป็นพื้นที่ทางสังคมที่มีชีวิตของพื้นที่ย่านตลาดน้ำบางพลีในปัจจุบัน การวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ 1.) ศึกษาถึงพัฒนาการการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ย่านตลาดน้ำบางพลีในช่วงเวลาต่างๆ ในภาพรวมของพื้นที่ย่าน จากการวิเคราะห์บทความ และการทบทวนวรรณกรรม การเปรียบเทียบแบบจำลองโครงสร้างเชิงสัณฐาน การลงสำรวจพื้นที่ เป็นต้น และ 2.) ศึกษาถึงการคงอยู่ของการเป็นพื้นที่ทางสังคมที่ดีและมีชีวิตชีวา จากการลงสำรวจพื้นที่ การบันทึกภาพกิจกรรมภายในพื้นที่ย่าน และการบันทึกอัตราการสัญจรผ่าน และนำมาสรุปถึงพัฒนาการการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ย่านตลาดน้ำบางพลี ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ย่านตลาดน้ำบางพลีแต่เดิมมีลักษณะเป็นพื้นที่ศูนย์กลางของย่านที่มีชีวิตชีวา จากลักษณะของตำแหน่งที่ตั้งที่มีความเหมาะสม กล่าวคือตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความเชื่อมโยงของโครงข่ายคูคลองที่ดี จึงเป็นพื้นที่ที่เข้าถึงได้ง่ายเหนี่ยวนำให้ชาวย่านเข้ามาใช้งานในบริเวณพื้นที่ ต่อมาการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบทางสัญจรจากทางน้ำ เป็นทางบกทำให้พื้นที่ย่านตลาดน้ำบางพลีกลายเป็นพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยาก เนื่องจากระบบโครงข่ายถนนยังให้บริการไม่ครอบคลุม พื้นที่ย่านตลาดน้ำบางพลีจึงเกิดความซบเซา และพัฒนาการในช่วงปัจจุบันพบว่าในปัจจุบันพื้นที่ย่านตลาดน้ำบางพลีมีลักษณะเป็นพื้นที่ย่านทางสังคมที่มีชีวิต จากการตัดถนนที่มีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้นที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่ ประกอบกับในองค์ประกอบต่างๆ ในบริเวณพื้นที่ย่านมีความเหมาะสมต่อการใช้งาน เช่น เป็นที่ตั้งของอาคารราชการหลายแห่ง เป็นย่านการศึกษาของชุมชนในละแวกย่าน เป็นที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง ที่ดึงดูดให้ทั้งคนภายใน และคนภายนอกเข้ามาใช้งานพื้นที่ในปัจจุบัน
Other Abstract: This research study investigated development of Bangpli floating market. That related spatial configuration and socio-economic characteristics. The researcher took into consideration the spatial configuration and socio-economic characteristics of the area from the past to the present. This included the condition and factors that made Bangpli floating market area to good social space in present. The research is divided into two part : Part I concentrates on the processes of changing of Bangpre floating market Area on each period of time from reviewing of old article or journal paper , comparing of morphology and Surveying on local area. Part II Researching on remaining good and lively area for living by surveying and recording the local activity, lifestyle and traffic rate. All data will be conclude to development of Bangpli floating market. The research has revealed that suitable location is the key that affects the origin of a Bangpli floating market Area. An advantageous spatial configuration must have high accessibility, in the past waterway transport was important. Later road construction made a change to the transportation style. Bangpli floating market area change to low accessibility and decay area. Today Bangpli floating market is a lively social space. because of the increased road connection enhances area accessibility and the location of area near the attractor space such as government building,community mall and Famous attractions. That cause visitors to the Bangpli floating market area.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58140
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.212
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.212
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5673306025.pdf16.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.