Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59012
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนันทวัฒน์ บรมานันท์-
dc.contributor.advisorรังสิกร อุปพงศ์-
dc.contributor.authorอุษณีย์ ลี้วิไลกุลรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-06-03T05:20:16Z-
dc.date.available2018-06-03T05:20:16Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59012-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractศาลปกครองได้จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมาย ของการกระทำทางปกครอง หากศาลพบเหตุแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะมีอำนาจในการพิพากษาเพิกถอนการกระทำทางปกครองนั้น ทั้งนี้ เพื่อเยียวยาแก้ไขความเดือดร้อนเสียหายให้แก่ประชาชน ผู้ฟ้องคดี ดังนั้น การศึกษาในวิทยานิพนธ์นี้จึงมุ่งศึกษาหลักเกณฑ์ วิธีการ ผลทางกฎหมาย และผลกระทบของการที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาให้เพิกถอนกฎ ซึ่งเป็นการกระทำทางปกครองประเภทหนึ่ง โดยเฉพาะกรณีการพิพากษาเพิกถอนกฎโดยให้มีผลย้อนหลัง จากการศึกษาพบว่าในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษา ให้เพิกถอนกฎ โดยให้มีผลย้อนหลัง ซึ่งฝ่ายปกครองจะต้องทำให้ผลที่เกิดขึ้นแล้วของกฎนั้นหมดสิ้นไป จึงทำให้เกิดปัญหาและผลกระทบในการปฏิบัติตามคำพิพากษาบางประการ เช่น 1) ปัญหาจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการเพิกถอนกฎ 2) ปัญหาเกี่ยวกับการประกาศผลแห่งคำพิพากษาให้ เพิกถอนกฎในราชกิจจานุเบกษา 3) ปัญหาช่องว่างทางกฎหมายกรณีกฎถูกเพิกถอน 4) ปัญหาผลกระทบของคำพิพากษาให้เพิกถอนกฎโดยให้มีผลย้อนหลัง ผลการศึกษาตามวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ได้เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบของ การพิพากษาเพิกถอนกฎโดยให้มีผลย้อนหลัง โดยได้ศึกษาเปรียบเทียบกับแนวทางและผลของ การเพิกถอนกฎในต่างประเทศได้แก่ ประเทศฝรั่งเศสและประเทศเยอรมัน ทั้งนี้ จากการศึกษาวิจัยได้เสนอ ดังนี้ (1) เมื่อศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนกฎ เห็นสมควรให้สำนักงานศาลปกครอง ซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามคำบังคับของศาลปกครอง ประสานงานให้มีการประกาศผลแห่ง คำพิพากษาดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้ประกาศดังกล่าวมีผลเป็นการเพิกถอนกฎให้เร็วที่สุดทันทีที่ศาลปกครองมีคำพิพากษา (2) ให้ศาลปกครองสร้างหลักกฎหมายในการจำแนกระดับความร้ายแรงของความไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ศาลจะใช้อ้างเป็นเหตุในการเพิกถอนกฎ (3) กรณีศาลจะมีคำพิพากษา เพิกถอนกฎ โดยทั่วไปแล้วควรจะให้มีผลนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เพื่อให้ ฝ่ายปกครองดำเนินการแก้ไขหรือออกกฎใหม่ให้ถูกต้อง โดยกำหนดระยะเวลาให้ฝ่ายปกครองดำเนินการ เพื่อมิให้กระทบต่อการดำเนินการของฝ่ายปกครองที่ผ่านมา หรือสมควรที่ศาลจะระบุข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา (4) ให้สำนักงานศาลปกครอง รวบรวมปัญหาในการปฏิบัติที่เกิดขึ้นในการดำเนินการบังคับคดีเพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษา ทั้งปัญหาข้อกฎหมายและปัญหาอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอต่อศาลปกครองเป็นข้อมูลในการประกอบการพิจารณากำหนดคำบังคับให้เป็นธรรมแก่กรณี และให้ฝ่ายปกครองสามารถปฏิบัติตามคำพิพากษาได้อย่างถูกต้อง ภายในกำหนดเวลาเพื่อเยียวยาความเดือดร้อนเสียหาย ให้แก่ผู้ฟ้องคดีได้อย่างรวดเร็วต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeThe Administrative Court has been established for scrutinizing the legality of the administrative action. If the court has found a cause of illegality of such action, it will have had the competence to make a revocation judgment with the purpose of the redress of plaintiffs’ injuries. Consequently, this thesis has aimed to study about the standard, means, and legal impacts on the cases that the Administrative Court makes a judgment on revocation of rules, which especially has a retroactive effect. This study has been found that when the court makes a judgment on revocation of rules having a retroactive effect, there have been following problems and impacts to comply with a judgment: some provisions concerning revocation of rules, publishing the result of the judgment in the Government Gazette, and gap in provisions relating to revoked rules problems, and impacts of a judgment on revocation of rules having a retroactive effect. According to this thesis, the writer has suggested the means to solve those problems by comparing with the standard and means of the revocation of rules in France and Germany. Such means are as follows. (1) When the Administrative Court issues a final judgment to revoke rules, the office of the Administrative Courts, which is responsible for conducting execution of decrees, should manage to publish the revocation of rules in the Government Gazette as fast as the issue of the Administrative Court judgment. (2) The Administrative Court should develop the legal principle by categorizing the level of violence in the illegality of revoked rules by the court. (3) If the judgment impacts on individual liberty and public interest, it should take effect as from the date the revocation of rules is published. This is because the administrative agencies can amend the rules or issue the new lawful rules within reasonable time so as not to affect actions already done by the administrative agencies. Besides the Administrative Court should have comments about the means or the technique to comply with the judgments. (4) The office of the Administrative Courts should collect the legal and other problems about the conducting execution of decrees process in practice in order to make suggestions to the Administrative Court in issuance decree as justice in a particular case shall requires, and to the administrative agencies in compliance with the judgment correctly within reasonable time for the redress of plaintiffs’ injuries speedily.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.589-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคำพิพากษาศาลen_US
dc.subjectศาลปกครองen_US
dc.subjectกฎหมายปกครองen_US
dc.subjectการควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของนิติกรรมทางปกครองen_US
dc.subjectSentences (Criminal procedure)en_US
dc.subjectAdministrative courtsen_US
dc.subjectAdministrative lawen_US
dc.subjectJudicial review of administrative actsen_US
dc.titleผลกระทบของการพิพากษาเพิกถอนกฎโดยให้มีผลย้อนหลัง : ศึกษาคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด กรณี กฟผ.en_US
dc.title.alternativeRetroactive effect of judgement on revocation of rules : case study of the Supreme Administrative Court's judgement on the Electricty Generating Authority of Thailand (EGAT)en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisornantawat.b@chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.589-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
usanee_le_front.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
usanee_le_ch1.pdf810.5 kBAdobe PDFView/Open
usanee_le_ch2.pdf9.09 MBAdobe PDFView/Open
usanee_le_ch3.pdf11.52 MBAdobe PDFView/Open
usanee_le_ch4.pdf6.14 MBAdobe PDFView/Open
usanee_le_ch5.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open
usanee_le_back.pdf871.54 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.