Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59672
Title: ปัจจัยทำนายการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของแม่บ้านตำรวจในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: FACTORS PREDICTING CERVICAL CANCER SCREENING AMONG POLICE OFFICER WIVES IN BANGKOK
Authors: พรพิมล โสฬสกุลางกูร
Advisors: รัตน์ศิริ ทาโต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Ratsiri.T@chula.ac.th,ratsiri99@gmail.com
Subjects: ปากมดลูก -- มะเร็ง
Cervix uteri -- Cancer
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนาย เพื่อศึกษาอัตราการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และปัจจัยทำนายการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของแม่บ้านตำรวจในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ แม่บ้านตำรวจที่สามีทำงานสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 366 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากภรรยาข้าราชการตำรวจกองทะเบียนประวัติอาชญากร กองพิสูจน์หลักฐาน กองบังคับการตำรวจนครบาล 5 กองบังคับการตำรวจนครบาล 6 สถาบันนิติเวชวิทยา และ กองบังคับการอำนวยการ โรงพยาบาลตำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถาม 7 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก 3) แบบสอบถามเจตคติต่อการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 4) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 5) แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค 6) แบบสอบถามการรับรู้พฤติกรรมเสี่ยงของสามี และ 7) แบบสอบถามการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .87, 1.00, .85, 1.00 และ 1.00 ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .85, .89, .73 และ .81 ตามลำดับ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกมีค่า KR-20 เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยแบบไบนารี่โลจิสติก ผลการศึกษา พบว่า 1) แม่บ้านตำรวจมีอัตราการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกคิดเป็น ร้อยละ 45.6 2) ปัจจัยทำนายการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของแม่บ้านตำรวจประกอบด้วย 4 ปัจจัยคือ เจตคติต่อการตรวจคัดกรอง (OR=3.92) การสนับสนุนทางสังคม (OR=3.49) และความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก (OR=2.33) และการรับรู้พฤติกรรมเสี่ยงของสามี (OR=.524) โดยสามารถทำนายการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ร้อยละ 22 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับปัจจัยด้านอายุ การคุมกำเนิด และการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค ไม่สามารถทำนายการมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของแม่บ้านตำรวจได้
Other Abstract: The objectives of this descriptive predictive research were to examine cervical cancer screening rate among police officer wives and to identify its predictive factors. A multistage random sampling was used to recruit 366 police officer wives from the Criminal Records Division, the Central Scientific Crime Detection Division, the Metropolitan Police Division 5 and 6, the Institute of Forensic Medicine and the General Staff Division of Police General Hospital. Data were collected using 7 sets of questionnaires from participants regarding their: 1) demographic data, 2) knowledge about cervical cancer disease, 3) attitude toward cervical cancer screening, 4) social support, 5) perceived risk of cervical cancer, 6) perception of husband’s risk behavior for cervical cancer, and 7) cervical cancer screening. The questionnaires were tested for content validity by 5 experts. Their CVIs were .87, 1.00, .85, 1.00, and 1.00, respectively. Their Cronbach’s alpha coefficients were .85, .89, .73, and .81, respectively. Knowledge about cervical cancer disease had KR-20 at .85. Data were analyzed using binary logistic regression statistics. The finding revealed that 1) The cervical cancer screening rate of Police officer wives was at 45.6%. 2) Attitude toward cervical cancer screening (OR=3.92), social support (OR=3.49) knowledge about cervical cancer disease (OR=2.33) and perception of husband’s risk behavior (OR=.524) were significant predictors of cervical cancer screening with 22% of explained variance (p<.05). However, the police officer wives' age, use of contraceptives and perceived risk of cervical cancer could not predict their cervical cancer screening.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59672
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1100
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1100
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5877184736.pdf16.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.