Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59038
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระพงษ์ บุญโญภาส-
dc.contributor.authorทักษอร สุวรรณสายะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-06-06T08:09:28Z-
dc.date.available2018-06-06T08:09:28Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59038-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2551en_US
dc.description.abstractสังคมกำลังประสบกับปัญหาอาชญากรรม ที่นับวันก็มีแต่จะเพิ่มพูนรูปแบบและวิธีการ ทำให้ยากต่อการป้องกันปราบปรามผู้กระทำผิด ซึ่งกฎหมายหลายฉบับถูกบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมแก้ไขปัญหานี้ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ก็เป็นหนึ่งในกฎหมายที่ ถูกบัญญัติขึ้น สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินถูกสร้างขึ้น พร้อมกับการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการฟอกเงิน เพื่อป้องปราบปัญหาอาชญากรรมในสังคม แต่การดำเนินงานจะสำเร็จลุล่วงไม่ได้ หากขาดบุคลากรผู้ขับเคลื่อนองค์กร นั่นคือ พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีหน้าที่หลักในการตรวจสอบธุรกรรม และทรัพย์สินของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานและการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน เรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำ รวบรวมพยานหลักฐานเสนอต่อคณะกรรมการธุรกรรม จัดทำสำนวน ร่วมมือประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งจับกุมผู้กระทำความผิดฐานฟอกเงิน เป็นต้น ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวมีโอกาสที่จะกระทบสิทธิเสรีภาพของบุคคลเป็นอย่างมาก ดังนั้น จึงมีประเด็นปัญหาว่า พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ได้มีการบัญญัติอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ขอบเขตการใช้อำนาจ การกำกับดูแล หรือควบคุมการใช้อำนาจอย่างเหมาะสมเพียงไร จากการศึกษาพบว่า บทบัญญัติมาตรา 22 ,38 ,38/1 ,46 และมาตรา 56 ในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ซึ่งกล่าวถึงอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ยังมีบางกรณีที่มีความไม่ชัดเจน มีขอบเขตการใช้อำนาจที่ไม่แน่ชัด โดยเฉพาะในกรณีอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ก่อนเลขาธิการมีคำสั่งมอบหมาย และ กรณีอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการทางอาญากับผู้กระทำความผิดฐานฟอกเงิน ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบทั้งในเรื่องการดำเนินงานที่ไม่สอดคล้องเป็นทิศทางเดียวกัน คือ ขึ้นอยู่กับการตีความของแต่ละบุคคล ทั้งยังส่งผลกระทบต่อสิทธิของบุคคลผู้เกี่ยวข้องในคดี ด้วยเหตุนี้ จึงควรมีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ให้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ กำหนดขอบเขตการใช้อำนาจที่ชัดเจน เพื่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ลดข้อขัดแย้งในการทำงาน และรักษาไว้ซึ่งสิทธิประโยชน์ของบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีen_US
dc.description.abstractalternativeSociety is now being confronted by various kinds of crime which is complicated and difficult to control. Plenty of laws and regulations have been passed with an aim to resolve those problems. For the Money Laundering issue, the Anti-Money Laundering Control Act B.E.2542 has become effective and created an office of Anti-Money Laundering. Publication was conducted for better understanding of money laundering process to subjugate those crimes. However, the objective could not be accomplished without potential officer. In order to undertake a duty according to the Act, human rights issue became a controversial problem since the officer have a power to investigate transactions and asset of suspected person involved in money laundering procedures or predicate offense, issue a written inquiry or summon anyone to make a statement, collect evidence submitting to the Transaction Committee, prepare a petition, cooperate with involved authorities including arrest anyone committing a money laundering offense etc. This study found that there are some ambiguous issues concerning the authority of the officer according to article 22, 38, 38/1, 46 and 56 of the Anti-money Laundering Control Act B.E. 2542, for example the authority’s before having been designated by the Secretary-General and to proceed the case accordance to a money laundering offense. In summary, an amendment of the Anti-money Laundering Act B.E. 2542 should be introduced to clarify officer’s authority and its limitation to increase efficiency, reduce contradictions and maintain the rights of anyone involved.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1094-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการฟอกเงิน -- ความผิดทางอาญาen_US
dc.subjectพยานหลักฐานen_US
dc.subjectอาชญากรรมทางเศรษฐกิจen_US
dc.subjectพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542en_US
dc.subjectพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2519en_US
dc.subjectพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547en_US
dc.subjectMoney laundering -- Law and legislationen_US
dc.subjectEvidenceen_US
dc.subjectWhite collar crimesen_US
dc.titleพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 : ศึกษากรณีอำนาจในการรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานเจ้าหน้าที่en_US
dc.title.alternativeAnti-Money laundering control act B.E.2542 : study of the authority of officer in order to collecting evidenceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorvboonyobhas@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.1094-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Taksaorn Suwannasaya.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.