Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58323
Title: | พฤติกรรมของรอยต่อคอนกรีตสำเร็จรูปเสริมเส้นใยสมรรถนะสูงมาก |
Other Titles: | Behavior of Precast Ultra High Performance Fiber Reinforced Concrete Joints |
Authors: | อติชน คุณาวิศรุต |
Advisors: | พิชชา จองวิวัฒสกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pitcha.J@chula.ac.th,p.jongvivatsakul@gmail.com |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้นำเสนอพฤติกรรมของรอยต่อคอนกรีตเสริมเส้นใยสมรรถนะสูงมาก ที่ต่อระหว่างชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเส้นใยสมรรถนะสูงมากสำเร็จรูปภายใต้แรงดัดและแรงเฉือน โดยในการศึกษาเริ่มต้นจากการวิเคราะห์กำลังของรอยต่อตามระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ เพื่อหารูปแบบของรอยต่อที่มีกำลังการรับแรงดัดสูงที่สุด จากผลการวิเคราะห์พบว่ารอยต่อจะมีกำลังรับแรงดัดสูงเมื่ออัตราส่วนความลึกต่อความกว้างของสลักรับแรงเฉือนมีค่าเท่ากับ 1:1 จากนั้นนำรูปแบบของรอยต่อนี้ ไปศึกษาพฤติกรรมของรอยต่อคอนกรีตเสริมเส้นใยสมรรถนะสูงมากภายใต้แรงดัดและแรงเฉือน โดยได้ทดสอบตัวอย่างภายใต้แรงดัด จำนวน 7 ตัวอย่าง เพื่อศึกษาผลของความลึกรอยต่อ ระดับการอัดแรง จำนวนสลักรับแรงเฉือน และผลจากเหล็กเดือย อีกทั้งได้ทดสอบตัวอย่างภายใต้แรงเฉือน จำนวน 8 ตัวอย่าง เพื่อศึกษาผลของความลึกรอยต่อ ระดับการอัดแรง จำนวนสลักรับแรงเฉือน ผลจากเหล็กเดือยและขนาดเหล็กเดือย ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ากำลังรับแรงดัดของรอยต่อคอนกรีตเสริมเส้นใยสมรรถนะสูงมากเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญเมื่อความลึกของรอยต่อมากขึ้น และค่าการอัดแรงสูงขึ้น การอัดแรงยังสามารถเปลี่ยนรูปแบบความเสียหายจากการวิบัติแบบฉับพลัน เป็นการวิบัติแบบเหนียว นอกจากนี้การอัดแรงและการเพิ่มความลึกของรอยต่อยังเพิ่มค่าคงตัวอีกด้วย แต่เมื่อพิจารณาอิทธิพลของจำนวนสลักรับแรงเฉือนพบว่า เมื่อเพิ่มจำนวนสลักรับแรงเฉือนจะมีผลต่อกำลังรับแรงของรอยต่อภายใต้แรงดัด แต่ไม่มีผลต่อความคงตัว นอกจากนี้การใส่เหล็กเดือยในรอยต่อสามารถเพิ่มกำลังการรับแรงได้และยังเพิ่มความคงตัวด้วย จากผลการศึกษากำลังรับแรงเฉือนของรอยต่อคอนกรีตเสริมเส้นใยสมรรถนะสูงมากพบว่า การเพิ่มการอัดแรงและอิทธิพลของเหล็กเดือยมีผลต่อกำลังรับแรงเฉือนของรอยต่อคอนกรีตเสริมเส้นใยสมรรถนะสูงมาก มากกว่าการเพิ่มจำนวนสลักรับแรงเฉือนหรือการเพิ่มความลึกของรอยต่อ เนื่องจากผลจากการอัดแรงและเหล็กเดือยนั้นสามารถเพิ่มพฤติกรรมของแรงเฉือนเสียดทานในรอยต่อ |
Other Abstract: | This research presents the flexural and shear behavior of Ultra-High Performance Fiber Reinforced Concrete (UHPFRC) joints which connect between UHPFRC precast segments. Firstly, the effect of joint shape on the load capacity of precast UHPFRC joints was examined using finite element analysis. The result of finite element analysis shows that the joint capacity was the highest when the width to depth ratio equals to 1:1. Therefore, this shape has been used to study the behavior of UHPFRC joints. Seven specimens were tested under flexure to investigate the effect of depth, pre-stressing level, number of shear key and presence of dowel on the joint behavior. The experimental program for shear behavior consists of eight specimens. The parameters are depth, pre-stressing level, number of shear key, presence of dowel and diameter of dowel. The results show that the flexural capacity of UHPFRC joints significantly increased with the increase in depth and pre-stressing level. Increasing of depth and pre-stress level improved the stiffness of joints. Moreover, when pre-stressing force was applied, mode of failure was changed from brittle to ductility behavior. Flexural capacity was also enhanced when number of shear key increased but there was no effect on stiffness. In addition, dowel bar increased both of capacity and stiffness of joint. The improvement of shear capacity of UHPFRC joints due to dowel bar and pre-stressing force was more than the improvement due to the number of shear key and depth. It is because dowel bar and pre-stressing force have camping force or compression force to increase the shear friction behavior. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58323 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.921 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.921 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5870313021.pdf | 10.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.