Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58427
Title: ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5
Other Titles: Effects of organizing mathematics learning activities using the flipped classroom approach and active learning on mathematical problem solving and critical thinking abilities of eleventh grade students
Authors: กิตติพันธ์ วิบุลศิลป์
Advisors: จิณดิษฐ์ ละออปักษิณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Jinnadit.L@Chula.ac.th,ljinnadit@hotmail.com,ljinnadit@hotmail.com
Subjects: คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
กิจกรรมการเรียนการสอน
ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
Mathematics -- Study and teaching (Secondary)
Activity programs in education
Critical thinking
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาคณิตศาสตร์ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาคณิตศาสตร์เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาคณิตศาสตร์ 4) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกในรายวิชาคณิตศาสตร์เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสงวนหญิง สุพรรณบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก มีความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก มีความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์หลังเรียนไม่สูงกว่าร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุก มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนไม่สูงกว่าร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this study were to 1) Compare mathematical problem solving of eleventh grade students before and after being taught by organizing mathematics learning activities using the flipped classroom approach and active learning. 2) Compare mathematical problem solving of eleventh grade students after being taught by organizing mathematics learning activities using the flipped classroom approach and active learning with the 70 percent criterion. 3) Compare critical thinking abilities of eleventh grade students before and after being taught by organizing mathematics learning activities using the flipped classroom approach and active learning. 4) Compare critical thinking abilities of eleventh grade students after being taught by organizing mathematics learning activities using the flipped classroom approach and active learning with the 70 percent criterion. The subjects were eleventh grade students of Sa-nguan Ying School in Suphan Buri, Thailand in the first semester of the academic year 2017. There were 30 students in an experimental group. The results of the research revealed that 1) The mathematical problem solving of student being taught by organizing mathematics learning activities using the flipped classroom approach and active learning were statistically higher than those before learning at the .05 level of significance. 2) The mathematical problem solving of student being taught by organizing mathematics learning activities using the flipped classroom approach and active learning were statistically not higher than 70 percent criterion at the .05 level of significance. 3) The critical thinking abilities of student being taught by organizing mathematics learning activities using the flipped classroom approach and active learning were statistically higher than those before learning at the .05 level of significance. 4) The critical thinking abilities of student being taught by organizing mathematics learning activities using the flipped classroom approach and active learning were statistically not higher than 70 percent criterion at the .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาคณิตศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58427
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.763
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.763
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5883307527.pdf7.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.