Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59798
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุพจน์ ศรีมหาโชตะ-
dc.contributor.authorโชติช่วง ทินกร ณ อยุธยา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2018-09-14T05:18:40Z-
dc.date.available2018-09-14T05:18:40Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59798-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560-
dc.description.abstractที่มา : ภาวะแทรกซ้อนของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้วที่สำคัญคือภาวะเส้นเลือดสมองตีบ ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการกระตุ้นการแข็งตัวของเลือดที่มากขึ้น โดยยังไม่มีการศึกษาในประชากรไทย และยังไม่มีการศึกษาที่นำวิธีการตรวจปริมาณและระยะเวลาในการสร้างทรอมบินมาใช้เพื่อประเมินการกระตุ้นการแข็งตัวของเลือด วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาค่าขององค์ประกอบในการแข็งตัวของเลือดในหัวใจห้องซ้ายบน และในหลอดเลือดดำส่วนปลายในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพริ้ว เทียบกับผู้ที่ไม่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพริ้ว วิธีการศึกษา : ศึกษาค่าขององค์ประกอบในการแข็งตัวของเลือด โดยการวัดผลิตผลของการกระตุ้นการแข็งตัวของเลือด ร่วมกับ Thrombin generation test ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพริ้วที่จะมาทำหัตถการในหัวใจห้องซ้ายบนในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผลการศึกษา : มีผู้ป่วยทั้งสิ้น 35 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้วทั้งสิ้น 14 ราย และผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้วทั้งสิ้น 21 ราย ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้วมีการเพิ่มขึ้นของ Fibrinogen, vWF antigen และ D-dimer ทั้งตัวอย่างจากหัวใจห้องซ้ายบนและหลอดเลือดดำส่วนปลาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้ว แต่การตรวจ Thrombin generation test ไม่พบความแตกต่างระหว่าง 2 กลุ่ม นอกจากนี้ยังไม่พบความแตกต่างระหว่างตัวอย่างจากหัวใจห้องซ้ายบนเมื่อเทียบกับในหลอดเลือดดำส่วนปลายในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพลิ้ว สรุป: ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพริ้วนั้น มีการกระตุ้นการแข็งตัวของเลือดที่มากขึ้น โดยอาศัยการวัดการเพิ่มขึ้นของ Fibrinogen, vWF antigen และ D-dimer โดยเพิ่มขึ้นอย่างไม่แตกต่างกันทั้งตัวอย่างจากหัวใจห้องซ้ายบนและในหลอดเลือดดำส่วนปลาย แสดงถึงการกระตุ้นการแข็งตัวของเลือดที่มากขึ้นทั่วทั้งร่างกาย แต่ไม่สามารถตรวจได้โดยอาศัย Thrombin generation test-
dc.description.abstractalternativeBackground: It used to believe that systemic thromboembolism in patient with atrial fibrillation occurred because of increment in activation of coagulation cascade leading to hypercoagulable state. Currently, there was no data about hypercoagulable state in Thai patient with atrial fibrillation. Objective: To determine hypercoagulable state in patient with atrial fibrillation using clotting factors and thrombin generation test both in left atrium and femoral vein. Material and Method: This is a case control observational study which enroll patient with and without atrial fibrillation who are scheduled for procedure which involve left atrium. Hypercoagulable state was measured using Fibrinogen, vWF antigen, D-dimer and thrombin generation test in both left atrium and femoral vein. Results: A total of 35 patients were enrolled in this study. 14 patients had atrial fibrillation. We observed a significantly increased in levels of Fibrinogen, vWF antigen and D-dimer in patient with atrial fibrillation both in left atrium and femoral vein. There was no significant different between left atrium and femoral vein. However, thrombin generation test failed to demonstrate difference in hypercoagulable state. Conclusion: There was a hypercoagulable state in patient with atrial fibrillation both in left atrium and femoral vein suggestive of systemic process by measuring levels of Fibrinogen, vWF antigen and D-dimer. However, thrombin generation test could not be used to detect hypercoagulable state in patient with atrial fibrillation.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1606-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectเลือด -- การแข็งตัว-
dc.subjectการบีบตัวของหัวใจนอกจังหวะ-
dc.subjectBlood -- Coagulation-
dc.subjectExtrasystole-
dc.titleการศึกษาระดับค่าองค์ประกอบในการแข็งตัวของเลือดในหัวใจห้องซ้ายบนและในหลอดเลือดส่วนปลายในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดสั่นพริ้ว-
dc.title.alternativeLevel of Clotting Factors in left atrium and peripheral vein in patient with atrial fibrillation-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisors_srimahachota@yahoo.co.th,s_srimahachota@yahoo.co.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2017.1606-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5974057230.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.