Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58772
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นันทวัฒน์ บรมานันท์ | - |
dc.contributor.author | ฌานิทธิ์ สันตะพันธุ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2018-05-16T04:43:28Z | - |
dc.date.available | 2018-05-16T04:43:28Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58772 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2551 | en_US |
dc.description.abstract | เขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญเป็นเขตอำนาจศาลแบบเฉพาะเจาะจง กล่าวคือเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญจะต้องถูกกำหนดไว้เป็นเรื่อง ๆ อย่างชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญเท่านั้น และไม่สามารถตีความขยายเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญออกไปจนเกินกว่าเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาถึง แนวคิด ทฤษฎีสำคัญอันเป็นรากฐานของการกำหนดเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ เขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้จัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย หลังจากการใช้บังคับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้เกิดปัญหาเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญในหลายกรณี ได้แก่ การขาดองค์กรที่มีอำนาจให้ความเห็นในกรณีมีปัญหาที่จะต้องตีความรัฐธรรมนูญ ปัญหาบทบัญญัติที่มีผลเป็นการขยายเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ปัญหาการควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายและกฎ ข้อบังคับ ปัญหาการตรวจสอบการใช้อำนาจขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ปัญหาเขตอำนาจในการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายของกระบวนการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ต่อมาเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2550) มีผลใช้บังคับก็ได้จัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นอีกครั้ง และพยายามแก้ไขปัญหาเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญหลายประการ แต่จากการศึกษาวิเคราะห์ ยังพบบทบัญญัติที่อาจนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในหลายกรณี ผู้เขียนจึงได้มีข้อเสนอแนะให้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นแนวทางกำหนดเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญที่เหมาะสมชัดเจนดังนี้กำหนดให้การตรวจสอบการใช้อำนาจขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายของกระบวนการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญอยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครองสูงสุดให้จัดหมวดหมู่บทบัญญัติขององค์กรตามรัฐธรรมนูญใหม่และยกเลิกความเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญขององค์กรอัยการและสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมชาติ ตลอดจนให้เพิ่มเติมบทบัญญัติเพื่อรองรับเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าเขตอำนาจที่เพิ่มเติมขึ้นดังกล่าวต้องเกี่ยวเนื่องกับเขตอำนาจที่กำหนดไว้แล้วในรัฐธรรมนูญด้วย | en_US |
dc.description.abstractalternative | The jurisdiction of the Constitutional Court is Enumeration. That is to say the jurisdiction of the Constitutional Court must be prescribed only in the Constitution and can not be interpreted in any extension beyond the spirit of the Constitution. This Thesis studies on the concepts and essential theories which are the foundation of the jurisdiction of the Constitutional Court under the Constitution B.E. 2540, the Constitution that established the Constitutional Court in Thailand for the first time. Nevertheless, after this Constitution has come into force, there are many problems occur concerning the jurisdiction of the Constitutional Court e.g. lack of organization to give opinion on the interpretation of the Constitution, the laws resulting the expansion of jurisdiction of the Constitutional Court, problems of the Judicial Review on the constitutionality of the Act and the subordinate legislation, problems of the Judicial Review on the exercise of power of the Constitutional Organ and problems of the legal control of the appointee recruitment under Constitutional Organ. The Constitution B.E. 2550 has resolved only some problems. The author, thus, proposes the resolutions by authorizing the Supreme Administrative Court to have the jurisdiction review on the exercise of power of the Constitutional Organ and the appointee recruitment under Constitutional Organ, classifying the provision of the Constitutional Organ and dismissing the Prosecution Organization and the National Economic and Social Advisory Council from being the Constitutional Organ, and adding the provision allowing the Parliament to enact the expansion of the jurisdiction of the Constitutional Court under the condition that such expanded jurisdiction must be in relation to the Jurisdiction set out under the Constitution. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.172 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ศาลรัฐธรรมนูญ | en_US |
dc.subject | เขตอำนาจศาล -- ไทย | en_US |
dc.subject | Constitutional courts | en_US |
dc.subject | Jurisdiction -- Thailand | en_US |
dc.title | เขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ | en_US |
dc.title.alternative | Jurisdiction of the constitutional court | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Nantawat.B@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.172 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chanit_Su.pdf | 1.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.