Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58169
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดกระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มร่วมกับแนวคิด Magic If เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์และการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: DEVELOPMENT OF HISTORY INSTRUCTION BASED ON GROUP INVESTIGATION AND MAGIC IF APPROACHES TO PROMOTE HISTORICAL THINKING SKILLS AND HISTORICAL EMPATHY OF UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENTS
Authors: ศุภณัฐ พานา
Advisors: ยศวีร์ สายฟ้า
วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Yotsawee.Sa@chula.ac.th,yotsawee.s@gmail.com
Walai.P@chula.ac.th
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ที่พัฒนาตามแนวคิดกระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มร่วมกับแนวคิด Magic If เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์และการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยเป็นการวิจัยและพัฒนา มีระยะเวลาในการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน 15 สัปดาห์ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามแนวคิดกระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มร่วมกับแนวคิด Magic If และระยะการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนประกอบด้วย แบบทดสอบทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์และแบบทดสอบการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดกระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มร่วมกับแนวคิด Magic If ประกอบด้วย หลักการของรูปแบบการเรียนการสอน แนวทางในการจัดการเรียนการสอน การเตรียมการสอน และขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "TIMER" ได้แก่ (1) ขั้นการสนทนาเกี่ยวกับประเด็นทางประวัติศาสตร์ (Talk about historical issue) (2) ขั้นการจินตนาการเกี่ยวกับอดีต (Imagine about the past) (3) ขั้นการจัดการกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ (Manage evidence) (4) ขั้นการสำรวจผ่านกาลเวลา (Exploration through time) และ (5) ขั้นการสะท้อนถึงอดีต (Refection to the past) ตลอดจนการวัดและประเมินผล 2. นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนนี้มีทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์และการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีการเปลี่ยนแปลงของทักษะการคิดทางประวัติศาสตร์และการรับรู้ความรู้สึกทางประวัติศาสตร์ไปในทางที่ดีขึ้น
Other Abstract: This research study aimed to develop and study the effectiveness of history instruction to promote historical thinking skills and historical empathy of upper secondary school students based on Group Investigation and Magic If approaches. This is a research and development whose the demonstration in instructional process lasted for 15 weeks. The research procedure was divided into 2 phrases, phrase one was to develop a history instruction based on Group Investigation and Magic If approaches and phrase two was to experiment the developed instructional process. The target group composed of 31 secondary school students in Matayom 5. The data collection tools which aimed for evaluating the effectiveness of an instructional process include of performance test in historical thinking skills and performance test in historical empathy. The result of the research could be summarized as follows; 1. a history instruction based on group investigation and magic if approaches consisted of Principle, Guidelines, Preparation, Teaching procedure 5 steps that called “TIMER” which are (1) Talk about historical issue, (2) Imagination about the past, (3) Manage evidence, (4) Exploration through time, and (5) Refection to the past, along with Measurement and Evaluation 2. Students with this instructional method had historical thinking and historical empathy. The post-test demonstrated higher result than pre-test at .05 significance and had a change of historical thinking skills and historical empathy better.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58169
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1596
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1596
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684233727.pdf8.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.