Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59814
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สืบพงศ์ ธนสารวิมล | - |
dc.contributor.author | วีริศา วิมลเฉลา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2018-09-14T05:19:39Z | - |
dc.date.available | 2018-09-14T05:19:39Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59814 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 | - |
dc.description.abstract | ที่มา: ในปัจจุบันสูตรยาหลักเพื่อป้องกันภาวะคลื่นไส้และอาเจียนจากยาเคมีบำบัดที่ทำให้คลื่นไส้และอาเจียนในขนาดสูงซึ่งประกอบด้วยเดกซาเมททาโซน, พาโลโนซีทรอน และนิวโรไคนินวันแอนทาโกนิสหรือ โอแลนซาปีน ถูกแนะนำขึ้นเป็นสูตรยาหลัก อย่างไรก็ตามพาโลโนซีทรอน และนิวโรไคนินวันแอนทาโกนิสมีราคาแพงและไม่สามารถเข้าถึงยาได้ทุกคนในผู้ป่วยของประเทศไทย ผู้วิจัยจึงทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการเพิ่มโอแลนซาปีนร่วมกับออนแดนซีทรอนและเดกซาเมททาโซนเพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้และอาเจียนจากเคมีบำบัดที่ทำให้คลื่นไส้และอาเจียนในขนาดสูง วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบสุ่ม, วิธีอำพรางผู้วิจัยและผู้เข้าร่วมวิจัย และมีการใช้ยาหลอก ในรอบที่สองของเคมีบำบัดจะมีการครอสโอเวอร์ไปใช้ยาอีกสูตรหนึ่ง ผู้ป่วยที่คัดเลือกคือ ไม่เคยได้รับเคมีบำบัดมาก่อน และมีนัดหมายเพื่อรับเคมีบำบัดสูตรดอกโซรูบิซินและไซโคลฟอสฟาไมด์หรือซิสพลาตินขนาดสูง จะถูกสุ่มแบบ 1:1 เพื่อเข้าในกลุ่มโอแลนซาปีนหรือยาหลอก ร่วมกับออนแดนซีทรอนและเดกซาเมททาโซน ในรอบที่สองผู้ป่วยจะได้รับยาอีกกลุ่มหนึ่ง จุดประสงค์หลักคือเพื่อดูอัตราของการไม่มีอาการอาเจียนและไม่ต้องใช้ยาเพื่อควบคุมอาการคลื่นไส้และอาเจียน (complete response: CR) ผลการศึกษา: จากผลการศึกษาในรอบแรกของเคมีบำบัด, CR ของเวลาทั้งหมด (0-24 h) เป็น 69% ในผู้ป่วย 32 คนที่ได้โอแลนซาปีนและ 25% ในผู้ป่วย 32 คนที่ได้ยาหลอก, p<0.001. CR เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญในกลุ่มที่ได้โอแลนซาปีนเทียบกับยาหลอก (0-24 h) (75% vs. 31%, p<0.001) และ (24-120 h) (69% vs. 43%, p=0.038). ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการคลื่นไส้ในกลุ่มที่ได้โอแลนซาปีนสูงกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอกอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติในเคมีบำบัดรอบแรก (0-24 h; 53% vs 25%, p=0.021, 24-120h; 41% vs. 13%, p=0.011, overall; 41% vs. 13%, p=0.011). ในการวิเคราะห์แบบครอสโอเวอร์หลังครบสองรอบ CR เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญสำคัญทางสถิติในกลุ่มโอแลนซาปีนเมื่อเทียบกับยาหลอก (0-24 h) (72% vs. 33%, p<0.001), (24-120 h) (67% vs. 38%, p<0.001) และ (0-120 h) (67% vs. 25, p<0.001).ส่วนผู้ป่วยที่ไม่มีอาการคลื่นไส้การวิเคราะห์แบบครอสโอเวอร์หลังครบสองรอบของในกลุ่มที่ได้โอแลนซาปีนสูงกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอกอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ (0-24 h; 41% vs 11%, p=0.001, 24-120h; 42% vs. 14%, p=0.001, overall; 41% vs. 11%, p=0.001) ในการวิเคราะห์แบบครอสโอเวอร์หลังครบสองรอบของ visual analog score (VAS), ผู้ป่วยที่ได้โอแลนซาปีนมีค่าเฉลี่ยของอาการคลื่นไส้และอาการอ่อนเพลียที่น้อยกว่า (1.28 vs. 3.05, p<0.001) และ (3.5 vs. 4.58, p<0.001) ตามลำดับ แต่มีอาการอยากอาหารและง่วงนอนที่มากกว่า (2.5 vs. 1.55, p=0.003) และ (3.26 vs. 2.2, p<0.001) ตามลำดับ ไม่พบผลข้างเคียงจากโอแลนซาปีนที่มากกว่าระดับสอง และไม่พบว่ามีความแตกต่างของการเกิด QTc prolongation และค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลง QT interval ระหว่างสองกลุ่ม (7 vs 5, p=0.28) (-4.30 ms vs. -1.86 ms, p=0.69) ตามลำดับ ผู้ป่วย 52/60 คนเลือกที่จะได้รับยาโอแลนซาปีนต่อ, p<0.001. สรุปผล: ในกรณีที่ไม่สามารถใช้พาโลโนซีทรอน หรือนิวโรไคนินวันแอนทาโกนิส การใช้โอแลนซาปีนร่วมกับออนแดนซีทรอนและเดกซาเมททาโซนสามารถใช้ป้องกันภาวะคลื่นไส้และอาเจียนจากยาเคมีบำบัดที่ทำให้คลื่นไส้และอาเจียนในขนาดสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย | - |
dc.description.abstractalternative | Background: Currently, the anti-emetic regimen consisting of dexamethasone and palonosetron plus a NK-1antagonist or olanzapine is widely recommended in prevention of chemotherapy induced nausea and vomiting (CINV) for highly emetogenic chemotherapy (HEC). However, palonosetron and NK-1 antagonist are costly and not accessible for all Thai patients. We sought to evaluate efficacy and safety of the additional olanzapine to ondansetron and dexamethasone for CINV prevention in patients receiving HEC. Methods: In this randomized, double-blind, placebo-controlled, crossover study, we randomly assigned chemotherapy-naïve patients receiving HEC, either anthracycline-cyclophosphamide or high dose cisplatin (>50 mg/m2) regimen, to receive olanzapine or placebo in addition to ondansetron and dexamethasone. All subjects were crossed over to another treatment arm on second-cycle chemotherapy. The primary endpoint was complete response (CR) rate defined as no vomiting and no use of rescue drugs. Results: At first cycle, CR was 69% among the 32 patients receiving olanzapine and 25% among the 32 patients receiving placebo, p<0.001. CR was significantly better with olanzapine than with placebo in acute-phase (0-24 h) (75% vs. 31%, p<0.001) and delayed-phase (24-120 h) (69% vs. 43%, p=0.038). In analysis after two crossover antiemetic regimens, CR was significantly improved in olanzapine group compared to placebo group in acute phase (72% vs. 33%, p<0.001), delayed-phase (67% vs. 38%, p<0.001) and overall period (67% vs. 25, p<0.001). No nausea rate in olanzapine group was higher than placebo in the first period (24 h; 53% vs 25%, p=0.021, 24-120h; 41% vs. 13%, p=0.011, overall; 41% vs. 13%, p=0.011). In analysis after two crossover antiemetic regimens, no nausea rate in olanzapine group was higher than placebo group in all periods (24 h; 41% vs 11%, p=0.001, 24-120h; 42% vs. 14%, p=0.001, overall; 41% vs. 11%, p=0.001). In crossover analysis using visual analog score (VAS), the patients with olanzapine had significantly lower mean VAS in nausea (1.28 vs. 3.05, p<0.001) and fatigue (3.5 vs. 4.58, p<0.001) but higher mean VAS in appetite (2.5 vs. 1.55, p=0.003) and sleepiness (3.26 vs. 2.2, p<0.001). There were no grade 3 and 4 antiemetic-drug-related toxicities. QTc prolongation incidences and mean QT interval change did not different between two groups (7 vs 5, p=0.28) (-4.30 ms vs. -1.86 ms, p=0.69) respectively. The olanzapine combination was preferable to placebo in 52 of 60 patients, p<0.001. Conclusions: Without the NK-1 antagonists, the additional olanzapine to ondansetron and dexamethasone significantly improved CINV prevention and was safe in patients receiving HEC. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1633 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ยา -- ผลข้างเคียง | - |
dc.subject | เคมีบำบัด | - |
dc.subject | Drugs -- Side effects | - |
dc.subject | Chemotherapy | - |
dc.title | การศึกษาประสิทธิภาพของโอแลนซาปีนในการควบคุมอาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัดสูตรที่ทำให้คลื่นไส้และอาเจียนในขนาดสูง (แอนทราไซคลินคู่กับไซโคลฟอสฟาไมด์หรือซิสพลาตินขนาดสูง) โดยใช้โอแลนซาปีนร่วมกับเดกซาเมททาโซนและออนแดนซีทรอนเปรียบเทียบกับยาหลอกร่วมกับเดกซาเมททาโซนและออนแดนซีทรอน | - |
dc.title.alternative | The double-blinded, randomized placebo-controlled, cross-over study compare the efficacy of olanzapine, ondansetron and dexamethasone regimen to ondansetron and dexamethasone alone in the patients receiving the highly emetogenic chemotherapy | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | อายุรศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Suebpong.T@chula.ac.th,surbpong@yahoo.com,surbpong@yahoo.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2017.1633 | - |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5974100530.pdf | 3.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.