Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58287
Title: การพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
Other Titles: THE DEVELOPMENT OF DESIRABLE CHARACTERISTICS SCALE OF LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS BASED ON BASIC EDUCATION CORE CURRICULUM B.E. 2008
Authors: ชนนิกานต์ สุขใจ
Advisors: วรรณี แกมเกตุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Wannee.K@Chula.ac.th,wannee.k@gmail.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวัดทางจิตวิทยาเป็นการวัดในสิ่งที่เป็นนามธรรมในตัวบุคคล ดังนั้นการได้มาซึ่งสารสนเทศที่ตรงตามสิ่งที่มุ่งวัดหรือมีคุณภาพนั้นต้องอาศัยเครื่องมือที่เหมาะสม โดยส่วนใหญ่เครื่องมือวัดทางจิตวิทยาจะมีข้อจำกัดด้านความยาวที่มากเกินไปซึ่งส่งผลต่อการตอบของผู้ตอบ เช่นเดียวกับแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่ผู้วิจัยสนใจศึกษา มักไม่ถูกนำไปใช้วัดตามวัตถุประสงค์ด้วยข้อคำถามที่มากซึ่งไม่สะดวกต่อการวัด งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการสร้างและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ทั้งแบบวัดฉบับยาวและแบบวัดฉบับสั้น พร้อมทั้งตรวจสอบและเปรียบเทียบคุณภาพด้านความเที่ยงและความตรงของแบบวัดฉบับยาวกับแบบวัดฉบับสั้น โดยศึกษาในตัวอย่างวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 711 คน ด้วยแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ชนิดสถานการณ์ 4 ตัวเลือกที่สร้างขึ้นและให้เป็นแบบวัดฉบับยาว จากนั้นทำการคัดเลือกข้อคำถามจากแบบวัดฉบับยาวเข้าสู่แบบวัดฉบับสั้น ด้วยการพิจารณาคัดเลือกข้อคำถามจากค่าอำนาจจำแนกแบบสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนรวม (corrected item-total correlation) หรืออำนาจจำแนกจากการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนของกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำด้วยสถิติทดสอบที (t-test) และค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (factor loading) จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และเปรียบเทียบคุณภาพของแบบวัดทั้งสองฉบับในด้านความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในรายคุณลักษณะและความตรงเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1. การพัฒนาแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ได้แบบวัดที่มุ่งวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ตามทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก มีลักษณะเป็นแบบวัดชนิดสถานการณ์ 4 ตัวเลือก โดยแบบวัดฉบับยาวมีข้อคำถามจำนวน 95 ข้อ และแบบวัดฉบับสั้นมีข้อคำถามจำนวน 56 ข้อ ทั้งแบบวัดฉบับยาวและแบบวัดฉบับสั้นนั้นมีคุณภาพด้านความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน มีค่าตั้งแต่ 0.524 - 0.828 และมีความตรงเชิงโครงสร้างโดยพิจารณาจากความสอดคล้องของโมเดลการวัดกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ มีค่าตั้งแต่ 0.21 – 2.03, GFI มีค่าตั้งแต่ 0.98 - 1.00, AGFI มีค่าตั้งแต่ 0.97 – 1.00, RMR มีค่าตั้งแต่ 0.008 – 0.036) 2. การเปรียบเทียบคุณภาพระหว่างแบบวัดฉบับยาวกับแบบวัดฉบับสั้น คุณภาพด้านความเที่ยงพบว่า แบบวัดฉบับยาวมีความเที่ยงสูงกว่าแบบวัดฉบับสั้น และคุณภาพด้านความตรงเชิงโครงสร้างพบว่าโมเดลการวัดของแบบวัดฉบับสั้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มากกว่าโมเดลการวัดของแบบวัดฉบับยาว สรุปได้ว่าทั้งแบบวัดฉบับยาวและแบบวัดฉบับสั้นมีคุณภาพเหมาะสมในการนำไปใช้วัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การนำแบบวัดฉบับสั้นไปใช้สามารถลดเวลาการตอบลงได้อย่างน้อย 20 นาที แต่หากสนใจวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามขอบเขตของทุกพฤติกรรมบ่งชี้ ควรเลือกใช้แบบวัดฉบับยาวในการวัด
Other Abstract: Psychological assessment is the assessment of abstract traits. The quality information is investigated from the valid measure. Psychological measure have mainly long that effect to the response rate. Like the desirable characteristic scale interested that isn’t used based on the objective of the scale in order to the number of the items. The objective of this research were: 1) to develop and evaluate a desirable characteristic scale for lower secondary school student in long form and short form. 2) to evaluate and compare the psychometric properties of both. Samples were 711 grade 8 secondary school student in Lopburi. The measure was a desirable characteristic scale that was called long form. The method to select an item to short form is decision on the value of corrected item-total correlation, the value from t-test, and factor loading investigated from the result of confirmatory factor analysis (CFA). The research findings were as follows: 1. The results after developing are long form, 95 items and short form, 56 items. These four choices situational tests were used to evaluate eight desirable characteristics following Kohlberg’s moral development theory. Both scale were a decision of reliability range from 0.524 to 0.828. The construct validity that observed from the measurement model fit quite well with the empirical data set. Both scale were a contruct validity in a good ranged (chi-square/df range from 0.21 – 2.03, GFI range from 0.98 - 1.00, AGFI range from 0.97 – 1.00, RMR range from 0.008 – 0.036). 2. The comparison between short form and long form, long form reliability is higher than short form and construct validity in short form model is more related to the empirical data than long form model. According to the result of both scale those could be a valid scale to evaluate the desirable characteristics of student. In context of use it can reduce the time to response 20 minutes at least. But if the details of interested trait was evaluated, the long form could be choose.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58287
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.200
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.200
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5783814227.pdf10.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.