Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59573
Title: | การพัฒนาแบบฝึกการวาดลวดลายกระหนกสำหรับนักศึกษาศิลปะระดับปริญญาตรี |
Other Titles: | DEVELOPMENT OF KRANOK ORNAMENT DRAWING SKILL EXERCISES FOR UNDERGRADUATE STUDENTS |
Authors: | ธัฐบดินทร์ บุญเนื่อง |
Advisors: | อภิชาติ พลประเสริฐ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Apichart.P@Chula.ac.th,apicharr@hotmail.com |
Subjects: | จิตรกรรมไทย การสอนด้วยสื่อ Painting, Thai Teaching -- Aids and devices |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.วิเคราะห์ปัญหาในการวาดลวดลายกระหนกของนักศึกษาศิลปะระดับปริญญาตรี 2.เพื่อพัฒนาแบบฝึกการวาดลวดลายกระหนกจากความเห็นของอาจารย์ผู้สอนจิตรกรรมไทยลวดลายกระหนกและผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนและผลิตสื่อการสอน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ 1. นักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ศึกษาวิชาจิตรกรรมไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาลัยเพาะช่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.1 นักศึกษาที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 20 คน 1.2 นักศึกษาที่กำลังศึกษาในปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2559 ชั้นปีละ 5 คน 2. อาจารย์ผู้สอนจิตรกรรมไทยลวดลายกระหนก จำนวน 5 ท่าน 3. ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนและผลิตสื่อการสอน จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบวิเคราะห์ผลงานของผู้เรียน แบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัยสำหรับนักศึกษา แบบสอบถามการวิจัยสำหรับอาจารย์ผู้สอนจิตรกรรมไทย แบบสังเกตการเรียนการสอน แบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัยสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนและผลิตสื่อการสอนและแบบประเมินแบบฝึกลวดลายกระหนกสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนและผลิตสื่อการสอน ผลการวิจัยพบว่า 1.ผู้เรียนประสบปัญหาด้านทักษะและความเข้าใจในรายละเอียดและสัดส่วนของตัวลายเป็นส่วนมาก 2.การพัฒนาแบบฝึกการวาดลวดลายกระหนกจากข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนและผลิตสื่อการสอน มีเนื้อหาด้านรายละเอียดเป็นไปตามลำดับขั้นตอน อธิบายขั้นตอนการวาด โครงสร้าง องค์ประกอบย่อยและสัดส่วนของลวดลายกระหนกได้ชัดเจน โดยแสดงขั้นตอนการวาดที่สอดคล้องต่อเนื่องกัน ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และสามารถฝึกทบทวนได้ด้วยตนเองได้ 3.การประเมินของผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนและผลิตสื่อการสอน ให้ความเห็นในระดับมากที่สุด ในด้านคุณลักษณะแบบฝึกที่ดีและด้านเนื้อหาการเรียนและโครงสร้างแบบฝึกที่ดี |
Other Abstract: | The objectives of this research were 1.To analyse Kranok ornament drawing obstacles from undergraduate students 2. To develop of Kranok ornament drawing exercises from opinions by Thai art teachers and specialists. The samplers were 1. Undergraduate students from Poh-Chang academy of art, Rajamangala University of Technology Rattanakosin divided into 2 groups 1.1) Twenty of first year undergraduate students who enrolled in Thai Painting in 2015 1.2) Twenty of first to fourth undergraduate students who enrolled in Thai Painting in 2015 2) Five Thai art instructor 3) Five specialists of teaching and instruction media. The research tools consists of 1) Analysis form for students’ Kranok drawing. 2) Interview form for students. 3) Questionnaires for Thai painting instructors. 4) Teaching observation form. 5) Interview form for teaching and media instruction specialists. 6) Kranok drawing exercises evaluation form for teaching and media instruction specialists. The result of this research were as follows: 1) Students have problems in drawing skills and understanding of details and proportion of Kranok. 2) Kranok ornament drawing exercises developed from the teaching and media instruction specialists’ opinions consist of clear contents order. Clearly explained drawing steps, details of Kranok structure and proportion. The illustration of drawing processes are consistent and easy to follow. Students can use this Kranok drawing exercises to review and practice by themselves. The evaluation by teaching and instruction media specialists rated Highest score for its appropriate features in contents and structure. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ศิลปศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59573 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1489 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.1489 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5783397927.pdf | 8.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.