Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58895
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร | - |
dc.contributor.author | เลิศวิทย์ เงินทาบ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | สมุทรสงคราม | - |
dc.date.accessioned | 2018-05-26T10:22:07Z | - |
dc.date.available | 2018-05-26T10:22:07Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58895 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาเรื่องพัฒนาการที่พักนักท่องเที่ยว บริเวณชุมชนริมคลองอัมพวา มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) อธิบายถึงที่มาและลักษณะการครอบครองที่พักนักท่องเที่ยว 2) วิเคราะห์ปัจจัยและประเด็นสำคัญของอาคารบ้านเรือน ที่ได้ปรับเปลี่ยนการใช้สอย มาเป็นที่พักนักท่องเที่ยว โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย ได้แก่ การวิจัยเอกสารจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและการวิจัยภาคสนาม โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลในการศึกษา จากการสำรวจภาคสนามด้านกายภาพ การสังเกตการณ์ทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบทั่วไปและเชิงลึก จากการศึกษาพบว่า มีที่พักนักท่องเที่ยว บริเวณชุมชนริมคลองอัมพวา ทั้งหมด 19 แห่ง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2547–2551 จำแนกเป็น (1) ในปี พ.ศ. 2548 มีที่พักนักท่องเที่ยว เกิดขึ้น 3 แห่ง โดยผู้ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (2) ในปี พ.ศ. 2549 มีที่พักนักท่องเที่ยวเกิดขึ้น 10 แห่ง โดยผู้ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และโดยกลุ่มลูกหลานหรือคนในครอบครัวผู้ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (3) ในปี พ.ศ. 2550 มีที่พักนักท่องเที่ยวเกิดขึ้น 3 แห่ง และ (4) ในปีพ.ศ. 2551 มีที่พักนักท่องเที่ยว เกิดขึ้น 3 แห่ง โดยกลุ่มลูกหลานหรือคนในครอบครัว ผู้ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และบุคคลภายนอกที่ไม่ได้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับชุมชน โดยมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงผู้ถือครองก่อนและหลัง การเกิดเป็นที่พักนักท่องเที่ยว 5 รูปแบบ ได้แก่ (1) จากผู้เช่าอาคาร มาเป็นผู้ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเดิม (2) จากผู้ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเดิม มาเป็น ผู้ถือครองใหม่โดยการซื้อ (3) จากผู้ถือครองที่ดินมาเป็นผู้เช่าที่ดิน (4) จากผู้ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มาเป็น ผู้เช่าอาคารและผู้เช่าช่วงอาคาร และ (5) ไม่มีการเปลี่ยนแปลง จากการวิเคราะห์และการสัมภาษณ์ สามารถสรุปปัจจัยต่างๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการได้ปรับเปลี่ยนการใช้สอยอาคารมาเป็นที่พักนักท่องเที่ยวได้ดังนี้ (ก) ปัจจัยหลัก ประกอบด้วย (1) โครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม (TCEP) (2) โครงการรื้อฟื้นตลาดน้ำอัมพวา (ข) ปัจจัยสนับสนุน ประกอบด้วย (1) มีความพร้อมด้านการลงทุน (2) ได้เข้าร่วมโครงการ TCEP (3) ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในอัมพวา (4) สิ่งปลูกสร้างมีพื้นที่ใช้สอยมากพอ (5) ความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้สอยอาคาร (6) เป็นการอนุรักษ์และรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนและบรรพบุรุษให้คงรูปแบบเดิมไว้ (7) ผลตอบแทนที่ผู้ประกอบการและชุมชนจะได้รับ และ (8) เป็นแรงจูงใจให้ลูกหลานอพยพกลับคืนถิ่นอัมพวา | en_US |
dc.description.abstractalternative | The aim of this research project is (1) to explain the historical background and the patterns of property ownership of tourist accommodation in the Amphawa waterfront neighborhood and (2) to analyze the factors contributing to changes in building function from residential to tourist accommodation in this area. The research methods used were a review of relevant literature and field research which includes data collection from an exploration of the area’s physical characteristics, participant observation and non–participant observation, general interviews and in–depth interviews. The findings of the study show that in this area, there were 19 tourist accommodations built from 2004 to 2008. Three of them were built in 2005 with property owners acting as entrepreneurs. Ten were built in 2006 with property owners and their children or other family members acting as entrepreneurs. Three were built in 2007 and the other three in 2008 with the children and other family members of the owners and some outsiders from the community acting as entrepreneurs. The patterns of land ownership before and after the building of tourist accommodation can be classified into 5 types: (1) from building tenants to property owners, (2) from original property owners to new property owners through property purchase, (3) from land owners to land tenants (4) from property owners to building tenants and sub–tenants and (5) no change in status. The interviews show that the factors motivating the property owners to convert their property into tourist accommodation can be categorized into two groups: (1) main factors and (2) secondary factors. The main factors included (1) Thailand Cultural Environment Project (TCEP) and (2) the Amphawa floating market revitalization project. The secondary factors are as follows: (1) the property owners wanted to make an INVESTMENT. (2) Property owners had an opportunity to join the Thailand Cultural Environment Project (TCEP). (3) Owners already had property and were settled in Amphawa district. (4) Owners’ property had sufficient space for development. (5) Owners wanted to optimize the use of existing buildings. (6) Owners wanted to conserve and maintain the community’s cultural heritage passed down from their ancestors. (7) Owners were aware of the returns that they and the community would receive by developing their property and (8) they believed that converting and updating their properties would motivate their offspring to return to live in Amphawa. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1032 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | สถานตากอากาศ -- ไทย -- สมุทรสงคราม | en_US |
dc.subject | การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ -- ไทย -- สมุทรสงคราม | en_US |
dc.subject | ชุมชนริมน้ำ -- ไทย -- สมุทรสงคราม | en_US |
dc.subject | คลองอัมพวา | en_US |
dc.subject | ชุมชนริมคลองอัมพวา | en_US |
dc.subject | Resorts -- Thailand -- Samut Songkhram | en_US |
dc.subject | Ecotourism -- Thailand -- Samut Songkhram | en_US |
dc.subject | Waterfronts -- Thailand -- Samut Songkhram | en_US |
dc.subject | Amphawa Canel | en_US |
dc.subject | Amphawa Waterfront | en_US |
dc.title | พัฒนาการที่พักนักท่องเที่ยว บริเวณชุมชนริมคลองอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม | en_US |
dc.title.alternative | Tourist Accommodation Development in the Amphawa Waterfront Neighborhood, Amphawa District, Samut Songkhram Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | สถาปัตยกรรม | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Terdsak.T@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.1032 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
lertwit_ng_front.pdf | 1.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
lertwit_ng_ch1.pdf | 565.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
lertwit_ng_ch2.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
lertwit_ng_ch3.pdf | 590.31 kB | Adobe PDF | View/Open | |
lertwit_ng_ch4.pdf | 6.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
lertwit_ng_ch5.pdf | 3.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
lertwit_ng_ch6.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
lertwit_ng_back.pdf | 757.65 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.