Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58531
Title: กระบวนการสื่อสารในการสร้างความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชน
Other Titles: Communication process in developing cooperation between business organizations and NGO on environmental issues
Authors: อภิชา คุณวันนา
Advisors: ปาริชาต สถาปิตานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Parichart.S@Chula.ac.th,sparicha@yahoo.com
Subjects: การสื่อสาร
การบริหารโครงการ
ความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชน -- แง่สิ่งแวดล้อม
Communication
Project management
Public-private sector cooperation -- Environmental aspects
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1)ศึกษามุมมองจุดยืนเป้าหมายของการบริหารโครงการด้านสิ่งแวดล้อมบนความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชน(2)วิเคราะห์แนวทางในการประสานความร่วมมือขององค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชน(3)วิเคราะห์กระบวนการสื่อสารในการบริหารโครงการบนความร่วมมือขององค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชนและ(4)วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคและแนวทางในการบริหารโครงการบนความร่วมมือขององค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) ด้วยการศึกษาแบบสัมภาษณ์เจาะลึก(Indepth-Interview) การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ(Informal Interview) และการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง(Documentary Research) โดยกลุ่มเป้าหมายที่ให้สัมภาษณ์เป็นผู้บริหารองค์กร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คนจากคู่ความร่วมมือ 3 คู่ทั้งองค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชน ผลการวิจัยพบว่า (1) ในเชิงมุมมองและเป้าหมายบนความร่วมมือขององค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชนพบว่ามีส่วนที่เหมือนกันคือการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามองค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชนต่างกันเชิงการประชาสัมพันธ์ที่องค์กรภาคธุรกิจให้ความสำคัญเป็นหลักขณะที่องค์กรพัฒนาเอกชนในความสำคัญในระดับรอง ในเชิงจุดยืนระยะแรกองค์กรภาคธุรกิจสนับสนุนเงินและทรัพยากร ระยะกลางสนับสนุนความรู้ความสามารถเฉพาะด้านและระยะยาวสนับสนุนองค์ความรู้ในการพัฒนาองค์กร ส่วนองค์กรพัฒนาเอกชนในระยะแรกและระยะกลางเป็นผู้ลงมือปฏิบัติโดยยึดมั่นภารกิจหลักขององค์กรส่วนในระยะยาวมีบทบาทสำคัญในการผลักดันองค์กรภาคธุรกิจให้เป็นองค์กรที่ดี(Good corporate citizen) (2) แนวทางในการประสานความร่วมมือขององค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชนมี 3 แนวทาง คือ การสื่อสาร ผ่าน “แม่สื่อ” หรือองค์กรสนับสนุนที่เป็นผู้ประสานงานกลาง การสื่อสารโดยต่างฝ่ายต่าง “แสวงหา” และการสื่อสารของ “คนคอเดียวกัน” (2) แนวทางในการประสานความร่วมมือขององค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชนมี 3 แนวทาง คือ การสื่อสารผ่าน “แม่สื่อ” หรือองค์กรสนับสนุนที่เป็นผู้ประสานงานกลาง การสื่อสารโดยต่างฝ่ายต่าง “แสวงหา” และการสื่อสารของ “คนคอเดียวกัน” (3) กระบวนการสื่อสารในการบริหารโครงการบนความร่วมมือขององค์กรภาคธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชนอยู่บน พื้นฐานของหลักการวิจัย การปฏิบัติ การสื่อสาร และการประเมินผล (4) ปัญหาอุปสรรคพบว่าในระยะต้นเป็นเรื่องความแตกต่างของวิธีคิด วิธีการทำงาน ความเข้าใจในเนื้อหาสารที่สื่อสารไม่ตรงกัน ระยะกลางเป็นเรื่องของความเกรงใจ ส่วนระยะยาวขาดการบริหารเวลาและกำลังคน (5) ส่วนทางออกในระยะเริ่มต้นทั้งสองฝ่ายต้องการผู้ประสานงานกลาง ระยะกลางเน้นการกระชับความร่วมมือ ระยะยาวต้องมีการสื่อสารที่ชัดเจนอย่างสม่ำเสมอทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
Other Abstract: (1) A common objective of the collaborative project between NGO and business is to solve the environmental problems whereas the difference is on the communication and public relations. Businesses give public relations of the project as top of the prioirites while NGO put it as the second or the last. In respect of roles on different phase of project development, at the early stage, businesses provide financial supports and in kind support, at the middle terms stage, technical assistance and employee volunteering services are supported, and in the long terms, knowledge management and specific technical assistance is planned. On NGOs’ side, NGOs are playing their implementing agency roles during the first and middle stage of development while in the long run, NGOs are focused on advocating business to become good corporate citizenship. (2) There are three development methods of collaborative projects between NGOs and businesses; namely, a collaboration developed by Match Maker or coordinating organization; a collaboration by each NGO or business identifying each of their own partners and a collaboration because each know each other well enough and truly fascinated and share common values in selection solutions to social problems. (2) Communication Process of collaborative project management. It bases on R-A-C-E which are R=Research, A= Action, C=Communication and E=Evaluation (3) Problems in three different phases of development. At the early stage of development, the problems are on different thinking process, working style, and levels of understandings of environmental issues. At the middle stage, the problems derive from different thinking and they leads to each develop different expectations, In addition, the relationships between the two partners are not so close and good enough to enable clear understandings and common expectations. In long terms, lack of time and man-power always the problems for partnerships. (4) Recommendations: In respect of collaborative project management, it is essential to develop strong participation of both partners, to clarify understandings of goals and expectations of the project collaboration. In the partnerships developed and supported by Coordinating Organization, It is crucial that the three partners should clarify and understand roles and responsibilities of the coordinating organization. During middle and long term development, it is important to clearly communicate with each other often both in formal and informal communication.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58531
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.43
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.43
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Apicha Kunwanna.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.