Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59781
Title: ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในอาชีพพนักงานขับรถโดยสารประจำทางขนส่งมวลชนกรุงเทพ
Other Titles: PREVALENCE AND RELATED FACTORS OF MUSCULOSKELETAL DISCOMFORT AMONG BANGKOK MASS TRANSIT AUTHORITY BUS DRIVERS
Authors: ศิพิระ เชิดสงวน
Advisors: พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pornchai.Si@Chula.ac.th,psithisarankul@gmail.com
Subjects: บาดเจ็บจากการใช้งานมากเกินไป
คนขับรถประจำทาง
Overuse injuries
Bus drivers
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง (Musculoskeletal discomfort, MSD) ในกลุ่มพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ขสมก. วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ขสมก. 275 คน คัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม และการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น การรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านลักษณะงาน ปัจจัยด้านจิตสังคม และแบบสอบถามเกี่ยวกับ MSD ซึ่งดัดแปลงจากแบบสอบถามนอร์ดิก (The Nordic Musculoskeletal Questionnaire) ผลการศึกษา: ความชุกของ MSD ในอาชีพพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ขสมก. ในรอบ 7 วัน และในรอบ 12 เดือน เท่ากับ ร้อยละ 69.5 และ 68.4 ตามลำดับ และเกิดขึ้นกับทุกส่วนของร่างกาย โดยมีความชุกสูงที่สุดที่บริเวณคอและหลังส่วนล่าง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพบ MSD ในรอบ 7 วัน ได้แก่ การมีโรคประจำตัว การดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 1 แก้วต่อสัปดาห์ การทำงานเป็นกะบ่าย การนั่งเอนตัวไปข้างหน้าและพิงร่างกายส่วนบนไว้กับพวงมาลัยเป็นบางครั้ง/บ่อย ๆ และการนั่งที่เวลาเหยียบคันเร่งหรือเบรคจนสุดขามักเหยียดตรงเป็นบางครั้ง/บ่อย ๆ ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการพบ MSD ในรอบ 12 เดือน ได้แก่ การมีโรคประจำตัว การมีอายุการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น การที่มีความรู้สึกต่ออุณหภูมิภายในรถไม่เหมาะสม การนั่งขับรถในท่าที่บิดหรือเอี้ยวตัวเป็นบางครั้ง /บ่อย ๆ และการมีแรงสนับสนุนทางสังคมระดับสูง สรุป: พนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ขสมก. มีความชุกของ MSD ค่อนข้างสูง จึงควรมีมาตรการป้องกันการเกิด MSD เช่น ส่งเสริมให้มีท่าทางการทำงานที่เหมาะสม และให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของตนเอง
Other Abstract: Objective The aim of this study was to find out the prevalence and related factors of MSD among Bangkok Mass Transit Authority bus drivers Method The study design was a cross-sectional descriptive study. The 275 BMTA bus drivers were recruited using a multi-stage sampling method, which included a cluster sampling method and stratified sampling method. Data were collected using self-reported questionnaire, which included personal factors, occupational factors, psychosocial factors and MSD symptoms (modified from the Nordic musculoskeletal questionnaire). Result Regarding overall MSD among BMTA bus drivers, the 7-day prevalence and 12-month prevalence were 69.5 and 68.4 percent, respectively, and occurred in all body parts. The highest prevalence among the body parts were neck and lower back. Factors related to 7-day MSD were having underlying disease, drinking alcohol at least 1 glass per week, working as afternoon shift, improper driving posture. Factors related to 12-month MSD were having underlying disease, duration of employment, experiencing inappropriate temperature in the bus, driving in a twisted or tilted position and high level of social support. Conclusion The MSD prevalence among BMTA bus drivers was high. Prevention programs should be provided such as promoting appropriate driving posture and focusing on their own health care.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59781
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.758
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.758
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5974018830.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.