Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59224
Title: การประเมินวัฏจักรชีวิตของไคโตซานจากเปลือกกุ้ง กระดองปูและแกนปลาหมึก
Other Titles: Life cycle assessment for the chitosan production by shrimp shells, crab shells and squid pens
Authors: สุดารัตน์ แก้วสีลาม
Advisors: ไพศาล กิตติศุภกร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Paisan.K@Chula.ac.th
Subjects: ไคโตแซน
วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
Chitosan
Product life cycle
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้การประเมินวัฏจักรชีวิตเพื่อประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของกระบวนการผลิตไคโตซาน โดยขอบเขตที่พิจารณาตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบจนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ โดยเลือกพิจารณากระบวนการผลิตสามกระบวนการที่มีวัตถุดิบที่แตกต่างกัน ได้แก่ กระบวนการผลิตแบบที่ 1 ใช้เปลือกกุ้งเป็นสารตั้งต้นในการผลิต กระบวนการผลิตแบบที่ 2 ใช้กระดองปูเป็นสารตั้งต้นในการผลิต และกระบวนการผลิตแบบที่ 3 ใช้แกนปลาหมึกเป็นสารตั้งต้นในการผลิต โปรแกรม HYSYS ถูกใช้เพื่อจำลองแบบกระบวนการพร้อมสร้างข้อมูลปริมาณวัตถุดิบ พลังงานที่ใช้และปริมาณสารที่ออกจากกระบวนการผลิต และดัชนีสิ่งแวดล้อม Eco-indicator 99 ได้นำมาใช้เพื่อประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นดัชนีที่สามารถประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ครอบคลุมทั้งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์ ต่อระบบนิเวศน์และการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งผลการศึกษาทั้งสามขอบเขตคือ ขอบเขตขั้นตอนการผลิตวัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิตไคโตซาน และขั้นตอนการผลิตตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงการผลิตไคโตซาน พบว่า กระบวนการผลิตแบบที่ 2 มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ส่วนกระบวนการผลิตแบบที่ 3 มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
Other Abstract: In this research, life cycle assessment (LCA) has been applied to evaluate environmental impacts of chitosan production processes. Three different production alternatives have been considered including 1) the process using shrimp shells as raw material, 2) the process using crab shells as raw material, and 3) the process using squid pens as raw material. HYSYS software has been used to perform simulation and to obtain information on amount of raw material, energy consumed and material streams leaving the production process. Eco-indicator 99, one of environmental assessment indicator, has been used to quantify the environment impacts. This indicator is able to cover the evaluation of all environmental impacts which are human health, ecosystem and resource depletion. Simulation results show that all scope (raw materials production, chitosan production and cradle-to-gate), alternative 2 has the lowest environmental impacts and alternative 3 has the highest environmental impacts.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59224
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2155
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.2155
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sudarat Kaewseelam.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.