Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58159
Title: ความสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อความมั่นคงทางพลังงานของจีน ในศตวรรษที่ 21
Other Titles: THE SIGNIFINICANCE OF SOUTHEAST ASIA FOR CHINA’S ENERGY SECURITY IN THE 21st CENTURY
Authors: ธัชพงศ์ เภกะสุต
Advisors: ปราณี ทิพย์รัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: pranee.t@chula.ac.th,pranee.th@chula.ac.th
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาความสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อความมั่นคงทางพลังงานของจีน ในศตวรรษที่ 21 ผ่านกรอบแนวคิดภูมิรัฐศาสตร์ โดยมีสมมติฐานว่าเพื่อแก้ปัญหาในการเข้าถึงแหล่งพลังงานและความไม่มีเสถียรภาพของเส้นทางการลำเลียงพลังงานของจีน ส่งผลให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการสร้างความมั่นคงทางพลังงานของจีน เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรพลังงาน และความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ที่ส่งผลต่อเส้นทางการลำเลียงพลังงาน จากการศึกษาพบว่า ความสำคัญที่เพิ่มมากขึ้นของความมั่นคงทางพลังงานทั้งในการเข้าถึงแหล่งพลังงานที่เพียงพอต่อความต้องการ และการมีเสถียรภาพของเส้นทางการลำเลียงพลังงาน ส่งผลให้จีนเลือกที่จะดำเนินยุทธศาสตร์ที่หลากหลายในการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ซึ่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่จีนให้ความสนใจ เนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งพลังงาน อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมความสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการเป็นแหล่งพลังงานของจีน ดูจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ในแง่ปริมาณความต้องการในการบริโภคพลังงานภายในของจีน และนโยบายการบริโภคถ่านหินที่เปลี่ยนแปลงไป ขณะที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เผชิญปัญหาเดียวกัน อันได้แก่ การบริโภคพลังงานที่เพิ่มขึ้น การลดลงของปริมาณพลังงาน อันเป็นผลจาก ปัญหาในการสำรวจและการพัฒนาพลังงานจากความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ การโหมผลิตพลังงานเพื่อการส่งออก ในขณะที่บทบาทที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีส่วนสำคัญต่อจีน ก็คือ การสร้างเสถียรภาพของเส้นทางการลำเลียงพลังงาน เพราะมีความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ 2 ประการ คือ ประการแรก การตั้งอยู่บนเส้นทางการลำเลียงพลังงานของจีน 2 เส้นทางคือ เส้นทางที่ขนส่งพลังงานมาจากละตินอเมริกา ตะวันออกกลาง ผ่านทางช่องแคบมะละกา ทะเลจีนใต้ เข้าสู่จีนทางด้านตะวันออก และเส้นทางที่ขนส่งพลังงานมาจากออสเตรเลียผ่านทางช่องแคบลอมบอก และเข้าสู่จีนเหมือนเส้นทางแรก ประการที่สอง ความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ระหว่างจีนกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะช่วยให้จีนมีทางออกทางทะเล นอกเหนือจากทางฝั่งตะวันออก ผ่านทางความร่วมมือการสร้างความเชื่อมโยงทางด้านคมนาคมต่อกัน และการเข้าไปตั้งฐานทัพเรือในประเทศต่างๆ เพื่อป้องกันภัยคุกคามที่จะส่งผลกระทบต่อการลำเลียงพลังงาน อาทิ โครงการความร่วมมือต่างๆ ในเมียนม่าร์ และความร่วมมือในการเชื่อมถนน ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ฯลฯ
Other Abstract: The purpose of the study is to examine the importance of Southeast Asian region for China’s energy security in 21st century. The concept of geo-politics is applied as a theoretical framework to analyse the strategic values of Southeast Asian region primarily as a source for energy supplies to Chinese increasing demand for energy, but more importantly, as a safeguard for transportation and logistic routes of energy from other regions to the east coast and Western territories of China. In order to have access to energy from various sources around the world which would serve the increasing demand for energy consumption in China as a result of domestic economic reform since early 1990s, this study argues that Southeast Asian region is an ideal target for two reasons. First, the regions is blessed with the abundance of energy resources including oil, natural gas and coal. Second, Southeast Asia locates between two oceans with Malacca Strait as their control line of sea transportation. However, as Southeast Asia countries also increasingly consumed more energy, the amount to export is declining. Hence, the finding of this study shows that China’s policy of increased engagement with Southeast Asian countries both at bilateral and multilateral levels through ASEAN and subregional cooperation has perfectly served as insurance for the energy security of China’s in the 21st Century.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58159
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.286
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.286
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5680607024.pdf2.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.