Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58996
Title: ปัจจัยด้านนักเรียนและครูที่ส่งผลต่อความต้องการจำเป็นด้านคุณภาพนักเรียน : การวิเคราะห์พหุระดับ
Other Titles: Student and teacher factors affecting needs for student quality : a multilevel analysis
Authors: พงศ์วัชร ฟองกันทา
Advisors: อวยพร เรืองตระกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: No information provided
Subjects: การประเมินความต้องการจำเป็น
การวิเคราะห์พหุระดับ
นักเรียน -- คุณภาพ
Needs assessment
Multilevel analysis
Students -- Quality
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความต้องการจำเป็นด้านคุณภาพนักเรียน 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลปัจจัยระดับนักเรียนและปัจจัยระดับห้องเรียนที่มีผลต่อความต้องการจำเป็นด้านคุณภาพนักเรียน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลเชิงเส้นลดหลั่น (hierarchical linear model) เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 690 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามปัจจัยระดับนักเรียนและระดับห้องเรียนที่ส่งผลต่อความต้องการจำเป็นด้านคุณภาพนักเรียน ความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.66 - 0.86 ข้อมูลที่ได้ประกอบด้วย ตัวแปรระดับนักเรียนและ ตัวแปรระดับห้องเรียน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ด้วยโมเดลเชิงเส้นตรงระดับลดหลั่นด้วยโปรแกรมเอชแอลเอ็ม สรุปผลการวิจัยที่สำคัญได้ดังนี้ 1.นักเรียนมีความต้องการจำเป็นในด้านคุณภาพนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางและมีความต้องการจำเป็นด้านคุณภาพนักเรียนด้านความดีอยู่ในระดับค่อนข้างมาก รองลงมาคือความต้องการจำเป็นด้านคุณภาพนักเรียนด้านความเก่ง อยู่ในระดับปานกลางและต้องการจำเป็นด้านคุณภาพนักเรียนด้านการมีความสุข อยู่ในระดับปานกลาง 2.ตัวแปรระดับนักเรียน ได้แก่ ตัวแปรความอดทน มีอิทธิพลทางลบต่อความต้องการจำเป็นด้านคุณภาพนักเรียนโดยรวม ความต้องการจำเป็นด้านคุณภาพนักเรียนด้านความเก่งและความต้องการจำเป็นด้านคุณภาพนักเรียนด้านความดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และตัวแปรการได้รับการยอมรับจากผู้อื่น มีอิทธิพลทางลบต่อความต้องการจำเป็นด้านคุณภาพนักเรียนด้านความเก่งและความต้องการจำเป็นด้านคุณภาพนักเรียนด้านการมีความสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3.ตัวแปรระดับห้องเรียนไม่มีอิทธิพลต่อความต้องการจำเป็นด้านคุณภาพนักเรียนโดยรวมและรายด้าน
Other Abstract: This research aimed to 1) determine the level of needs for student quality and 2) analyze the student and classroom factors affecting needs for student quality. The main tool is the hierarchical linear model analysis. The sample of this study was 690 students in grades 10-12. The instruments used to collect the data were student and classroom factors affecting needs for student quality questionnaires with a reliability between 0.66 to 0.86. The data consisted of the variables of student level and variable of classroom level and the hierarchical linear model analysis by HLM program was applied. The major results are as follows: 1. The major needs of the student quality were at the average level and the first needs of student quality of affection were at the rather high level. The second needs of student quality of cognition were at the middle level. Finally, needs of student quality of happiness were at the middle level 2. The student-level variable of endurance has a negative significant effect on the needs for student quality, needs of student quality of cognition and needs of student quality of affection. The student-level variable of acceptance has a negative significant effect on the needs for student quality of cognition and needs of student quality of happiness. 3. The room-level variable does not have a significant effect on the needs for student quality.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58996
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.852
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.852
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongwat Fongkanta.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.