Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58536
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริเดช สุชีวะ-
dc.contributor.advisorสุวิมล ว่องวาณิช-
dc.contributor.authorอมรรัตน์ สร้อยสังวาลย์-
dc.date.accessioned2018-04-17T09:33:12Z-
dc.date.available2018-04-17T09:33:12Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58536-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหวิทยาลับ, 2551en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการ 1) เพื่อพัฒนาวิธีการประเมินเชิงวินิจฉัย โดยประยุกต์ใช้โมเดลลำดับขั้นของคุณลักษณะและการทดสอบแบบปรับเหมาะ โดยใช้คอมพิวเตอร์ในการประเมินสถานะความรู้และแบบการคิดที่ผิด เรื่องการบวกลบเศษส่วน 2) เพื่อศึกษาคุณภาพของวิธีการประเมินเชิงวินิจฉัยที่พัฒนาขึ้น 3) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของวิธีการประเมินเชิงวินิจฉัยที่พัฒนาขึ้น และ 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อวิธีการประเมินเชิงวินิจฉัยที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนและนักเรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 -6) รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และการวัดและประเมินผล การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) การพัฒนาชุดของข้อสอบ แบบทดสอบแบบเขียนตอบบนกระดาษคำตอบและคลังข้อสอบ 2) การพัฒนาชุดของข้อสอบและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการประเมินเชิงวินิจฉัย 3) การประเมินเชิงวินิจฉัยสถานะความรู้และแบบการคิดที่ผิดในการบวกลบเศษส่วน และ 4) การศึกษาคุณภาพและความคิดเห็นที่มีต่อวิธีการประเมินเชิงวินิจฉัยที่พัฒนาขึ้น ผลการวิจัยพบว่า วิธีการประเมินเชิงวินิจฉัยที่พัฒนาขึ้น สามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์จากแนวคิดทฤษฎีทางพุทธิปัญญา และทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่ในการประเมินเชิงวินิจฉัยทางการศึกษา ได้อย่างมีคุณภาพ โดยให้ผลการประเมินเชิงวินิจฉัยสถานะความรู้และแบบการคิดที่ผิดที่มีความเที่ยงและความตรง รวมทั้งมีจำนวนข้อสอบและเวลาที่ใช้ในการทดสอบไม่มาก เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพตามเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินความรอบรู้ที่แตกต่างกัน พบว่า มีความเที่ยง ความตรงและจำนวนข้อสอบที่ใช้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่มีจำนวนเวลาที่ใช้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านความคิดเห็นที่มีต่อวิธีการประเมินเชิงวินิจฉัยที่พัฒนาขึ้น พบว่า ทั้งครูและนักเรียนมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน โดยเห็นว่า วิธีการประเมินเชิงวินิจฉัยที่พัฒนาขึ้นนำไปใช้ได้ไม่ยาก มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้สูง ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์จากผลการประเมินมาก ผู้ใช้ชอบและเลือกที่จะได้รับการประเมินหรือใช้วิธีการประเมินที่พัฒนาขึ้น มากกว่าการประเมินโดยใช้การเขียนตอบบนกระดาษคำตอบแบบดั้งเดิมen_US
dc.description.abstractalternativeTo develop a diagnostic method for detecting knowledge state and incorrect rules on addition and subtraction of fractions by applying the attribute hierarchy model and computerized adaptive testing, to verify quality of the developed method from validity, reliability, time spent and number of items in the testing, to compare quality of the developed method when criteria for judging knowledge state were different and to study attitude of participates in the difficulty of using, the feasibility to apply, utility and satisfaction. The design of the research was divided into 4 phases 1) developed test let and paper and pencil test 2) developed computerized adaptive testing program 3) diagnostic assessed and 4) verified quality of the developed method and studied attitude of the participates. The primary students, teacher and expert in mathematic curriculum, mathematic instruction and educational measurement were samples. This research found that the development method has quality to applied cognitive theory and modern test theory for educational diagnostic assessment. It has quality both aspect of validity, reliability, time spent and number of items in the testing. Participants were satisfied with this development method and it was not difficult of use, feasible to apply and utilized. The study of quality when criteria for knowledge state were different found no significance at .05 levels in validity, reliability and number of items in the testing, but it was found the significance at .05 levels of different of time spent.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.253-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการวัดผลทางการศึกษาen_US
dc.subjectการประเมินผลทางการศึกษาen_US
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)en_US
dc.subjectการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์en_US
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.subjectEducational tests and measurementsen_US
dc.subjectEducational evaluationen_US
dc.subjectMathematics -- Study and teaching ‪(Elementary)‬en_US
dc.subjectComputer adaptive testingen_US
dc.titleการพัฒนาวิธีการประเมินเชิงวินิจฉัยโดยประยุกต์ใช้โมเดลลำดับขั้นของคุณลักษณะและการทดสอบแบบปรับเหมาะโดยใช้คอมพิวเตอร์en_US
dc.title.alternativeThe development of a diagnostic assessment method by applying the attribute hierarchy model and computerized adaptive testingen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSiridej.S@Chula.ac.th-
dc.email.advisorwsuwimon@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.253-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amornrat Soisangwarn.pdf4.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.