Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58868
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัจฉรา จันทร์ฉาย-
dc.contributor.authorกัญญารัตน์ ชิระวานิชผล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี-
dc.date.accessioned2018-05-26T07:33:59Z-
dc.date.available2018-05-26T07:33:59Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58868-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractปัจจุบัน ความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นประเด็นสำคัญที่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจการได้อย่างยั่งยืน และจากรายงานของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พบว่า กิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีบทบาทต่อเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในด้านจำนวนรวมวิสาหกิจ การจ้างงาน และการสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ จึงควรมีการนำหลักความรับผิดชอบต่อสังคมมาใช้ และมีการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมกับกลยุทธ์กิจการ เพื่อสร้างความยั่งยืนในการดำเนินกิจการ งานวิจัยฉบับนี้จึงศึกษาระดับความรับผิดชอบต่อสังคม ระดับการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมกับกลยุทธ์ของกิจการ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคม การบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมกับกลยุทธ์กิจการ ชื่อเสียงกิจการ และผลประกอบการของกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม โดยประชากรในการศึกษาครั้งนี้ มี 2009 ราย มีแบบสอบถามที่ตอบกลับ และสามารถนำมาวิเคราะห์ผลจำนวน 208 ชุด คิดเป็น 18.17% สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีระดับความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับปานกลางถึงมากที่สุด และมีระดับการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคม กับกลยุทธ์กิจการในระดับปานกลางถึงมาก โดยส่วนใหญ่พบว่า การวางแผนอยู่ในระดับมาก และการปฏิบัติและประเมินผลอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากมีข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ เวลา และความรู้ และจากการศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ พบว่า ความรับผิดชอบต่อสังคม การบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมกับกลยุทธ์กิจการ ชื่อเสียงกิจการ และผลประกอบการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีความสัมพันธ์กัน ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรดำเนินกิจการอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม และมีการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมกับกลยุทธ์กิจการ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ส่งผลให้กิจการมีชื่อเสียงที่ดี และมีผลประกอบการอยู่ในระดับดีได้ นอกจากนี้ รัฐบาลควรสนับสนุนด้านการเงินสำหรับกิจการที่มีการจัดการด้านความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น ลดหย่อนภาษี สนับสนุนเงินทุนในการซื้อเครื่องจักร หรือปรับปรุงระบบโรงงานเพื่อลดการทำลายสภาพแวดล้อม ให้ความรู้และจัดตั้งหน่วยงานที่ปรึกษาด้านความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับผู้ประกอบการen_US
dc.description.abstractalternativeCorporate social responsibility is the important issue in sustainable management. According to the Office of Small and Medium Enterprises Promotion report, SMEs considerably influence Thai economic, therefore we have to apply corporate social responsibility in business management in order to create sustainable management. The objectives of this research are 1) To study the level of SMEs’ corporate social responsibility. 2) To study the level of SMEs’ corporate social responsibility integration into business strategy and 3) To study the relationship among corporate social responsibility, corporate social responsibility integration into business strategy, corporate reputation and financial performance. The population is the 2,009 SMEs in electrical and electronics industry. The research tools are questionnaires. There are 208 companies completed and sent them back, which can be transferred to a response rate of 18.7%. Data analysis includes Pearson Correlation and Multiple Regression. The research findings indicate that SMEs have average to highest level of corporate social responsibility and average to high level of corporate social responsibility integration into business strategy. The high scores are planning. The average scores are taking action and evaluation because of lacking the budget, time and knowledge. The study clearly indicates that there are relationship among corporate social responsibility, business strategy, business reputation and financial performance. From the result, SMEs should run business with corporate social responsibility and integrate corporate social responsibility into business strategy in order to create reputation and get better financial performance. The government should provide financial support such as reduce taxes, environmental friendly machine purchasing and factory improving support. Moreover, the government should provide knowledge about corporate social responsibility and set up corporate social responsibility consultant for SMEs in order to create sustainable management.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1140-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจen_US
dc.subjectธุรกิจขนาดกลาง -- ไทยen_US
dc.subjectธุรกิจขนาดย่อม -- ไทยen_US
dc.subjectการวางแผนเชิงกลยุทธ์en_US
dc.subjectSocial responsibility of businessen_US
dc.subjectSmall business -- Thailanden_US
dc.subjectStrategic planningen_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคม กลยุทธ์กิจการ และผลประกอบการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeThe relationship among corporate social responsibility, business strategy and financial performance of small and medium Thai enterprisesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineบริหารธุรกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorchandrachai@yahoo.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.1140-
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
KanyaratChirawanichphon.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.