Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59852
Title: ผลการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Other Titles: EFFECTS OF CHOICE BASED ART EDUCATION LEARNING TOWARD CRITICAL THINKING TO CREATE WORKS IN FOURTH GRADE STUDENTS
Authors: ณชนก หล่อสมบูรณ์
Advisors: โสมฉาย บุญญานันต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Soamshine.B@Chula.ac.th,soamshine@gmail.com,Soamshine.B@Chula.ac.th
Subjects: ศิลปะ -- การศึกษาและการสอน
ความคิดอย่างมีวิจารณญาณในเด็ก
Critical thinking in children
Arts -- Study and teaching
Issue Date: 2560
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก 2) ศึกษาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก 3) ศึกษาการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก และ4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศศิภา จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาศิลปะ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก 3) แบบประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4) แบบประเมินการสร้างสรรค์ผลงาน 5) แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Repeated Measured ANOVA และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1 )แผนการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกมีความเหมาะสมกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยกระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นสาธิต (Demonstration) สามารถส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้จากการตั้งคำถามของผู้สอน และการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น รวมถึงสามารถส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานจากการสาธิตเทคนิควิธีการต่างๆของผู้สอน (2) ขั้นสตูดิโอ (Studio Time) สามารถส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้วยการฝึกให้ผู้เรียนได้วางแผน ร่างแบบจากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกวัสดุ อุปกรณ์และตั้งชื่อผลงาน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกันเพื่อนำมาพัฒนาการสร้างสรรค์ผลงานเป็นการส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงาน นอกเหนือจากการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ เพื่อค้นพบเทคนิควิธีการใหม่ๆ (3) ขั้นคลีนอัพ (Cleanup) เป็นการส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานให้ผู้เรียนรู้จักทำความสะอาดและเก็บวัสดุอุปกรณ์ และ(4) ขั้นวัดผล (Assessment) ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการสร้างสรรค์งานผลงานโดยให้ผู้เรียนระบุปัญหาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างรอบคอบ อีกทั้งผู้เรียนสามารถนำเสนอเทคนิคและวิธีการใหม่ๆที่ค้นพบ และการประเมินผลงานของตนเองและเพื่อน 2) การจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการการสร้างสรรค์ผลงานสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ4) ระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกอยู่ในระดับมาก ( σ = 4.38)
Other Abstract: The objectives of this study were to 1) Design Choice Based Art Education Learning lesson plans. 2) Study the critical thinking in fourth grade students by Choice Based Art Education Learning. 3) Study the creation of works in fourth grade students by Choice Based Art Education Learning and 4) Study the satisfactory of fourth grade students toward Choice Based Art Education Learning. The target audience of the research were 16 fourth grade students at Sasipa School. Research instrument and methodology were used 1) An interview form of experts' opinions on art education learning. 2) Choice Based Art Education Learning lesson plans. 3) A critical thinking assessment form. 4) A Creation of works assessment form. 5) Questionnaire form on the satisfactory of the students in Choice Based Art Education Learning and 6) Interviews form on satisfactory of the students toward Choice Based Art Education Learning. Data were analyzed by mean, percentage, standard deviation, repeated measures ANOVA, and data analysis. The findings in this research were as follows: 1) Choice Based Art Education Learning lesson plans were appropriately made for fourth grade students that the learning management processes including 4 methods: (1)Demonstration was able to encourage the critical thinking skill from instructor’s questions and gave opportunity to students to explain their opinions. In addition, it was also able to encourage creation of work from instructor’s demonstration. (2)Studio Time was able to encourage the critical thinking skill by allowing students to plan and sketch from their research in order to give students an opportunity to exchange their idea toward each other. From that, it could help to develop the creation of work apart from allowing to do to explore the new techniques. (3)Cleanup was able to encourage the critical thinking skill by allowing them to clean up and keep materials. And (4)Assessment was able to encourage the critical thinking skill and the creation of work by allowing them identify the problems and think of the solution thoroughly. Meanwhile, students can address the techniques that they found out. 2) Choice Based Art Education Learning has enabled the students to develop better critical thinking at the significant level .05 3) Choice Based Art Education Learning has enabled the students to develop higher creativity in their work at the significant level .05 and 4) The satisfactory of the fourth grade students toward Choice Based Art Education Learning was a high level. ( σ = 4.38)
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59852
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.1485
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2017.1485
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5983318527.pdf7.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.