Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58493
Title: | ผลของเจ็ตควบคุมตามแนวดิ่งด้านท้ายลมต่อโครงสร้างและกลไกการเหนี่ยวนำการผสมในระนาบตัดขวางการไหลของเจ็ตในกระแสลมขวาง |
Other Titles: | Effects of the leeward-vertical control jet on cross-plane structures and entrainment mechanism of a jet in crossflow |
Authors: | อินทกานต์ ณ ตะกั่วทุ่ง |
Advisors: | อศิ บุญจิตราดุลย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Asi.B@Chula.ac.th,asi.b@chula.ac.th |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ศึกษาผลของเจ็ตควบคุมตามแนวดิ่งด้านท้ายลม (LVCJ หรือ CJ) ต่อโครงสร้างและกลไกการเหนี่ยวนำการผสมในระนาบตัดขวางของเจ็ตในกระแสลมขวาง โดยการใช้ Stereoscopic Particle Image Velocimetry (SPIV) ควบคู่กับเทคนิคการใส่อนุภาคติดตามการไหล 2 ลักษณะ โดยทำการทดลองที่อัตราส่วนความเร็วประสิทธิผล (r) เท่ากับ 4 ในกรณีฉีดเจ็ตควบคุม (cJICF) จะทำการฉีด CJ ที่ระนาบตัดขวาง xcj/rd = 0.25 ที่อัตราส่วนอัตราการไหลเชิงมวลของเจ็ตควบคุมต่อเจ็ตหลัก (rm) เท่ากับ 13% ผลการศึกษาพบว่าการฉีด CJ จะสามารถเพิ่มอัตราส่วนการเหนี่ยวนำการผสมเชิงปริมาตรได้ถึง 1.86 เท่าของกรณีไม่ได้ฉีดเจ็ตควบคุม (JICF) ในส่วนของโครงสร้างและกลไกการเหนี่ยวนำการผสมในระนาบตัดขวางกรณี cJICF สามารถที่จะแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วงคือ 1) ช่วง upstream (x/rd=0.25) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ฉีดเจ็ตควบคุมและ 2) ช่วง downstream (x/rd ≥ 0.5) I) โครงสร้างของส่วนผสมของเจ็ตในระนาบตัดขวาง: ช่วง upstream (x/rd=0.25) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ฉีดเจ็ตควบคุมพบ 1) ร่องของความน่าจะเป็นในการพบส่วนผสมของเจ็ต (ϕj) ต่ำ ซึ่งเป็นผลจากการไม่ใส่อนุภาคติดตามการไหลในเจ็ตควบคุม โดยร่องนี้จะวางตัวในแนวดิ่งที่กึ่งกลางด้านล่างของเจ็ต ทำให้การกระจายตัวของ ϕj มีลักษณะคล้ายฟันที่มีรากฟัน 2 ข้าง, 2) โครงสร้างรูปไต (kidney-shaped structure, K-S) ที่ยกตัวสูงขึ้นเนื่องจากผลของเจ็ตควบคุม โดยกลาง K-S เหนือคอฟันจะมีบริเวณที่มี ϕj สูง 3) โครงสร้าง counter-rotating vortex pair (CVP) ของเจ็ตหลักที่ยืดตัวออกในแนวดิ่ง ในขณะที่ โครงสร้างของส่วนผสมของเจ็ตในระนาบตัดขวาง: ช่วง downstream (x/rd ≥ 0.5) พบ 1) CVP ของเจ็ตหลักและ CVP ของเจ็ตควบคุม, 2) ช่องการไหลในแนวดิ่ง (Vertical Channel, VC) ที่กึ่งกลางของเจ็ตซึ่งยาวต่อเนื่องตั้งแต่ด้านล่างของ CVP ของเจ็ตควบคุมจนถึงด้านบนของ CVP ของเจ็ตหลัก, 3) K-S ซึ่งวางตัวอยู่ด้านบนของ CVP ของเจ็ตหลัก ในส่วนของ II) กลไกการเหนี่ยวนำการผสมในระนาบตัดขวาง: สำหรับกรณี JICF พบว่าผลการทดลองที่ได้สอดคล้องกับ Sornphrom and Bunyajitradulya (2016) สำหรับกรณี cJICF กลไกการเหนี่ยวนำการผสมในระนาบตัดขวางที่ upstream (x/rd=0.25) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ฉีดเจ็ตควบคุมสามารถสรุปได้ 3 ขั้นตอนดังนี้: 1) กระแสลมขวางบริสุทธิ์บริเวณรอบข้างจะถูก CVP ของเจ็ตหลักเหนี่ยวนำให้เคลื่อนที่ในลักษณะหมุนวน โดยพุ่งลงจากด้านบนของเจ็ตไปที่บริเวณด้านล่างของเจ็ต จากนั้นกระแสลมขวางบริสุทธิ์จะถูกเหนี่ยวนำต่อโดยเจ็ตควบคุม ทำให้กลับตัวพุ่งเข้าหาเจ็ตควบคุมมาที่ขอบด้านล่างของเจ็ต 2) จากนั้นกระแสลมขวางบริสุทธิ์ที่ขอบด้านล่างของเจ็ตจะถูกเหนี่ยวนำต่อโดยเจ็ตควบคุมให้เคลื่อนที่พุ่งเข้าผ่านบริเวณที่มีอัตราการเหนี่ยวนำการเหนี่ยวนำการผสมสูงที่บริเวณ 2 ข้างของเจ็ต และถูกเจ็ตควบคุมเหนี่ยวนำเข้าไปผสมทำให้ของไหลกลับตัวพุ่งขึ้นในทิศทางเดียวกับเจ็ตควบคุม โดยเมื่อของไหลผ่านบริเวณคอฟันไปแล้ว ของไหลได้กลายเป็นส่วนผสมของเจ็ตเป็นส่วนใหญ่แล้ว (ϕj ≈ 0.75) โดยมีบริเวณที่มีอัตราการเหนี่ยวนำการผสมสูงอีกบริเวณที่ด้านบนของร่องความน่าจะเป็นในการพบส่วนผสมของเจ็ตต่ำ 3) จากนั้นส่วนผสมของเจ็ตจะถูกเหนี่ยวนำเข้าไปผสมโดย K-S ในลักษณะคล้ายเจ็ตอิสระ จนกลายเป็นส่วนผสมของเจ็ตเกือบหมด (ϕj ≈ 0.95) ในส่วนกลไกการเหนี่ยวนำการผสมในระนาบตัดขวางที่บริเวณ downstream (x/rd ≥ 0.5) สามารถสรุปได้ 3 ขั้นตอนดังนี้: 1) กระแสลมขวางบริสุทธิ์ด้านข้างบริเวณที่ไกลออกไปจาก CVP ของเจ็ตหลักจะถูก CVP ของเจ็ตหลักเหนี่ยวนำให้เคลื่อนที่พุ่งลงในแนวดิ่งจากด้านบนของเจ็ตลงมาที่ด้านล่างเจ็ตใกล้กับพื้น แล้วเกิดการเลี้ยวเบนพุ่งเข้ามาที่ขอบของเจ็ตในช่วงตั้งแต่เหวระหว่าง peak ของ ϕj สูง peak บนและ peak ล่าง (ซึ่งเป็นจุดอานม้า (saddle point)) ลงมาจนถึงด้านใต้ของเจ็ต โดยที่ช่วงดังกล่าวพบว่าเป็นบริเวณผนังข้างของ VC ครึ่งล่าง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีอัตราการเหนี่ยวนำการผสมสูง ในขณะที่กระแสลมขวางบริสุทธิ์บริเวณรอบข้างที่ใกล้กับ CVP ของเจ็ตหลักจะได้รับอิทธิพลของ CVP ของเจ็ตหลักเป็นหลัก จึงถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการเคลื่อนที่ในลักษณะหมุนวนพุ่งลงมาที่ขอบเจ็ตด้านล่างของ CVP ของเจ็ตหลัก ในช่วงตั้งแต่เหวระหว่าง peak ของ ϕj สูง peak บนและ peak ล่างขึ้นไปจนถึงกึ่งกลาง CVP ของเจ็ตหลัก โดยที่ช่วงดังกล่าวพบว่าเป็นบริเวณผนังข้างของ VC ครึ่งบน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีอัตราการเหนี่ยวนำการผสมสูงเช่นกัน 2) CVP ของเจ็ตหลักและ CVP ของเจ็ตควบคุมจะเหนี่ยวนำกระแสลมขวางบริสุทธิ์ที่บริเวณขอบด้านข้างของเจ็ตให้เคลื่อนที่พุ่งเข้าผ่านผนังข้างทั้ง 2 ข้างของ VC ซึ่งเป็นบริเวณที่มีอัตราการเหนี่ยวนำการผสมสูง โดยเมื่อของไหลเคลื่อนที่ผ่านผนังข้างของ VC แล้ว ของไหลได้กลายเป็นส่วนผสมของเจ็ตเป็นส่วนใหญ่แล้ว (ϕj ≈ 0.75) จากนั้นของไหลจะถูกเหนี่ยวนำต่อให้เคลื่อนที่พุ่งขึ้นในแนวดิ่งผ่าน VC โดยเมื่อของไหลผ่านบริเวณกึ่งกลาง CVP ของเจ็ตหลัก ของไหลจะได้กลายเป็นส่วนผสมของเจ็ตโดยสมบูรณ์แล้ว (ϕj ≈ 0.99) 3) จากนั้นส่วนผสมของเจ็ตจะถูก K-S เหนี่ยวนำเข้าไปผสมในลักษณะคล้ายกับเจ็ตอิสระ อนึ่งการที่อัตราส่วนการเหนี่ยวนำการผสมเชิงปริมาตรกรณี cJICF มากกว่ากรณี JICF สามารถอธิบายได้จากการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างส่วนผสมของเจ็ตกับกระแสลมขวางบริสุทธิ์รอบข้าง ซึ่งสำหรับกรณี cJICF พื้นที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างส่วนผสมของเจ็ตกับกระแสลมขวางบริสุทธิ์รอบข้าง จะเกิดที่ผนังทั้ง 2 ข้างของ VC ในขณะที่กรณี JICF จะเกิดที่บริเวณปากทางเข้าและช่วงลู่เข้าของ VC ที่ด้านใต้เจ็ตใกล้กับพื้น |
Other Abstract: | Effects of a leeward-vertical control jet (LVCJ, or simply CJ) on the cross-plane structures and the entrainment mechanism of a jet in crossflow (JICF) are investigated. The Stereoscopic Particle Image Velocimetry (SPIV) together with two seeding schemes are employed. The experiment is conducted for a JICF at effective velocity ratio (r) of 4. In the controlled case (cJICF), a leeward-vertical control jet is steadily deployed at the downstream position xcj/rd = 0.25 with the control jet to main jet mass flowrate ratio (rm) of 13%. The results show that the CJ helps promoting volumetric entrainment ratio (E), up to 1.86 times more than the baseline JICF. In case of cJICF, the characteristics of the cross-plane structures and the entrainment mechanism can be divided into 2 regimes: 1) the upstream position (x/rd = 0.25) at which the CJ is deployed and 2) the downstream region (x/rd ≥ 0.5). I) Cross-plane Jet-Fluid Mixture Structures: At the upstream position (x/rd = 0.25), where the CJ is deployed, the following jet-fluid mixture structures and characteristic regions are found. 1) The vertical groove of low probability of finding jet-fluid mixture (ϕj), which is a result of the unseeded control jet, is found at the bottom-center of the jet. This causes the distribution of ϕj to be tooth-shaped with two roots. 2) The kidney-shaped structure (K-S) that is lifted-up by the CJ, and the corresponding region of high ϕj at its center, above the tooth neck. 3) The vertically-stretched main-jet counter-rotating vortex pair (CVP). In the downstream region (x/rd ≥ 0.5), the following jet-fluid mixture structures and characteristics regions are found. 1) The main-jet CVP and the control-jet CVP. 2) The vertical channel of high upward flow (VC), which is located at the center of the jet and spans from the bottom of the control-jet CVP to the upper part of the main-jet CVP. 3) The kidney-shaped structure, which is located above the main-jet CVP. II) Cross-plane entrainment mechanism: For the baseline JICF, the results are in agreement with Sornphrom and Bunyajitradulya (2016). For the cJICF, the cross-plane entrainment mechanism at the upstream position (x/rd = 0.25, where the CJ is deployed) can be divided into 3 stages. 1) The surrounding pure crossflow is induced by the main-jet CVP to have vortical motion and to move downward from the upper to the lower part of the jet. Then, it is further induced by the CJ to turn inwards towards the CJ at the lower edge of the jet. 2) The pure crossflow at the lower edge of the jet is further induced inwardly through the two regions of high rate of entrainment at both sides of the jet and subsequently being entrained by the CJ, causing the fluid to turn upward in the same direction as the CJ. As the fluid is being entrained by the CJ and moves upward past the tooth neck, the fluid becomes mainly jet-fluid mixture (ϕj ≈ 0.75). In this stage, another region of high rate of entrainment can be identified at the upper part of the groove of low ϕj. 3) Finally, the fluid is further induced and entrained into the K-S like free-jet entrainment, where it now becomes mostly jet-fluid mixture (ϕj ≈ 0.95). For the downstream region (x/rd ≥ 0.5), the cross-plane entrainment mechanism of cJICF can also be divided into 3 stages as follows. 1) A portion of the surrounding pure crossflow far from the main-jet CVP is induced by the main-jet CVP to move downwards towards the wall. The pure crossflow then turns inwards towards the lower edge of the jet. This portion of the pure crossflow enters the lateral side edge of the jet through the vertical region spanning from the trough between the two peaks of high ϕj, which is also a saddle point, down to the bottom of the jet. This vertical region, which is located at each lateral side edge of the jet and which the pure crossflow enters the side edge of the jet, is later identified as the bottom part of the side wall of the VC, where the rate of entrainment is high. Another portion of the surrounding pure crossflow, which is closer to the main-jet CVP and is therefore more strongly influenced by the main-jet CVP, is instead induced by the main-jet CVP to have vortical motion and to move downwards towards the bottom of the main-jet CVP. This portion of the pure crossflow then enters the lateral side edge of the jet through the vertical region spanning from the trough between the two peaks of high ϕj up to the center of the main-jet CVP. Similarly, this connecting vertical region, which the pure crossflow enters the side edge of the jet at each lateral side edge, is later identified as the top part of the side wall of the VC, where the rate of entrainment is high. 2) Both the main-jet and the control-jet CVPs subsequently induce the pure crossflow at each lateral side edge of the jet to move inwards through both side walls of the VC, which are the regions of high rate of entrainment. As the fluid moves past the side walls of the VC, it becomes mainly jet-fluid mixture (ϕj ≈ 0.75). Then, the fluid is further induced by both CVPs to flow upward through the VC and subsequently becomes complete jet-fluid mixture (ϕj ≈ 0.99) at the center of the main-jet CVP. 3) The jet-fluid mixture is then further entrained by the K-S, like a free-jet entrainment. Finally, the increase in entrainment of cJICF over JICF can be explained in terms of the increase in the interacting surface area between the jet-fluid mixture structure and the surrounding pure crossflow; namely, along both side walls of the VC, which are located at both lateral sides of the jet, in the case of cJICF as opposed to along the entrance and the converging section of the VC, which is located at the bottom of the jet near the wall, in the case of JICF. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมเครื่องกล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58493 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.893 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.893 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5970361221.pdf | 29.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.