Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58662
Title: การพัฒนาชุดเครื่องมือวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: The development of a toolkit to measure desirable characteristics of lower secondary school students
Authors: ภาณุภัทร ลิ้มจำรูญ
Advisors: ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Nuttaporn.L@Chula.ac.th
Subjects: นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
การประเมินบุคลิกภาพ
Personality assessment
Junior high school students
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อสร้างชุดเครื่องมือวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของชุดเครื่องมือวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่สร้างขึ้น และ 3) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติวิสัยระดับชาติ (national norms) สำหรับใช้กับชุดเครื่องมือวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ปีการศึกษา 2551 จำนวน 987 คน และครูประจำชั้นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือชุดเครื่องมือวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ประกอบด้วย แบบวัดสถานการณ์มีรูปแบบการตอบเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก และแบบประเมินพฤติกรรมมีรูปแบบการตอบเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยเครื่องมือทั้ง 2 ชุด เนื้อหาครอบคลุมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 9 ด้าน คือ ความมีวินัย ความซื่อสัตย์ ความประหยัด ความเมตตากรุณา ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ความกตัญญูกตเวที ความอดทนอดกลั้น ความภูมิใจในความเป็นไทย และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์หาค่าความสามารถในการจำแนก และค่าความเที่ยงของชุดเครื่องมือวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยใช้โปรแกรม B - Index และ SPSS for Windows และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อ โดยการหาค่าสัดส่วนความตรงเชิงเนื้อหา (CVR) เป็นรายข้อ และคัดเลือกข้อสอบ ที่มีค่า CVR ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ( ≥ 0.62) พบว่าผลการพัฒนาชุดเครื่องมือวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นได้แบบวัดสถานการณ์ และแบบประเมินพฤติกรรม โดยแบ่งออกเป็นชุดละ 9 ฉบับ ฉบับละ 10 ข้อ รวม 90 ข้อ 2. ผลการวิเคราะห์ค่าความสามารถในการจำแนก (t) และค่าความเที่ยงของแบบวัดและแบบประเมิน ตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม พบว่าแบบวัดสถานการณ์ มีค่าความสามารถในการจำแนก (t) ในแต่ละด้าน พบว่าด้านความมีวินัย ความซื่อสัตย์ ความประหยัด ความเมตตากรุณา ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ความกตัญญูกตเวที ความอดทนอดกลั้น ความภูมิใจในความเป็นไทย และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีค่าความสามารถในการจำแนก (t) อยู่ระหว่าง 5.07 - 34.24, 6.97 - 21.16, 6.20 - 14.76, 10.58 - 15.55, 10.90 - 19.95, 7.63 - 16.95, 10.07 - 20.91, 10.05 - 21.09 และ 12.39 - 18.85 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคของแบบวัดแต่ละด้าน พบว่ามีค่าความเที่ยงเท่ากับ .65, .67, .66, .66, .76, .75, .75, .66 และ .83 ตามลำดับ ส่วนแบบประเมินพฤติกรรมแต่ละด้าน พบว่ามีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .90, .89, .91, .89, .89, .86, .91, .90 และ .93 ตามลำดับ 3. ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) ด้วยโปรแกรม LISREL พบว่าโมเดลแบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้ง 9 ด้าน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และมีความตรงเชิงโครงสร้างทุกด้าน 4. คะแนนเกณฑ์ปกติวิสัยระดับชาติ (national norms) พบว่าคะแนนแบบวัดความมีวินัย ความซื่อสัตย์ ความประหยัด ความเมตตากรุณา ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ความกตัญญูกตเวที ความอดทนอดกลั้น ความภูมิใจในความเป็นไทย และอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีช่วงคะแนนปกติ ที อยู่ในช่วงระหว่าง T17 - T63, T22 - T65, T17 - T71, T17 - T71, T17 - T60, T17 - T72, T19 - T83, T17 - T81 และ T21 - T66 ตามลำดับ ส่วนคะแนนแบบประเมินพฤติกรรมในแต่ละด้านมีช่วงคะแนนปกติ ที อยู่ในช่วงระหว่าง T20 - T64, T17 - T64, T19 - T66, T19 - T70, T17 - T66, T20 - T65, T19 - T65, T23 - T65 และ T19 - T66 ตามลำดับ
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to develop a toolkit for the measurement of desirable characteristics in lower secondary school students. 2) to investigate the quality of the constructed toolkit. 3) to provide criteria for national norms using the toolkit for measuring desirable characteristics in lower secondary students. The samples were 987 M 1 - M 3 students in academic year 2551 and 25 homeroom teachers. The research toolkit consisted of a 4-choice situation test form and a 5-point Likert scale behavior evaluation form. The toolkit contained 9 desirable characteristics; 1) Discipline, 2) Honesty, 3) Being economical, 4) Kindness, 5) Attention to study, 6) Gratefulness, 7) Patience, 8) Thai Proudness and 9) Environmental Awareness. Data were analyzed by items analysis; discrimination through B-Index, reliability coefficient through SPSS for Windows and confirmatory factor analysis through LISREL. The research results were divided as below:- 1. The content validity of items was analyzed by Content Validity Ratio (CVR), and selected items were met a criteria (CVR ≥ 0.62). The result of the toolkit consisted of situation test and behavior evaluation forms which were divided 9 desirable characteristics, 10 items per a desirable characteristic. 2. The results of the discrimination and the reliability analysis of situation test and behavior evaluation forms by the Classical Test Theory showed that the situation test provided discrimination were 9 desirable characteristics; discipline, honesty, being economical, kindness, attention to study, gratefulness, patience, Thai proudness, and environment awareness found discrimination of the items were in the range 5.07 - 34.24, 6.97 - 21.16, 6.20 - 14.76, 10.58 - 15.55, 10.90 - 19.95, 7.63 - 16.95, 10.07 - 20.91, 10.05 - 21.09 and 12.39 - 18.85, respectively at the .01 significant level, and the situation test provided Cronbach’s alpha reliability coefficient were 9 desirable characteristics of .65, .67, .66, .66, .76, .75, .75, .66 and .83, respectively. The behavior evaluation form provided Cronbach’s alpha reliability coefficient were 9 desirable characteristics of .90, .89, .91, .89, .89, .86, .91, .90 and .93, respectively. 3. The construct validity was confirmed by using confirmatory factor analysis through LISREL. The results of the situation test form and the behavior evaluation form 9 model were fit to the empirical data. 4. The national norms of the situation test of 9 desirable characteristics were in the range of T17 - T63, T22 - T65, T17 - T71, T17 - T71, T17 - T60, T17 - T72, T19 - T83, T17 - T81 and T21 - T66, respectively. And the national norms of the behavior evaluation of 9 desirable characteristics were in the range of T20 - T64, T17 - T64, T19 - T66, T19 - T70, T17 - T66, T20 - T65, T19 - T65, T23 - T65 and T19 - T66, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58662
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.276
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.276
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panupat Limchmroon.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.