Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58891
Title: | ผลของการใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงต่อความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ |
Other Titles: | Effect of using mentorship model on nursing competency of new graduated nurses |
Authors: | ศิริมา โกมารทัต |
Advisors: | อารีย์วรรณ อ่วมตานี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Areewan.O@Chula.ac.th |
Subjects: | พยาบาลพี่เลี้ยง การสอนงาน Mentoring in nursing Job instruction |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงต่อความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือพยาบาลวิชาชีพที่สำเร็จการศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2548 จำนวน 19 คนซึ่งปฏิบัติงานร่วมกับพยาบาลพี่เลี้ยงที่ได้รับการอบรมเตรียมความพร้อมพยาบาลพี่เลี้ยงเป็นเวลา 1 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยง คู่มือการใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยง เครื่องมือที่ใช้ในการกำกับการทดลองได้แก่ แบบวัดความรู้เรื่องพยาบาลพี่เลี้ยง แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลพี่เลี้ยงและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการทดลอง ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ เครื่องมือวิจัยทั้งหมดผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิและตรวจสอบความเที่ยงของแบบวัดความรู้เรื่องพยาบาลพี่เลี้ยงได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 1.00 แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลพี่เลี้ยงได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .90 แบบวัดความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 วิธีการดำเนินการทดลอง หัวหน้าหอผู้ป่วยประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ ก่อนการทดลอง 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ห่างกัน 1 เดือน หลังจากนั้นพยาบาลพี่เลี้ยงได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติบทบาทที่ปรึกษาและผู้ให้คำปรึกษา บทบาทครู บทบาทผู้สนับสนุนและบทบาทผู้อำนวยความสะดวก เมื่อพยาบาลพี่เลี้ยงผ่านการประเมินจากการอบรมแล้ว จึงแสดงบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงในขณะปฏิบัติงานร่วมกับพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่เป็นเวลา 1 เดือนหลังการทดลอง หัวหน้าหอผู้ป่วยประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ อีกครั้ง (ครั้งที่ 3) ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์สถิติ โดยใช้ ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ ทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่หลังการใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purpose of this quasi-experimental research was to study effect of nursing competency of new graduated nurses after using the mentorship model. Research subjects consisted of 19 new graduated nurses who worked with a trained mentor for 1 month. Research instruments were mentorship model for new graduated nurses program, a manual of mentorship model for new graduated nurses, Mentorship Knowledge Questionnaire (MKQ), Activities of Mentorship Model Evaluation Questionnaire (AMMAQ), and Nursing Competency Evaluation of New graduated nurses Questionnaire (NCEQ). Panel experts tested all instruments for content validity. The reliability of MKQ, AMMAQ, NCEQ were 1,.90 and .96 respectively. According to the experiment, new graduated nurses were evaluated Nursing Competency by head nurses before experiment twice. (1 month- interval between Time 1 and Time 2). After that mentors were trained the roles of advisor and counselor, teacher, sponsor and resource facilitator. When the mentors passed the evaluation of being a mentorship. The mentor and new graduated nurse worked together for 1 month. After the experiment, new graduated nurses were evaluated Nursing Competency by head nurses again (Time 3). All data were analyzed by median, quartile deviation and Wilcoxon Signed Ranks test. Major finding was as follows: Nursing competency of new graduated nurses after the experiment were significantly higher than before the experiment at the .05 level |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบริหารการพยาบาล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58891 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1322 |
ISBN: | 9741429924 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.1322 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sirima_ko_front.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
sirima_ko_ch1.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
sirima_ko_ch2.pdf | 4.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
sirima_ko_ch3.pdf | 2.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
sirima_ko_ch4.pdf | 1.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
sirima_ko_ch5.pdf | 1.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
sirima_ko_back.pdf | 4.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.