Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59381
Title: | การพัฒนาเครื่องมือประเมินพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรทางการพยาบาลโดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงปัญญา |
Other Titles: | Development of a nursing caring behavior assessment instrument using the cognitive interview technique |
Authors: | ชุติมา สืบวงศ์ลี |
Advisors: | ศิริเดช สุชีวะ สุวิมล ว่องวาณิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Siridej.S@Chula.ac.th Suwimon.W@Chula.ac.th |
Subjects: | พยาบาล -- การประเมิน การพยาบาล -- การประเมิน การประเมินพฤติกรรม จิตวิทยาการรู้คิด Nurses -- Rating of Nursing -- Rating of Behavioral assessment Cognitive psychology |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการสัมภาษณ์เชิงปัญญาสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลด้านการดูแลอย่างเอื้ออาทรทางการพยาบาล 2) ศึกษาคุณลักษณะและองค์ประกอบของการดูแลอย่างเอื้ออาทรทางการพยาบาลในบริบทของสังคมไทย 3) พัฒนาเครื่องมือประเมินพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรทางการพยาบาลโดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงปัญญา และ 4) ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ที่อยู่ในบริบทของการดูแลอย่างเอื้ออาทร ได้แก่ ผู้ป่วย/ญาติ พยาบาล อาจารย์พยาบาล และนักศึกษาพยาบาล จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,092 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติบรรยาย ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยการวิเคราะห์ความเที่ยง ความตรงเชิงเนื้อหา ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์และความตรงเชิงโครงสร้าง ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ว่า 1 ผลการสัมภาษณ์เชิงปัญญา (นัยยะที่1) ได้ข้อสรุปองค์ประกอบจำนวน 4 ด้าน คือ 1) การมีสัมพันธภาพต่อผู้ป่วย 2) ความเมตตากรุณา 3) การเคารพและให้เกียรติผู้ป่วย และ4) ความรู้และความสามารถเชิงวิชาชีพ 2. ผลการสัมภาษณ์เชิงปัญญา (นัยยะที่2) ได้เปลี่ยนคำว่า “ปฏิบัติการพยาบาล” เป็น “การดูแล” และตัดข้อคำถามในเครื่องมือฉบับร่างออกจำนวน 3 ข้อ 3. เครื่องมือฉบับสมบูรณ์ มีจำนวน 24 ข้อ ลักษณะเป็นมาตรวัดแบบลิเคิร์ต สเกล 5 ระดับ 4. ผลการตรวจสอบความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในได้ ค่าสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.837 และความเที่ยงรายองค์ประกอบ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.362-0.820 5. ผลการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ได้ IOC เฉลี่ย เท่ากับ 0.79 และ IOC รายข้อมีค่าอยู่ระหว่าง 0.44 - 1.00 6. ผลการตรวจสอบความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์กับเครื่องมือเกณฑ์จำนวน 2 ฉบับ พบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันเท่ากับ 0.909 และ 0.881 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 7. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ได้องค์ประกอบของการดูแลอย่างเอื้ออาทรทางการพยาบาลจำนวน 6 องค์ประกอบดังนี้ 1) การสร้างสัมพันธภาพ (6 ข้อ) 2) ความสามารถและทักษะเชิงวิชาชีพ (6 ข้อ) 3) ความเมตตากรุณาและความเห็นอกเห็นใจ (4 ข้อ) 4) การให้คำแนะนำที่ครอบคลุมทั้งกายและใจ (3 ข้อ) 5) การใส่ใจอย่างแท้จริง (3ข้อ) และ 6) การเคารพความเป็นบุคคลของผู้ป่วย (2 ข้อ) 8. การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันแบบสองขั้นตอน พบว่า โมเดลการดูแลอย่างเอื้ออาทรทางการพยาบาล มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2 = 240.75, df = 207, p = .054,GFI= 0.96 AGFI= 0.95 RMSEA= 0.017 RMR= 0.023) |
Other Abstract: | The research objectives were 1) to develop the cognitive interview process for collecting data in nursing caring 2) to study the attributes and nursing caring factors in Thai context, 3) to develop instrument assessing nursing caring behavior, NCBA, (Nursing Caring Behavior Assessment) using cognitive interview technique and 4) to examine NCBA quality validation. The research samples were 1,092 people consisted of patients, nurses, nursing instructors, and nursing students. The data were analyzed by content analysis, descriptive statistics, and validate quality of instrument with reliability, content validity, concurrent validity, and construct validity. The major finding were summarized as follows: 1. The result of cognitive interviewing (result 1) indicated the attributes and nursing caring factors in Thai context consisted of 4 factors; 1) relationship with patient, 2) compassion, 3) respect and 4) knowledge and professional competency. 2. The result of cognitive interviewing (result 2) showed the ambiguous term “nursing” was replaced with “caring” and 3 question items were deleted. 3. The nursing caring behavior assessment instrument (NCBA) consisted of 24 items in 5-points Likert scale 4. The internal consistency reliability (α) of NCBA was 0.837 of Cronbach’s alpha coefficient, and the component scale reliability ranged from 0.362 to 0.820. 5. The content validity of NCBA derived from IOC average was 0.79 and IOC value of each item ranged from 0.44 to 1.00. 6. The concurrent validity of NCBA and 2 criterion tools showed Pearson’s product moment coefficient was 0.909 and 0.881 with statistical significance at 0.01. 7. The results of exploratory factor analysis indicated 6 components of nursing care behavior; those were 1) Building relationship (6 items) ,2) Professional competency & skills (6 items), 3) Compassion (4 items), 4) Holistic information (3 items), 5) Attention (3 items), and 6) Respect (2 items). 8. The structural validity using second order confirmatory factor analysis showed the model fit well with the empirical data set (X2 = 240.75, df = 207, p = .054, GFI= 0.96 AGFI= 0.95 RMSEA= 0.017 RMR= 0.023). |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59381 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1587 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1587 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chutima Suebwonglee.pdf | 2.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.