Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59587
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์ | - |
dc.contributor.author | เทอดเกียรติ เอี่ยมรอด | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-09-14T05:08:54Z | - |
dc.date.available | 2018-09-14T05:08:54Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59587 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 | - |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีความมุ่งหมายในการศึกษาเรื่องการให้ความคุ้มครองนักท่องเที่ยวอิสระและสภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพให้แก่นักท่องเที่ยวอิสระที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยมีการศึกษาถึงบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีการรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพด้านการท่องเที่ยว รวมถึงเสรีภาพในชีวิตร่างกายและสิทธิในทรัพย์สิน ควบคู่ไปกับการรับรองสิทธิเสรีภาพด้านการท่องเที่ยวตามหลักจรรยาบรรณการท่องเที่ยวโลกและวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกรณีศึกษาในต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยยังขาดบทบัญญัติทางกฎหมายที่มีผลในการให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพให้แก่นักท่องเที่ยวอิสระที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยอย่างชัดเจนในเรื่องสิทธิเสรีภาพด้านการท่องเที่ยว เสรีภาพในชีวิตร่างกาย และสิทธิในทรัพย์สิน ทั้งในด้านการเดินทางขนส่งที่นักท่องเที่ยวอิสระไม่มีหลักประกันในการเดินทางท่องเที่ยวอย่างครบถ้วนในทุกรูปแบบการเดินทาง ในด้านการซื้อบริการด้านการท่องเที่ยวผ่านตัวแทนการเดินทางที่ไม่มีหลักเกณฑ์ในการควบคุมการประกอบกิจการดังกล่าว ส่งผลให้การซื้อบริการด้านการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวอิสระไม่ได้รับความคุ้มครองไม่ว่าจะเป็นการซื้อผ่านทางสำนักงานหรือผ่านระบบอินเตอร์เน็ตก็ตาม และในด้านการให้ความคุ้มครองนักท่องเที่ยวที่เป็นบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือทางการเคลื่อนไหว ที่ไม่มีบทบัญญัติในการรับรองสิทธิเสรีภาพของนักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าว จากปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนจึงเสนอแนวทางการแก้ปัญหาโดยการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ใช้เป็นหลักประกันต่อสิทธิเสรีภาพในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวอิสระ ว่าหากเกิดความเสียหายต่อชีวิตร่างกาย ทรัพย์สินหรือสิทธิเสรีภาพด้านการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นความล่าช้าหรือการยกเลิกการเดินทาง จะมีกฎหมายที่ให้ความคุ้มครอง และต้องมีการกำหนดกรอบในการประกอบธุรกิจตัวแทนการเดินทาง เพื่อเป็นการคุ้มครองนักท่องเที่ยวอิสระจากการซื้อบริการด้านการท่องเที่ยว รวมถึงกำหนดให้มีบทบัญญัติที่เป็นการคุ้มครองนักท่องเที่ยวอิสระที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือทางการเคลื่อนไหว ให้สอดคล้องกับหลักจรรยาบรรณการท่องเที่ยวโลก ซึ่งผู้เขียนได้กำหนดแนวทางในการให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพดังกล่าว โดยได้จัดทำเป็นกฎหมายต้นแบบ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐหรือผู้ร่างกฎหมายสามารถหยิบยกไปใช้ได้ตามสมควร | - |
dc.description.abstractalternative | This thesis aims to answer the question about how to protect rights and liberties of free independent traveler in Thailand. Also to find the problem with the way such rights were protected by a focus on laws that protect rights and liberty of free independent traveler also including freedom of life, body and property rights that related to the Global Code of Ethics for Tourism. Analyze and compare with case studies in foreign countries. According to the study, Thailand still lack of necessary law and statutes for protecting rights and liberties of free independent traveler, freedom of life and body and property rights. In the tourism section, Free independent traveler who decided to visit Thailand have so collateral required to travel on all forms of travel. This situation also the same in traveler services sector that free independent traveler have no protection in any kind of way. Situation like this look terrific in the case of disability traveler. To solve the problem I must suggest that, Thailand have to promote or establish any kind of law that guarantee rights and liberties of free independent traveler, freedom of life and body and property rights in any kind of situation. This must include the law that guarantees and protect the similar kind of rights to the disability free independent traveler. And I already attached The Model Law to solve such problem with this thesis. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.941 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | นักท่องเที่ยว | - |
dc.subject | เสรีภาพส่วนบุคคล | - |
dc.subject | Tourists | - |
dc.title | กฎหมายต้นแบบในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพให้แก่นักท่องเที่ยวอิสระที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย | - |
dc.title.alternative | THE MODEL LAW FOR THE PROTECTION OF RIGHTS AND LIBERTIES FOR THE FREE INDEPENDENT TRAVELLERS IN THAILAND | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Kriengkrai.C@Chula.ac.th,tham38@hotmail.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2017.941 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5785977234.pdf | 5.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.