Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58550
Title: แนวคิด ค่านิยมและการปฏิบัติของครูผู้สร้างวงดนตรีลูกทุ่ง : การศึกษาข้ามกรณีโรงเรียนที่ได้รับรางวัลวงดนตรีลูกทุ่งดีเด่น
Other Titles: Concepts, values, and practices of teachers forming folk song bands : a cross case study of schools receiving outstanding folk song band awards
Authors: อาจารีย์ ไชยสิทธิ์นุชิต
Advisors: ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Advisor's Email: Duangkamol.T@chula.ac.th
Subjects: เพลงลูกทุ่ง
โรงเรียน -- วงดนตรี
ดนตรีพื้นบ้าน -- ไทย
กิจกรรมของนักเรียน
ครูดนตรี -- ทัศนคติ
Schools -- Bands
Folk music -- Thailand
Student activities
Music teachers -- Attitudes
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิด ค่านิยม และการปฏิบัติของครูผู้สร้างวงดนตรีลูกทุ่งรวมทั้งการจัดกิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่งของครูผู้สร้างวงดนตรีลูกทุ่ง โดยครูกรณีศึกษาจำนวน 3 ท่าน ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในลักษณะการศึกษาแบบข้ามกรณีศึกษาระหว่างโรงเรียนที่ได้รับรางวัลวงดนตรีลูกทุ่งดีเด่น วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม การสนทนากลุ่มและการวิเคราะห์เอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ครูกรณีศึกษา ครูผู้ควบคุมวงดนตรี ผู้บริหารโรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครองของนักเรียน 2) แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม 3) แบบสังเกตการจัดกิจกรรม การปฏิบัติของครูกรณีศึกษาและสภาพโรงเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า และการวิเคราะห์แบบข้ามกรณี ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูกรณีศึกษาทั้ง 3 ท่าน มีแนวคิดในการสร้างวงดนตรีลูกทุ่ง เริ่มจากความชอบในดนตรีตั้งแต่วัยเด็กเป็นต้นมาและจัดตั้งวงดนตรีประเภทอื่นก่อนวงดนตรีลูกทุ่ง โดยครู A1 คิดถ่ายทอดความรู้ความสามารถทางดนตรีแก่นักเรียนตั้งแต่บรรจุเข้ารับราชการเพราะเกรงว่าจะหายไปพร้อมกับตนเอง ครู B1 คิดจัดกิจกรรมที่นักเรียนสามารถทำร่วมกันได้หลายๆคน ส่วนครู C1 สร้างวงดนตรีลูกทุ่งให้นักเรียนทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อประกวดแข่งขัน ด้านค่านิยม ครูทั้ง 3 ท่านมีความภูมิใจในวิชาชีพครูและมีความสุขที่มีส่วนส่งเสริมนักเรียนให้มีความสามารถ พร้อมนำไปใช้ในอนาคตและทำให้โรงเรียนมีชื่อเสียงมากขึ้น และด้านการปฏิบัติ ครูมีความมุ่งมั่นและจริงจังในการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่ ไม่ซ้ำใคร มั่นใจในตนเองและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 2. การจัดกิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่ง ด้านการเตรียมการจัดกิจกรรม มีการจัดทำโครงการจัดกิจกรรมวงดนตรีลูกทุ่ง โดยครูเป็นผู้เขียนโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมนักเรียนให้มีความสามารถพิเศษด้านดนตรี และมีประสบการณ์ในการประกวดแข่งขัน และบริการชุมชนพร้อมทั้งส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม สถานที่จัดกิจกรรม ได้แก่ห้องฝึกซ้อมนักดนตรี ห้องฝึกซ้อมแดนเซอร์ ห้องฝึกซ้อมรวม แหล่งงบประมาณจากโรงเรียนและได้รับค่าตอบแทนการแสดง การประชาสัมพันธ์ โดยประกาศหน้าเสาธง ป้ายประชาสัมพันธ์ เว็บไซด์ของโรงเรียน และเพื่อนบอกต่อเพื่อน ด้านการดำเนินการจัดกิจกรรม การปฐมนิเทศเกี่ยวกับข้อปฏิบัติในการเป็นสมาชิกของวงดนตรี เน้นการให้เวลาฝึกซ้อมสม่ำเสมอ มีคณะกรรมการนักเรียนได้แก่ หัวหน้ากลุ่มของนักร้อง นักดนตรี และแดนเซอร์ และสมาชิก กิจกรรมที่จัดในวงดนตรีลูกทุ่ง ได้แก่ กิจกรรมการสอนและการฝึกซ้อม และกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ด้านการประเมินผลการจัดกิจกรรม มีการประเมินผลระหว่างฝึกซ้อมโดยการสังเกต มีการรายงานผลด้วยเอกสารทุกครั้งหลังการประกวดแข่งขันและสิ้นปีการศึกษา
Other Abstract: The purpose of this research was(1) to study concepts, values, and practices of teachers forming folk song bands (2) to study the activity organization in folk song bands of the teachers. The case studies were three teachers who forming folk song bands. The research design was qualitative method used the cross case study between the schools receiving outstanding folk song band awards. The data were collected by formal, informal and in-depth interview, participant and non-participant observation, focus groups technique and documentary analysis. Research instrumental were consisted of 1) interview form of case studies, activity controlled teachers, administrators, students, and parents. 2) guidelines in focus group ,and 3) observation forms of activity organization, case studies’ practice ,and context of the schools. The data were analyzed by analysis induction, triangulation and cross case analysis. The research results were as following 1. The concepts of three teachers forming folk song bands were they liked music and then they formed other bands before the folk song band. For the values of the teachers were proud in professional teachership. For the practices of the teachers consisted of they set their heart on their works; beside, creating, having great confident in themselves and accepting in the other opinions. 2. The activity organization. For the preparing organization. The projects were drawn by activity controlled teachers. The objectives of the projects were supported for ability development in music, development experience in contest, community services and culture. The settings were the musician room, dancer room, and assemble room. The budget provided for the school and income from their performances. The public relations were the flag salutation, website, and spreading by continuous speech. For the activity organization, the members orientation was available. The directions in memberships’ the bands were emphasized to regularly, the students committee consisted of the head of singer, musician, dancer, and members. The activities conducted for students were teaching and practicing, and added experience activities. For the evaluation of the activity organization between practicing by observation. The activity controlled teachers wrote the documentary reports of the activity organization performance when all the contests were over.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58550
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.152
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.152
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arjaree Chaisitnuchit.pdf2.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.