Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59866
Title: | การเปรียบเทียบคุณภาพของวิธีการตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วน: การพัฒนาวิธีประยุกต์การให้คะแนนแบบตัดตัวลวง–เลือกตัวถูก |
Other Titles: | A COMPARISON OF PARTIAL KNOWLEDGE SCORING METHOD QUALITY: A DEVELOPMENT OF MODIFIED NUMBER RIGHT–ELIMINATION SCORING METHOD |
Authors: | ณัฐภรณ์ เลขะวัฒนพงษ์ |
Advisors: | ศิริเดช สุชีวะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Siridej.S@Chula.ac.th,sujiva.siridej@gmail.com,Siridej.S@Chula.ac.th |
Subjects: | การวัดผลทางการศึกษา การสอบ -- การให้คะแนน Educational tests and measurements Examinations -- Scoring |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการให้คะแนนความรู้บางส่วนวิธีประยุกต์การให้คะแนนแบบตัดตัวลวง–เลือกตัวถูก และเปรียบเทียบความยาก อำนาจจำแนกของข้อสอบ ความตรงเชิงโครงสร้างของแบบสอบ ความเที่ยงของแบบสอบ ฟังก์ชันสารสนเทศของแบบสอบ และความแม่นยำในการประมาณค่าความสามารถของผู้สอบที่ได้จากวิธีประยุกต์คูมบ์ วิธีตัดตัวลวง-เลือกตัวถูก และวิธีประยุกต์ตัดตัวลวง-เลือกตัวถูก เมื่อข้อสอบมี 4 ตัวเลือกและ 5 ตัวเลือก ตัวอย่างวิจัยเป็นนักเรียนชั้น ม.4 จำนวน 1,251 คน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และ 2 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ เป็นแบบสอบหลายตัวเลือก (multiple choice) จำนวน 40 ข้อ แบ่งเป็นข้อสอบ 4 ตัวเลือกและ 5 ตัวเลือกอย่างละ 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลความยาก อำนาจจำแนกของข้อสอบ และฟังก์ชันสารสนเทศของแบบสอบโดยใช้โปรแกรม IRTPRO 4 Student วิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างโดยใช้โปรแกรม Mplus วิเคราะห์ความเที่ยงและโดยใช้โปรแกรม SPSS และเปรียบเทียบความแตกต่างของความเที่ยงโดยใช้ Feldt test ผลการวิจัย พบว่า 1)วิธีการให้คะแนนความรู้บางส่วนที่ต่างกันส่งผลให้ความยากของข้อสอบแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยวิธีประยุกต์ของคูมบ์มีค่าความยากสูงสุด รองลงมา คือ วิธีประยุกต์ตัดตัวลวง-เลือกตัวถูกและวิธีตัดตัวลวง-เลือกตัวถูกมีค่าความยากต่ำสุด นอกจากนี้ วิธีการให้คะแนนความรู้บางส่วนและจำนวนตัวเลือกที่ต่างกันส่งผลต่ออำนาจจำแนกของข้อสอบแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยวิธีประยุกต์คูมบ์มีค่าอำนาจจำแนกสูงสุด ส่วนวิธีตัดตัวลวง-เลือกตัวถูกและวิธีประยุกต์ตัดตัวลวง-เลือกตัวถูกมีความยากไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2)วิธีประยุกต์คูมบ์และวิธีประยุกต์ตัดตัวลวง-เลือกตัว เมื่อข้อสอบมี 4 และ 5 ตัวเลือก มีความตรงเชิงโครงสร้าง ส่วนวิธีตัดตัวลวง-เลือกตัวถูก เมื่อข้อสอบมี 5 ตัวเลือกมีความตรงเชิงโครงสร้างแต่ 4 ตัวเลือกไม่มีความตรงเชิงโครงสร้าง 3) ความเที่ยงของทั้ง 3 วิธี เมื่อข้อสอบมี 4 ตัวเลือกและ 5 ตัวเลือก ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยวิธีประยุกต์ตัดตัวลวง–เลือกตัวถูก เมื่อข้อสอบมี 4 ตัวเลือกมีค่าความเที่ยงสูงที่สุด รองลงมา คือ วิธีประยุกต์ตัดตัวลวง–เลือกตัวถูก เมื่อข้อสอบมี 5 ตัวเลือก 4) วิธีตัดตัวลวง–เลือกตัวถูก เมื่อข้อสอบมี 5 ตัวเลือกให้สารสนเทศสูงที่สุดในช่วงระดับความสามารถต่ำ (θ = -2.8 ถึง -0.8) วิธีประยุกต์ตัดตัวลวง–เลือกตัวถูก เมื่อข้อสอบมี 4 ตัวเลือกให้สารสนเทศสูงที่สุดในช่วงระดับความสามารถปานกลาง (θ = -0.8 ถึง 0.8) และทั้ง 3 วิธีให้สารสนเทศใกล้เคียงกันในช่วงระดับความสามารถสูง (θ = 0.8 ถึง 2.8) 5)วิธีประยุกต์ตัดตัวลวง-เลือกตัวถูก เมื่อข้อสอบมี 4 ตัวเลือกมีความแม่นยำในการประมาณค่าความสามารถของผู้สอบสูงสุด รองลงมา คือ วิธีประยุกต์ตัดตัวลวง-เลือกตัวถูกเมื่อข้อสอบมี 5 ตัวเลือก และวิธีตัดตัวลวง-เลือกตัวถูกเมื่อข้อสอบมี 5 ตัวเลือก ตามลำดับ 6)วิธีประยุกต์ตัดตัวลวง-เลือกตัวถูก เมื่อข้อสอบมี 4 ตัวเลือกมีคุณภาพสูงที่สุด รองลงมา คือ วิธีประยุกต์ตัดตัวลวง-เลือกตัวถูก เมื่อข้อสอบมี 5 ตัวเลือก |
Other Abstract: | The purposes of this research are to develop the modified number right–elimination scoring method and to compare difficulty index, discriminant index, construct validity, reliability coefficient, test information and accuracy of estimated ability of examinees by using modified Coomb’s method, number right–elimination method (NRE) and modified number right–elimination method (M-NRE) with 4 choices and 5 choices. Research subjects were 1,251 tenth grade students from secondary schools in Bangkok.Research instrument was covalent bond tests with 40 multiple-choice items comprising 20 items for 4 choices and 20 items for 5 choices. The data analysis was conducted by using the following programmes: IRTPRO 4 Student for analyzing difficulty index, discriminant index and test information, Mplus for analyzing construct validity, SPSS for analyzing reliability coefficient and comparing reliability coefficient by Feldt test. The results showed that 1) Using different scoring methods results in different difficulty indexes statistically significant at the .05 level. The modified Coomb’s method had higher difficulty index than M-NRE method and NRE method respectively. In addition, different scoring method and number of choices constitute different discriminant index statistically significant at the .05 level. The discriminant index of modified Coomb’s method was the highest; while NRE method and M-NRE method were not different statistically significant at the .05 level. 2) The modified Coomb’s method, M-NRE method with 4 choices and 5 choices and NRE method with 5 choices had construct validity, but NRE method with 5 choices had no construct validity 3) the M-NRE method with 4 choices and 5 choices produced higher reliability than the others. However, all 3 methods were not different statistically significant at the .05 level. 4) The NRE method with 5 choices created the highest information in low ability. The M-NRE method with 4 choices provided the highest information in moderate ability and all 3 methods had close information in high ability. Finally, 5) The M-NRE method with 4 choices produced the highest accuracy of estimated ability of examinees, followed by the M-NRE method with 5 choices and NRE method with 4 choices respectively. In conclusion, 6) the highest quality was the M-NRE method with 4 choices, the M-NRE method with 5 choices and NRE method with 5 choices respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59866 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2017.723 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2017.723 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5983397027.pdf | 8.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.