Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5949
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ | - |
dc.contributor.author | วิไลลักษณ์ จูวราหะวงศ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-02-22T05:00:06Z | - |
dc.date.available | 2008-02-22T05:00:06Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9743471103 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5949 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับวรรณยุกต์ภาษาไทยกรุงเทพฯ ในคำพูดเดี่ยวและคำพูดต่อเนื่องที่ออกเสียงโดยคนไทย คนแต้จิ๋ว และคนซิกข์ วรรณยุกต์ภาษาไทยกรุงเทพฯที่ออกเสียงโดยคนแต้จิ๋วและคนซิกข์เป็นงานหลักในการวิจัย ส่วนวรรณยุกต์ภาษาไทยกรุงเทพฯที่ออกเสียงโดยคนไทยเป็นการวิเคราะห์สำหรับใช้อ้างอิง ประกอบการตีความและเปรียบเทียบกับงานหลักว่า วรรณยุกต์ภาษาไทยกรุงเทพฯที่ออกเสียงโดยคนแต้จิ๋วและคนซิกข์เหมือนหรือต่างจากการออกเสียงโดยคนไทยหรือเจ้าของภาษาหรือไม่ อย่างไร การศึกษาวรรณยุกต์แบ่งออกเป็น 2 เรื่อง คือ 1) ระบบวรรณยุกต์ที่วิเคราะห์จากวรรณยุกต์ในคำพูดเดี่ยว และ 2) สัทลักษณะหลักและสัทลักษณะย่อยหรือรูปแปรของวรรณยุกต์จากคำพูดเดี่ยวและคำพูดต่อเนื่อง การเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์วรรณยุกต์จากผู้บอกภาษาทั้งหมด 30 คน แบ่งเป็นผู้บอกภาษาที่เป็นคนไทย 10 คน คนแต้จิ๋ว 10 คน และคนซิกข์ 10 คน ซึ่งแต่ละกลุ่มแบ่งเป็นผู้บอกภาษาเพศชาย 5 คน และเพศหญิง 5 คน ระบบวรรณยุกต์ภาษาไทยกรุงเทพฯในคำพูดของคนไทย คนแต้จิ๋ว และคนซิกข์เหมือนกัน ส่วนสัทลักษณะของวรรณยุกต์แตกต่างกัน วรรณยุกต์ภาษาไทยที่ออกเสียงโดยคนแต้จิ๋วและคนซิกข์ที่ปรากฏในคำพูดเดี่ยวมีสัทลักษณะที่คล้ายกับการออกเสียงของคนไทย ในขณะที่วรรณยุกต์ในคำพูดต่อเนื่องที่ออกเสียงโดยคนแต้จิ๋วและคนซิกข์ต่างจากการออกเสียงของคนไทย สัทลักษณะของวรรณยุกต์ภาษาไทยกรุงเทพฯที่ออกเสียงโดยคนไทยต่างไปจากงานวิจัยที่ผ่านๆ มา วรรณยุกต์ภาษาไทยกรุงเทพฯ แบ่งออกเป็น วรรณยุกต์ระดับ 2 หน่วยเสียง ได้แก่ วรรณยุกต์สามัญ และวรรณยุกต์เอก ส่วนวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ 3 หน่วยเสียง ได้แก่ วรรณยุกต์โท วรรณยุกต์ตรี และวรรณยุกต์จัตวา วรรณยุกต์สามัญ และวรรณยุกต์เอกในคำพูดเดี่ยวและคำพูดต่อเนื่อง เป็นวรรณยุกต์ที่มีปัญหาสำหรับคนแต้จิ๋ว ในขณะที่วรรณยุกต์ตรีเป็นวรรณยุกต์ที่มีปัญหามากที่สุดสำหรับคนซิกข์ และเมื่อนำวรรณยุกต์ที่คนแต้จิ๋วและคนซิกข์ออกเสียงต่างจากคนไทยไปเปรียบเทียบกับวรรณยุกต์ในภาษาแม่ของคนแต้จิ๋วและคนซิกข์ ซึ่งผู้วิจัยได้วิเคราะห์วรรณยุกต์ภาษาจีนแต้จิ๋วและวรรณยุกต์ภาษาปัญจาบีในงานวิจัยนี้ด้วย ได้พบว่า คนแต้จิ๋วและคนซิกข์นำสัทลักษณะของวรรณยุกต์บางลักษณะในภาษาแม่มาใช้กับการออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาที่ 2 ขงคนแต้จิ๋วและคนซิกข์ การออกเสียงวรรณยุกต์ที่ต่างออกไปของคนแต้จิ๋วและคนซิกข์ที่ไม่สามารถหาคำตอบได้จากวรรณยุกต์ในภาษาแม่และปัจจัยแวดล้อมทางเสียง อาจเนื่องมาจากปรากฎการณ์อันตรภาษา | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research is to analyze and compare the tones of Bangkok Thai as spoken by the Thai, the Chao Zhou and the Sikhs. Tones in Bangkok Thai citation forms and connected speech in the speech of the Thai are used as the reference; the study of tones in the speech of the Chao Zhou and the Sikhs is the target of the work. The major aim is to find out to what extent the Thai tones in the speech of the Chao Zhou and the Sikhs differ from the tones in the speech of the native speakers of Bangkok Thai. The study focuses on two aspects: the tonal systems in citation form and the tonal characteristics in both citation forms and connected speech. The tones produced by thirty informants, the Thai, the Chao Zhou and the Sikhs have been analyzed. Each group consisted of ten speakers, five males and five females. The results show that the Thai tonal systems in the speech of the Thai, the Chao Zhou and the Sikhs are the same, but the tonal characteristics are different, less in citation form and more in connected speech. The tonal characteristics of Bangkok Thai in the speech of the native speakers indicate a difference from the traditional analysis: two static tones instead of three, and three dynamic tones instead of two. The Chao Zhou have some problems when they produce the mid tone and the low tone. The high tone causes a lot of problems for the Sikhs. Some interferences from the tones in their native languages can be detected. The deviations that cannot be explained may be due to "interlanguage" phenomena | en |
dc.format.extent | 11305603 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.200 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ภาษาไทย -- วรรณยุกต์ | en |
dc.subject | ภาษาไทย -- การออกเสียง | en |
dc.title | วรรณยุกต์ภาษาไทยกรุงเทพฯ ที่พูดโดยคนไทย คนแต้จิ๋ว และคนซิกซ์ | en |
dc.title.alternative | Tones in Bangkok Thai spoken by the Thai, the Chao Zhou and the Sikhs | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ภาษาศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Theraphan.L@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2000.200 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wilailuck.pdf | 11.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.