Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59831
Title: ผลยับยั้งของไซพริพีดินต่อการเปลี่ยนแปลงจากเซลล์เยื่อบุผิวไปเป็นเซลล์มีเซนไคม์ในเซลล์มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็กผ่านวิถีของเอเคที
Other Titles: INHIBITORY EFFECT OF CYPRIPEDIN ON EPITHELIAL TO MESENCHYMAL TRANSITION IN NON-SMALL CELL LUNG CANCER CELLS VIA AKT PATHWAY
Authors: สุรัสวดี ตรีสุวรรณ
Advisors: วริษา พงศ์เรขนานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Varisa.P@chula.ac.th,varisa.p@pharm.chula.ac.th
Subjects: ปอด -- มะเร็ง
เซลล์มะเร็ง -- การเจริญเติบโต -- การควบคุม
Lungs -- Cancer
Cancer cells -- Growth -- Regulation
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: มะเร็งปอดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งอันดับต้นๆ ของผู้ป่วยจากทั่วโลกและยังคงมีผู้ป่วยเสียชีวิตมากขึ้นในทุกปี สาเหตุเนื่องมาจากการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งเป็นกระบวนการหลายขั้นตอนที่ส่งเสริมให้เซลล์มะเร็งหลุดออกจากอวัยวะต้นกำเนิดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งกลไกที่สำคัญของการแพร่กระจายคือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงจากเซลล์เยื่อบุผิวไปเป็นเซลล์มีเซนไคม์ การรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบันยังไม่สามารถยับยั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากเซลล์เยื่อบุผิวไปเป็นเซลล์มีเซนไคม์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการศึกษาพัฒนายาใหม่โดยมีเป้าหมายในการยับยั้งกระบวนการนี้ จึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยในการรักษามะเร็งให้เกิดประสิทธิภาพ ในผลการศึกษาครั้งนี้พบว่าสารไซพริพีดินซึ่งเป็นสารเคมีในกลุ่มฟีแนนทรีนควิโนน สกัดได้จากกล้วยไม้สกุล Dendrobium densiflorum สามารถยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งปอดชนิดเอช 460 และเอช 23 ได้ โดยลดจำนวนของเส้นใยแอคตินสเตรสไฟเบอร์ และ โฟคอลแอดฮีชัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ภายใต้สภาวะไร้การยึดเกาะได้ การศึกษาในเชิงกลไกแสดงให้เห็นว่าสารไซพริพีดินยับยั้บกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากเซลล์เยื่อบุผิวไปเป็นเซลล์มีเซนไคม์ และลดการแสดงออกของโปรตีนบ่งชี้ ได้แก่ สลัก เอ็น-แคดฮีริน และไวเมนติน ผ่านการยับยั้งการทำงานของวิถีเอเคที ซึ่งส่งผลต่อการกระตุ้นการทำงานของจีเอสเค-3เบตาในการเพิ่มการทำลายโปรตีนสลัก งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงผลของสารไซพริพีดินสามารถยับยั้งการเคลื่อนที่ของเซลล์มะเร็งปอดโดยผ่านการยับยั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากเซลล์เยื่อบุผิวไปเป็นเซลล์มีเซนไคม์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยและพัฒนาสารดังกล่าวเพื่อใช้ในการรักษาโรคมะเร็งปอดต่อไปในอนาคต
Other Abstract: Lung cancer is the most leading cause of cancer death in human worldwide. The mortality remains gradually increase in every year due to cancer metastasis. Metastasis is a multiple process that promotes cancer dissemination from origin to distant sites, which the important mechanism is the acquisition of epithelial to mesenchymal transition (EMT). Current therapies available have less efficient to suppress EMT; therefore, the discovery of new drugs that target to this process might improve clinical outcome. This study demonstrated that cypripedin, a phenanthrenequinone, isolated from Dendrobium densiflorum, was able to inhibit cell migration in non-small cell lung cancer H460 and H23 cells with a significant decrease number of actin stress fiber and focal adhesion, and suppressed an anchorage-independent growth. Mechanistic investigation shows that cypripedin attenuated EMT and down-regulated EMT markers including Slug, N-cadherin and Vimentin. Akt became inactivated, thereby in turn stimulated GSK-3β - mediated Slug degradation following the treatment. This study provides the scientific information of cypripedin-inhibiting EMT which could benefit to develop of this compound for cancer therapy.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชวิทยาและพิษวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59831
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.652
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.652
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5976119933.pdf6.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.