Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58429
Title: แนวทางการจัดการเรียนการสอนศิลปะที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าในพหุวัฒนธรรมระดับประถมศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ
Other Titles: Guidelines for art education instruction to promote multicultural values in elementary international schools
Authors: ณัฐชนา มณีพฤกษ์
Advisors: อภิชาติ พลประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Apichart.P@Chula.ac.th,apicharr@hotmail.com
Subjects: โรงเรียนนานาชาติ
การศึกษาแบบพหุวัฒนธรรม
ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน
Multicultural education
Art -- Study and teaching
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนศิลปะที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าในพหุวัฒนธรรมระดับประถมศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ และ 2) นำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนศิลปะที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าในพหุวัฒนธรรมในระดับประถมศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูศิลปะ 5 คน และนักเรียน 80 คน จากโรงเรียนนานาชาติที่มีการจัดการศึกษาศิลปะแบบพหุวัฒนธรรมจากระบบการศึกษาหลักของโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย จำนวน 4 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกหลักสูตรศิลปศึกษา 2) แบบสังเกตการจัดการเรียนการสอนในวิชาศิลปศึกษา 3) แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนวิชาศิลปศึกษา 4) แบบสัมภาษณ์นักเรียน และ 5) แบบประเมินแนวทางการจัดการเรียนการสอน ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่ามัชฌิมเลขคณิตหรือค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพของหลักสูตรศิลปศึกษาในโรงเรียนนานาชาติมีการกำหนดขอบเขตเนื้อหาสาระที่แสดงถึงวัฒนธรรม มีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ส่งเสริมความเข้าใจในพหุวัฒนธรรม บูรณาการระหว่างเนื้อหาทางศิลปะและวัฒนธรรม สื่อการสอนนำเสนอวัฒนธรรมได้ดี ไม่ก่อให้เกิดอคติ มีกระบวนการในการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย 2) แนวทางการจัดการเรียนการเรียนการสอนศิลปะที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าในพหุวัฒนธรรมระดับประถมศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ สรุปได้ดังนี้ หลักสูตรควรเอื้อต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีการกำหนดเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับบริบททางสังคม วันสำคัญ เทศกาล วัฒนธรรมและประเพณี เน้นการจัดการเรียนการสอนให้เข้าใจแนวคิดหลัก และสามารถแสดงออกในรูปแบบของตนเอง เป็นการพัฒนาทักษะวิธีการทางศิลปะควบคู่ไปกับการสร้างประสบการณ์ทางวัฒนธรรมและเจตคติที่ดีและจำเป็นต่อการอยู่อาศัยในสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งจะพัฒนานักเรียนตามแนวคิดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมสูงกว่าระดับการเห็นคุณค่าและยอมรับวัฒนธรรมตนเอง ประเมินผลด้วยวิธีที่หลากหลายทั้งผลงานศิลปะ การอธิบายผลงานที่แสดงการประยุกต์วัฒนธรรม การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน และการวิพากษ์วิจารณ์งานศิลปะ ผลจากการประเมินและรับรองแนวทางการจัดการเรียนการสอนศิลปะที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าในพหุวัฒนธรรมระดับประถมศึกษาในโรงเรียนนานาชาติโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า แนวทางการสอนมีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้ โดยมีค่าเฉลี่ยรวมระดับความเห็นด้วยในระดับมากที่สุด
Other Abstract: The objectives of this research were to 1) study art education instruction to promote multicultural values in elementary international schools , and 2) propose guidelines for art education instruction to promote multicultural values in elementary international school. The sample groups were 5 art teachers and 80 students from 4 international schools from 4 international education systems in Thailand. The research instruments consisted of 1) curriculum analysis form, 2) observation of art class form, 3) art teacher interview form 4) student interview form, and 5) curriculum evaluation form for experts. The data were analyzed using by descriptive statistics Means, frequencies, standard deviation, and content analysis. The findings revealed that 1)content of art curriculum reflect on culture. There were extracurricular activities to focus on culture, integration between content of art and culture, art instruction media represent to culture, and many types of evaluation methods. 2) guidelines for art education instruction to promote multicultural values in elementary schools were as follows: curriculum should be contributing to multicultural, contents were defined in accordance with social context and cultures by teaching and learning to understand the concepts and express them individually. These guidelines emphasis on encouraging students to develop artistic and creative skills alongside culture experiences and good attitudes towards living in multicultural societies. Evaluation methods were artwork, explaining concept, participation in classroom, and criticism. The result of assessment of guidelines for art education instruction to promote multicultural values in elementary international schools by experts was appropriate and applicable with highest level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58429
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1486
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1486
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5883333827.pdf10.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.