Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58409
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรสา โค้งประเสริฐ-
dc.contributor.authorณธัช ตินะคัด-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2018-04-11T01:41:07Z-
dc.date.available2018-04-11T01:41:07Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58409-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการทรงตัวระหว่างนักเรียนนาฏศิลป์โขนที่ฝึกมาเป็นระยะเวลา 6 เดือน นักเรียนนาฏศิลป์โขนที่ฝึกมาเป็นระยะเวลา 5 ปี และนักเรียนทั่วไป เพศชาย จำนวน 63 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 21 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ทำการทดสอบความสามารถในการทรงตัวแบบคงที่ด้วยวิธี Modified Clinical Test of Sensory Integration and Balance (m-CTSIB) ซึ่งเป็นรูปแบบการรบกวนการทำงานระบบประสาทรับความรู้สึกขณะทดสอบประกอบด้วย 4 เงื่อนไขทดสอบคือ 1.) ทดสอบด้วยการยืนด้วยขาสองข้าง 2.) ทดสอบด้วยการยืนด้วยขาสองข้างร่วมกับหลับตา 3.) ทดสอบด้วยการยืนด้วยขาสองข้างบนพื้นโฟม 4.) ทดสอบด้วยการยืนด้วยขาสองข้างบนพื้นโฟมร่วมกับหลับตา และการทดสอบความสามารถในการทรงตัวแบบเคลื่อนไหวด้วย Star Excursion Balance Test แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลอง ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนนาฏศิลป์โขนที่ฝึกมา 5 ปี มีความสามารถในการทรงตัวแบบคงที่และความสามารถในการทรงตัวแบบเคลื่อนไหวสูงกว่านักเรียนนาฏศิลป์โขนที่ฝึกมา 6 เดือน และนักเรียนทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกเงื่อนไขทดสอบ แต่ไม่พบความแตกต่างของความสามารถในการทรงตัวระหว่างนักเรียนนาฏศิลป์โขนที่ฝึกมา 6 เดือน กับนักเรียนทั่วไปทุกการทดสอบ สรุปได้ว่า นักเรียนนาฏศิลป์โขนที่ฝึกฝนอย่างต่อเนื่องมา 5 ปี มีความสามารถในการทรงตัวขณะทดสอบด้วยรูปแบบการรบกวนการทำงานระบบประสาทรับความรู้สึกทุกเงื่อนไขที่แตกต่างกัน และความสามารถในการทรงตัวแบบเคลื่อนไหวสูงกว่าทุกกลุ่ม แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาการทำงานของระบบประสาทรับความรู้สึกทั้ง 3 ระบบคือ Visual system, Vestibular system และ Proprioceptive system-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to compare balance performance between Thai Drama school (Khon) students, 5 years and 6 months experiences, and regular-school students. Sixty-three students (n=63) were purposively sampled from Thai Drama School and Thai regular school, and were divided into three groups. Those three groups were 5 years-experienced Khon students group (n = 21), 6 months-experienced Khon students (n = 21) and regular-school students (n = 21). Modified Clinical Test of Sensory Integration and Balance (m-CTSIB) were used to test static balance performance by interfering all sensory systems; visual, vestibular and proprioceptive system, including 1.) Two-legs standing 2.) Two-legs standing with eyes closed 3.) Two-legs standing on foam board 4.) Two-legs standing on foam board with eyes closed. Dynamic balance performance was tested by using Star Excursion Balance Test. All results were analyzed using ANOVA followed by Fisher's LSD test to compare the differences between groups. Five years-experienced Khon students showed significantly greater static and dynamic balance performance than 6 months-experienced Khon students and regular-school students (p < .05). There were no differences were found between 6 months-experienced Khon students and regular-school students. In conclusion, 5 years-experienced Khon students group showed a greater balance performance than other groups, in both static and dynamic, by using sensory disturbances technique. These results showed that practicing Khon could improve; visual, vestibular and proprioceptive system which in return, improving balance performance in individuals.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.802-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการเปรียบเทียบความสามารถในการทรงตัวระหว่างนักเรียนนาฏศิลป์โขนกับนักเรียนทั่วไป-
dc.title.alternativeA COMPARISON OF BALANCE PERFORMANCE BETWEEN KHON STUDENTS AND GENERAL STUDENTS-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSurasa.K@chula.ac.th,surasa.chula@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.802-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5878304939.pdf6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.