Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58365
Title: พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมที่พัฒนาโดยนักพัฒนาศูนย์การค้ากรณีศึกษา โครงการ เอสเซ็นท์คอนโดมิเนียม จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดขอนแก่น และ จังหวัดระยอง
Other Titles: DECISION BEHAVIOR TO PURCHASE A CONDOMINIUM DEVELOPED BY SHOPPING CENTER DEVELOPER, CASE STUDIES OF ESCENT CONDOMINIUM IN CHIANG MAI, KHON KAEN AND RAYONG PROVINCES
Authors: จันทนี ประเทืองนพคุณ
Advisors: บุษรา โพวาทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Bussara.S@Chula.ac.th,sara_sripanich@yahoo.com
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พฤติกรรมการอยู่อาศัยในเมืองใหญ่บางแห่งตามภูมิภาคของประเทศไทยกำลังมีการเปลี่ยนแปลง จากการอยู่อาศัยในอาคารแนวราบไปสู่อาคารแนวสูง โดยเฉพาะการอยู่ในคอนโดมิเนียมที่มีทำเลใกล้สาธารณูปโภคสาธารณูปการหรือใกล้ย่านการค้าของเมือง งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดระยอง ซึ่งเป็นจังหวัดในหัวเมืองที่สำคัญ โดยเลือกศึกษากรณีโครงการเอสเซ็นท์ คอนโดมิเนียม ซึ่งพัฒนาโดยนักพัฒนาศูนย์การค้า (Shopping Center Developer) โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้ซื้อที่อยู่ในขั้นตอนการทำสัญญาซื้อขาย ณ ปี 2559 โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิจากแบบสอบถามจำนวน 1,227 ชุด ซึ่งจัดทำและเก็บรวบรวมโดย บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา ขั้นตอนที่ 2 สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างตามพฤติกรรมการซื้อ 3 แบบ ซึ่งเป็นข้อมูลที่วิเคราะห์จากขั้นตอนที่ 1 ศึกษาจำนวน 30 คนต่อ 1 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 90 คน และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติร่วมกับการพรรณนา ผลการศึกษาในขั้นตอนที่ 1 พบว่า 1) ผู้ซื้อส่วนใหญ่ร้อยละ 38.7 มีอายุระหว่าง 36-45 ปี มีสถานภาพสมรส ผู้ซื้อในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดขอนแก่นเป็นเจ้าของกิจการมากกว่าร้อยละ 50 มีรายได้ครัวเรือน 500,001 บาทขึ้นไป ขณะที่ผู้ซื้อในจังหวัดระยองส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทมีรายได้ครัวเรือน 50,001-100,000 บาท 2) วัตถุประสงค์การซื้อคอนโดมิเนียม ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.27 ซื้อเพื่อเก็บไว้เป็นทรัพย์สิน รองลงมาคือซื้อเพื่ออยู่อาศัยเอง ร้อยละ 26.48 และซื้อเพื่อเก็งกำไร ร้อยละ 5.25 และผู้ซื้อส่วนใหญ่ ร้อยละ 69.1 มีภูมิลำเนาในจังหวัดที่ซื้อโครงการ โดยเป็นผู้ซื้อที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดกรุงเทพฯถึงร้อยละ 10.6 และที่เหลือมาจากจังหวัดอื่น 3) ในการสัมภาษณ์ในขั้นตอนที่ 2 พบว่า ผู้ซื้อส่วนใหญ่ ตัดสินใจซื้อโครงการจากภาพรวมโครงการที่มีความลงตัวสวยงาม และส่วนใหญ่เลือกซื้อห้องที่มีขนาด 31-35 ตร.ม. ยกเว้นผู้ซื้อเพื่อเก็งกำไรจังหวัดขอนแก่นและระยองที่เลือกซื้อห้องขนาดน้อยกว่า 25 ตร.ม. ราคา 1.5-1.99 ล้านบาท ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อ คือ โครงการมีทำเลที่ตั้งใกล้ศูนย์การค้า รองลงมาคือปัจจัยด้านผู้ประกอบการ 4) ผู้ซื้อทั้ง 3 จังหวัดมีความคาดหวังต่อคอนโดมิเนียมที่อยู่ใกล้ศูนย์การค้าว่าจะทำให้ได้รับความสะดวกสบาย และสร้างมูลค่าเพิ่มกับโครงการ ทั้งยังคาดหวังในเรื่องสิทธิพิเศษและสิทธิประโยชน์ เช่น ที่จอดรถพิเศษ ส่วนลดต่างๆ จากผู้ประกอบการซึ่งในอีกฐานะหนึ่งคือเป็นผู้ที่พัฒนาศูนย์การค้าอีกด้วย ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการซื้อคอนโดมิเนียมในหัวเมืองต่างจังหวัด ที่ไม่เพียงซื้อเป็นที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่มีการซื้อเพื่อเก็บไว้เป็นทรัพย์สินและการลงทุน โดยตัดสินใจซื้อจากทำเลที่ตั้งใกล้ศูนย์การค้าซึ่งอาจไม่ใช่ย่านการค้าเดิมของเมือง รวมทั้งคำนึงถึงชื่อเสียงของผู้ประกอบการเป็นสำคัญ ซึ่งงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการรับรู้ข้อมูลพฤติกรรมการซื้อคอนโดมิเนียมของคนต่างจังหวัดเพื่อเตรียมการลงทุน รวมถึงภาครัฐบาลและหน่วยงานราชการท้องถิ่นที่จะได้กำหนดนโยบาย และเตรียมความพร้อมด้านสาธารณูปโภคสาธารณูปการเพื่อรองรับการอยู่อาศัยในแนวสูงของคนในพื้นที่ต่อไป
Other Abstract: Residential behaviors in big cities in different provinces of Thailand are changing from living horizontally to vertically, especially in condominiums with easy access to public utility or commercial area. The current research endeavor aimed to study the decision to purchase condominiums in Chiang Mai, Khon Kaen, and Rayong, by studying Escent Condominiums, developed by a shopping center developer. The research was conducted by collecting information from the customers in the contract period in 2016. There were two steps involved in the process. First, 1,227 questionnaires were distributed, by using secondary data collected by Central Pattana Public Company Limited. Second, the samples were divided into 3 groups according to the different buying behaviors. Therefore, there were 30 people per province. After that, the data was analyzed statistically and descriptively. The result of the first step indicated that first, 38.7% of the buyers were married 36-45 year olds. 50% of the buyers in Chiang Mai and Khon Kaen were business owners, whose household income was Baht 500,001 or more. Most buyers in Rayong were office workers whose household income ranged from Baht 50,001 to 100,000. Second, 68.27% purchased condominiums for the purpose of keeping them as properties whereas 26.48% purchased condominiums for the purpose of living, and 5.25% purchased condominiums for profits. 69.1% purchased condominiums in their hometowns, whereas 10.6% were Bangkokians, and the rest were from other provinces. Third, the result of the second step revealed that most condominium buyers made a decision by looking at the overall image and most bought rooms with areas between 31-35 square meters. Buyers for profits in Khon Kaen, on the other hand, tended to buy rooms smaller than 25 square meters in area, costing 1.5-1.99 million baht. A main factor for buying condominiums is their locations near shopping center. Forth, all buyers from these three provinces expected the condominiums near shopping center to receive convenience, added value, privileges and benefits such as special parking areas, and discounts from the owners who are also shopping center developers. The result reflected that condominium buyers in the mentioned cities did not only make a purchase for the purpose of living alone, but also for keeping as properties and for investment. The buying decision is based on the location near department stores, which might not be the old commercial district of mentioned cities. Also the owners’ reputation is another important consideration. The current research will be expected to benefit developers with acknowledgement on condominium buying behavior of consumers in other provinces to prepare for the investment in developer projects, together with government sectors and local government agencies to impose policies, and to prepare public utility and public assistance to further support vertical living of local residents.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58365
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.189
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.189
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5873556825.pdf7.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.