Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58530
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา-
dc.contributor.authorอนุสรณ์ เกิดศรี-
dc.date.accessioned2018-04-17T06:43:08Z-
dc.date.available2018-04-17T06:43:08Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58530-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาก่อนการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่หนึ่งและรอบที่สอง และ 2) เพื่อวิเคราะห์เหตุปัจจัย เงื่อนไขของกระบวนการประกันคุณภาพภายในที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา วิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้เป็นแบบพหุกรณีศึกษา โดยศึกษาโรงเรียน 3 แห่ง วิธีการศึกษาเป็นแบบสืบย้อนโดยการเก็บข้อมูลด้วยการสังเกต การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ และแบบเจาะลึก การวิเคราะห์เอกสาร และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การลดทอนข้อมูล การเปรียบเทียบข้อมูลและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีการเปลี่ยนแปลงในด้าน การวางแผน การดำเนินการ การติดตามประเมินผล การนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน โรงเรียนได้มีการนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาอย่างชัดเจนในการวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรโดยอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง และนำไปปรับปรุงแผนงานและโครงการเพื่อพัฒนาผู้เรียน หรือครู หรือคุณภาพการจัดการศึกษาให้บรรลุตามมาตรฐานนั้นในปีการศึกษาต่อไป 2) เหตุปัจจัย เงื่อนไขของกระบวนการประกันคุณภาพภายในที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย 3 ด้าน คือ ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านบุคลากร และปัจจัยด้านชุมชน ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามกระบวนการประกันคุณภาพภายใน และนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research were1) to compare the process of the internal quality assurance management process before the first and the second external quality assurance. 2) to analyze the factors and conditions of the internal quality assurance management process to educational quality development. A multiple case study was employed in 3 schools with retrospective approach. The data collection process consisted of participant observation, informal interview, in-depth interview, documentary analysis, and focus group discussion. The data was analyzed by the method of content analysis, reduction of data, constant comparative study, and inductive method. The research results were as follows. 1. The process of the internal quality assurance changed in planning, doing, assessment, and improvement. The school used information form the assessment to improve planning for continuation of staff development. Also, the information was used in improving project for students, teachers and educational management the standards to lift up quality according to development in personal planning development and project for students, teachers and educational quality in the next semester. 2. Factors and conditions supporting the internal quality assurance effectiveness of the management process related to administrator teachers and community.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.843-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectประกันคุณภาพการศึกษาen_US
dc.subjectQuality assurance -- Educationen_US
dc.titleการศึกษาเปรียบเทียบ กระบวนการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานก่อนการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่หนึ่งและรอบที่สอง : พหุกรณีศึกษาen_US
dc.title.alternativeA comparative study of internal quality assurance management process of basic education institutions before the first and the second external quality assessments : a multiple case studyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSiripaarn.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.843-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anusorn Koedsri.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.