Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58203
Title: การเปรียบเทียบความสามารถของแบบจำลองคณิตศาสตร์ในการวิเคราะห์รูปแบบการปลดปล่อยยาของยาแบบควบคุมการปลดปล่อย
Other Titles: COMPARISON OF ABILITY OF MATHEMATICAL MODELS IN ANALYSING THE DRUG RELEASE PATTERN OF CONTROLLED RELEASE DRUG
Authors: ศศิพิมพ์ สาระธนะ
Advisors: วรัญ แต้ไพสิฐพงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Varun.T@Chula.ac.th,Varun.t@chula.ac.th
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การพัฒนายาแบบควบคุมการปลดปล่อย (controlled – release drug) ให้มีรูปแบบการละลายที่เหมาะสม ต้องนำข้อมูลการทดลองการละลายมาฟิตกับสมการแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ งานวิจัยนี้ได้นำเสนอการปรับปรุงแบบจำลอง 5 แบบ ได้แก่ สมการจลศาสตร์อันดับศูนย์ (Zero Order) สมการจลศาสตร์อันดับหนึ่ง (First Order) สมการฮิกซอล – คลอเวล (Hixson – Crowell) สมการฮิกูชิ (Higuchi) และสมการคอสเมเยอร์ – เพบพาส (Korsmeyer - Peppas) ให้มีรูปแบบและตัวแปรที่สม่ำเสมอและสอดคล้องกัน และได้นำสมการทั้ง 5 แบบไปฟิตข้อมูลการละลายของยา 3 ชนิดได้แก่ ยาไดโคลฟีแนคโซเดียม (Diclofenac sodium) ยาโซเดียมวาลโปรเอท (Sodium valproate) และยาดิลไทอะเซมไฮโดรคลอไรด์ (Diltiazem HCl) พบว่าควรแบ่งข้อมูลการละลายออกเป็นช่วง ๆ ให้สอดคล้องกับสภาวะของการทำละลาย คือ ช่วงที่ 1 วิเคราะห์ผลการทดลองตั้งแต่เวลาที่ 0 – 2 ชั่วโมง ที่มีการทดสอบการละลายในสารละลายส่วนกลางที่เป็นกรด pH 1.2 (จำลองเสมือนการละลายของยาในกระเพาะอาหาร) และช่วงที่ 2 วิเคราะห์ผลการทดลองตั้งแต่เวลาที่ 2 ชั่วโมง จนกระทั่งตัวยาสำคัญละลายหมด ซึ่งมีการทดสอบการละลายในสารละลายส่วนกลางที่เป็นฟอสเฟส บัพเฟอร์ pH 6.8 (จำลองเสมือนการละลายของยาในลำไส้) เพื่อให้เห็นรูปแบบการละลายของยาในแต่ละช่วงที่ชัดเจนกว่าการวิเคราะห์ผลการทดลอง ตั้งแต่เวลาที่ 0 ชั่วโมง จนกระทั่งตัวยาสำคัญละลายหมด และยังช่วยให้เห็นผลของสารเติมแต่งต่อรูปแบบการปลดปล่อยยาที่ชัดเจนมากขึ้น
Other Abstract: The development of the controlled-release drug to have a suitable release pattern needs the fitting of the experimental dissolution data with the mathematical model. This worked adjusted 5 different models, namely, Zero Order, First Order, Hixson-Crowell, Higuchi, and Korsmeyer-Peppas, to have the consistent format and variables. These 5 models had been fitted to the dissolution data of 3 different drugs: Diclofenac sodium, Sodium valproate, and Diltiazem HCl. It was found that the dissolution data should be divided into 2 different parts according to the dissolution conditions. The first part was to analyze the data from 0 – 2 hr where the dissolution was carried out in the dissolution medium with pH 1.2 (to simulate the drug dissolution condition in the stomach). The second part was to analyze the data from 2 hr till complete dissolution where the dissolution was carried out in the phosphate buffer dissolution medium with pH 6.8 (to simulate the drug dissolution condition in the intestine). This 2-part analysis gave a better understanding of the drug release pattern for each condition than the analysis of the whole data from 0 hr till complete dissolution. The analysis also gave a better understanding of the effects of excipient on the drug release pattern.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58203
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1306
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1306
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770307221.pdf13.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.